กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งอย่างแดง จังหวัดปัตตานี งบประมาณ 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพที่ดี ห่างไกลโรคเรื้อรัง ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งอย่างแดง จังหวัดปัตตานี งบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละแมะนา

ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลตะโละแมะนา

1. นางภัทรพร รัตนซ้อน
2. นางกัลยา สุวรรณรัตน์
3. นางสาวนูรฮูดา สารี
4. นางสาวนูรฮาซีกีน แวตียา
5. นางสาวตูแวนาอีมะห์ สาระ

ชุมชนตำบลตะโละแมะนา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

1.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

1.00
3 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

 

1.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

 

1.00
5 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

 

1.00

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสุขภาพอันดับหนึ่งของโลกและของประเทศไทยทั้งในมิติของจำนวนการเสียชีวิตและภาระโรคโดยรวม สถานการณ์โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา เช่น ภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง และระดับความดันโลหิตสูง นำไปสู่การเกิดโรค หากไม่ให้ความสำคัญกับการจัดการปัจจัยเสี่ยงและควบคุมสภาวะโรคอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งผู้ป่วยเบาหวานความและดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หรือไม่ก็เกิดความพิการทางด้านร่างกาย เช่น อัมพฤกษ์-อัมพาต บั่นทอนคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
สำหรับสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน และสถานการณ์โรคความดันในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปี 2565 จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2 แสนคน และสำหรับในพื้นที่ตำบลตะโละแมะนา อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 991 คน และโรคความดันโลหิตสูง 867 คน ในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ปี 2565 พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 314 คน คิดเป็นร้อยละ 31.69 สงสัยป่วยจำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.01 และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 9.57 สงสัยป่วย จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 3.23 และในปี พ.ศ. 2566 ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 936 คน และโรคความดันโลหิตสูง 813 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานจำนวน 307 คน คิดเป็นร้อยละ 32.80 สงสัยป่วยจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 1.50 และพบกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 20.30 สงสัยป่วยจำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 10.58 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2565 พบว่ากลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

1.00 1.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

1.00 1.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

1.00 1.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

1.00 1.00
5 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ การประเมินภาวะสุข พฤติกรรมเสี่ยง และการตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ การประเมินภาวะสุข พฤติกรรมเสี่ยง และการตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1 x 3 ตารางเมตร ในราคาตารางเมตรละ 300 บาท เป็นเงิน 900 บาท
  • ค่าเอกสารคัดกรอง จำนวน ๑,๐๐๐ ชุดๆละ ๒ บาท          เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท
  • อาหารว่าง จำนวน ๔๕ คนๆละ 25 บาท                เป็นเงิน ๑,๑๒๕ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4025.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๒ กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑.  อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ 2 ส  จำนวน ๑ ครั้ง เป็นเงิน ๙,๐๐๐ บาท -  ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 4๕ คนๆละ ๖๐ บาท  ๑ มื้อ          เป็นเงิน 2,๗๐๐ บาท -  ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4๕ คนๆละ ๒๕ บาท จำนวน ๒ มื้อ  เป็นเงิน ๒,๒๕0 บาท -  ค่าวิทยากร จำนวน ๖ ชั่วโมงๆละ 600 บาท              เป็นเงิน ๓,๖00 บาท -  ค่าเอกสารในการอบรม จำนวน ๔๕ ชุดๆละ ๑๐ บาท          เป็นเงิน ๔๕๐ บาท ๒. กิจกรรมออกกำลังกาย  เป็นเงิน ๙,๒๐๐ บาท     เต้นแอโรบิค จำนวน ๔ ครั้งๆละ ๒๐ คน
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒๐ คนๆละ 25 บาท ๑ มื้อ ๔ ครั้ง  เป็นเงิน ๒,๐00 บาท     เต้นแอโรบิคร่วมกับออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า ๔ ครั้งๆละ 20 คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 25 บาท 1 มื้อ ๔ วัน เป็นเงิน ๒,000 บาท - ค่าวิทยากร ๑ ชั่วโมงๆละ ๓๐๐ บาท จำนวน ๔ ครั้ง        เป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท - ค่าวัสดุ (ผ้าขาวม้า) จำนวน ๔๐ ผืนๆละ ๑๐๐ บาท          เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส
  2. ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามและส่งต่อพบแพทย์
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18200.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 4๕ คนๆละ ๒๕ บาท  ๑ มื้อ      เป็นเงิน 1,๑๒๕ บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 4๕ คนๆละ ๖๐ บาท  ๑ มื้อ          เป็นเงิน ๒,๗๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส
  2. ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามและส่งต่อพบแพทย์
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3825.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน Home BP

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๔ กิจกรรมตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน Home BP
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน ๙๒ คน ๆละ ๒๕ บาท                เป็นเงิน ๒,๓๐๐ บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3อ2ส
  2. ประชาชนกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการติดตามและส่งต่อพบแพทย์
  3. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>