กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ประจำปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงพยาบาลสุไหงปาดี (กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม)

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 86 ราย

อัตราปวยสะสมตั้งวันที่ 1 มกราคม - 21 ธันวาคม คิดเป็นอัตราป่วย 155.00 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีการระบาดตลอดทุกปีช่วงฤดูฝน และเมื่อเปรียบเทียบอัตาราป่วย 5 ปีย้อนหลังสูงขึ้น (ข้อมูลจากสนง.ควบคุมโรคที่ 12 สงขลา) และพบในตำบลปะลุรูมากที่สุดใน 6 ตำบล ของอำเภอสุไหงปาดี พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 30 ราย อัตราปวยสะสมตั้งวันที่ 1 มกราคม - 12 ธันวาคม คิดเป็นอัตราป่วย 170.40 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลจาก รง.506 รพ.สุไหงปาดี) ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว จึงจำเป็นต้องดำเนินการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกัน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

60.00

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 86 ราย
อัตราปวยสะสมตั้งวันที่ 1 มกราคม - 21 ธันวาคม คิดเป็นอัตราป่วย 155.00 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งมีการระบาดตลอดทุกปีช่วงฤดูฝน และเมื่อเปรียบเทียบอัตาราป่วย 5 ปีย้อนหลังสูงขึ้น (ข้อมูลจากสนง.ควบคุมโรคที่ 12 สงขลา) และพบในตำบลปะลุรูมากที่สุดใน 6 ตำบล ของอำเภอสุไหงปาดี พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก 30 ราย อัตราปวยสะสมตั้งวันที่ 1 มกราคม - 12 ธันวาคม คิดเป็นอัตราป่วย 170.40 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลจาก รง.506 รพ.สุไหงปาดี) ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว จึงจำเป็นต้องดำเนินการรณรงค์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและวิธีการป้องกัน รวมถึงการสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดแหล่เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในชุมชนให้น้อยลง

แหล่เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในชุมชนให้น้อยลง (มากกว่าร้อยละ)

70.00 10.00
2 เพื่อหาร้อยละบ้านที่พบลูกน้ำยุงลาย สำรวจชุมชนที่พบลูกน้ำยุงลายประเมินด้วยค่า HI

ร้อยละบ้านและชุมชนที่พบลูกน้ำยุงลาย (ค่า HI ไม่เกินร้อยละ)

20.00 10.00
3 มีความรู้เพิ่มขึ้น

อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกและประชาชนในพื้นมีความรู้เพิ่มขึ้น (มากกว่าร้อยละ)

80.00 48.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 240

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกโรคแก่อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกและประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุรู

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกโรคแก่อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลกและประชาชนในพื้นที่ตำบลปะลุรู
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร ( ชั่วโมงละ 600 บ. x 5 ชั่วโมง ) x 1 คน  =  3,000  บ.
  • ค่าอาหารกลางวัน ( มื้อละ 60 บาท x 80 คน ) = 4,800 บ.
  • ค่าอาหารว่าง ( มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อx 80 คน ) =  4,800 บ.
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ( ขนาด 1.20 เมตร x 2.40 เมตร ) =  720  บ.
  • ค่าเอกสารประกอบการอบรม ( ชุดละ 20 X 80 คน ) = 1,600  บ.
  • ค่ากระเป๋าถุงผ้า ( ชุดละ 60 X 80 คน ) = 4,800 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและการสำรวจ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างถูกวิธี ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19720.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ กำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 8 วัน โดยยึดหลัก (3 เก็บ 3 โรค เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ)

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ กำจัด แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน 8 วัน โดยยึดหลัก (3 เก็บ 3 โรค เก็บบ้าน เก็บน้ำ เก็บขยะ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง ( มื้อละ 30 บาท x 20 คน x 8 หมู่บ้าน )  = 4,800  บ.
  • ทรายอะเบท ( จำนวน 2 ถัง X 3,000 ) =  6,000  บ.
  • โลชั่นทากันยุง (จำนวน 887 ซอง x ซองละ 8 บ.) =  7,096 บ.
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละบ้านและชุมชนที่พบลูกน้ำยุงลาย ค่า HI ไม่เกินร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17896.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,616.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
2. ผู้เข้าร่วมโครงมีความรู้เรื่องการสำรวจและการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย


>