กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าหมอไทร

ชมรมคนรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ

1. น.ส.สกุณา นิลอนันต์
2. นางสุดใจ คงเต็ม
3. นางวรรณา ณะชู
4. นางอุบล คงฉิม
5. นางวิไล คงเต็ม

หมู่ที่ 3 ตำบลท่าหมอไทร

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรที่ปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

10.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

 

35.00
3 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ น้อยกว่าวันละ 500 กรัม

 

35.00

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

35.00 45.00
2 เพื่อเพิ่มคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 500 กรัม

35.00 65.00
3 ร้อยละของประชากรที่ปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษ

 

10.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 44
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/07/2024

กำหนดเสร็จ 30/11/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการทำงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
29 กรกฎาคม 2567 ถึง 29 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีแนวทางในการดำเนินโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการออกกำลังกาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและการออกกำลังกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงปฏิบัติและสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ แบบยกแคร่ จำนวน 2 แคร่ วิธีการปรุงดิน การเลือกเมล็ดพันธุ์ และการกำจัดศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี

  • รายละเอียดค่าใช้จ่าย
  1. ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

  2. ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 30 บาท จำนวน 50 ชุด (สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม / วิทยากร / คณะทำงาน ) เป็นเงิน 3,000 บาท

  4. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท จำนวน 50 ชุด (สำหรับผู้เข้าร่วมอบรม / วิทยากร / คณะทำงาน ) เป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 1 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้และทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11050.00

กิจกรรมที่ 3 จัดกิจกรรมทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ แบบยกแคร่ จำนวน 2 จุด

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมทำแปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ แบบยกแคร่ จำนวน 2 จุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. จัดกิจกรรมปลูกผักยกแคร่ จำนวน 2 จุด ภายในหมู่บ้าน สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ

  2. ซุ่มตรวจผักยกแแคร่ โดยประสานงานกับ รพ.สต. ท่าหมอไทร ในการสุ่มตรวจ

    ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย

  • ดินผสม 10 กระสอบ ๆ ละ 27 บาท เป็นเงิน 270 บาท

  • กากมะพร้าว 4 กระสอบ ๆ ละ 85 บาท เป็นเงิน 340 บาท

  • ขุยมะพร้าว 4 กระสอบ ๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 400 บาท

  • ปุ๋ยคอก(ขี้วัว) 3 กระสอบ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 150 บาท

  • แกลบดำ 3 กระสอบ ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 120 บาท

  • เมล็ดพันธุ์ผัก 2 ซอง ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 50 บาท

  • อิฐคาน 18 ก้อน ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 360 บาท

  • กระเบื้องลอนคู่ 8 แผ่น ๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 สิงหาคม 2567 ถึง 1 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2050.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายด้วยการเต้นบาสโลบ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมทางกายด้วยการเต้นบาสโลบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ทำทะเบียนประวัติ เก็บข้อมูลสุขภาพ ดัชนีมวลกาย ก่อน-หลัง การทำกิจกรรมออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว

  2. จัดกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลบทุกวัน จันทร์-ศุกร์ วันละ 1 ชั่วโมง เวลา 19.00-20.00 น.

ค่าใช้จ่าย รายละเอียดดังนี้

  • ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

  • ค่าน้ำดื่มและน้ำแข็ง ระยะเวลา 4 เดือน เป็นเงิน 7,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 สิงหาคม 2567 ถึง 29 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมมีการทำทะเบียนข้อมูลดัชนีมวลกายของร่างกายตนเอง ก่อน-หลัง การออกกำลังกาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7450.00

กิจกรรมที่ 5 แลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อเสนอแนะผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้และข้อเสนอแนะผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการจัดกิจกรรมต่างๆของโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 พฤศจิกายน 2567 ถึง 30 พฤศจิกายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสรุปผลการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,550.00 บาท

หมายเหตุ :
ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกาย

2. คนในชุมชนมีพฤติกรรมการทานผัก ผลไม้ เพิ่มมากขึ้น

3. คนในชุมชนมีการปลูกและบริโภคผักปลอดสารพิษเพิ่มมากขึ้น


>