กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ประจำปีงบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ประจำปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน

สำนักงานเลขากองทุนฯ

ตำบลถนน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2561ในหลายมาตราได้กำหนดให้ประชาชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในหลายรูปแบบทั้งในส่วนของการเข้ารับบริการการบริหารจัดการการตรวจสอบและรับรองคุณภาพบริการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สป.สช.)ได้สนับสนุนและกำหนดหลักเกณฑ์ให้องค์กรชุมชนได้มีการดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่หรือกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ได้เข้าร่วมจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสภาพในชุมชนครอบคลุมประชาชน8 กลุ่มเป้าหมายคือ1) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 2)กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน3)กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 4) กลุ่มวัยทำงาน 5) กลุ่มผู้สูงอายุ 6)กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7)กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 8)กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงให้สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้รับบริการที่มีประสิทธิภาพและเกิดการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชนต่อไป
กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ได้จัดทำ “โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ประจำปีงบประมาณ 2567 ” ขึ้น เพื่อบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน รวมทั้งเพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน ได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้านชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1.เพื่อบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน
2.เพื่อให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนนได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้านชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการ LTC

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการ LTC
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ    300 บาท X 19 คน X 4 ครั้ง   เป็นเงิน   22,800           บาท
  2. ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการกองทุนฯ 200 บาท X 5 คน X 4 ครั้ง เป็นเงิน  4,000       บาท 3 .ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(คณะกรรมการ) 19 คนX 25 บาท X 4 ครั้ง เป็นเงิน  1,900      บาท
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(คณะอนุกรรมการ) 5 คนX 25 บาท X  4  ครั้ง เป็นเงิน   500    บาท
  4. ค่าเบี้ยประชุมคณะอนุกรรมการLTC 200 บาท X 14 คน X 2 ครั้ง เป็นเงิน    5,600         บาท
  5. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม(คณะอนุกรรมการLTC) 14 คนX 25 บาท X 2 ครั้ง เป็นเงิน 700 บาท
  6. ค่าจัดจ้างป้ายไวนิล ขนาด 1*2  เมตร                         เป็นเงิน 500    บาท
  7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (ค่าประชุม อบรม เบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง วัสดุอุปกรณ์สำนักงาน )                                                                                               เป็นเงิน 14,996 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
50996.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,996.00 บาท

หมายเหตุ :
1.ทบทวนปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่โดยประสานข้อมูลจากโรงพยาบาลมายอ,โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลถนน
2.กำหนดกรอบแผนงานโครงการของปีงบประมาณ2567
3.เปิดโอกาสให้เยาวชน ชุมชนกลุ่มชมรมเสนอโครงการด้านสุขภาพ
4.ประชุมคณะการพิจารณารายละเอียดของแต่ละโครงการโดยครอบคลุมทั้ง6ประเภทได้แก่ 1.) จัดบริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคและฟื้นฟูสมรรถภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ สนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยบริการสาธารณสุข,2.) สนับสนุนการสร้างสุขภาพโดยประชาชนและชุมชนท้องถิ่น, โรงเรียน 3.) สนับสนุนการดูแลกลุ่มเด็กจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและกลุ่มผู้สูงอายุ 4.) การบริหารกองทุนฯการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการและการพัฒนาระบบบริหารจัดการ 5.) การดูแลช่วยเหลือประชาชนในภาวะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน ในสถานการณ์ต่างๆ และ 6.) การใช้เงินตามมติบอร์ด
5.มีการประชุมคณะกรรมการกองทุนและอนุกรรมการ ตามไตรมาส ๓ เดือน/ครั้ง
6.คณะกรรมการอนุมัติการใช้งบประมาณที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกองทุน
7.กำกับติดตามผลการดำเนินงานโครงการที่กองทุนให้การสนับสนุน
8.รายงานสถานะทางการเงินทุกไตรมาส
9.บันทึกข้อมูลผ่านระบบ https://localfund.happynetwork.org/ทุกเดือน
10. สรุปผลการดำเนินงานประจำปี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.พัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนน
2.กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนนได้ดำเนินการตามแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต่างๆสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขทั้งที่บ้านชุมชนหรือหน่วยบริการได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ


>