กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวัง ควบคุมป้องกันโรคระบาดและภัยสุขภาพในชุมชนตำบลบูกิต ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บูกิต

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบูกิต

1.นางสาวซีตีมารีแย สาแล๊ะ 2.นางวนิดา ดรอแม 3.นางดรุณี สาเมาะ 4.นางซารีหม๊ะ ดอเลาะ 5.นางรุสนี สามะ

ตำบลบูกิต

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในระยะนี้ มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูฝน และกรมควบคุมโรคได้ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และเปิดประชุมศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ (EOC) ร่วมกับเครือข่ายส่วนกลางและภูมิภาคทุกสัปดาห์ โดยย้ำให้ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่ 7 ร. ได้แก่ 1.โรงเรือน (บ้าน/อาคาร) 2.โรงเรียน/สถานศึกษา 3.โรงพยาบาล 4.โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์) 5.โรงแรม/รีสอร์ท 6.โรงงาน และ7.ส่วนราชการ/องค์กรเอกชน ทั้งนี้ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึง (16 สิงหาคม 2566) พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกแล้วรวม 65,552 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 99.05 ต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นสัปดาห์ละกว่า 5,000 ราย ยิ่งมีผู้ป่วยมากก็ยิ่งมีผู้เสียชีวิตมาก ถึงขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้ว 58 ราย จำนวนผู้ป่วยปี 2566 มากกว่าปี 2565 ณ ช่วงเวลาเดียวกันถึง 3 เท่า ซึ่งเป็นวงจรของการเกิดโรคที่มักจะระบาดมากขึ้นในปีถัดจากปีที่ระบาดน้อย เนื่องจากภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติของประชากรโดยรวมลดลง หรือมีลักษณะการระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี โดยพบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุและอาชีพ จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 20 มกราคม 2566 (ข้อมูลจากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 กองระบาดวิทยา) ประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ( Dengue fever: DF Dengue hemorrhagic fever: DHF , Dengue shock syndrome: DSS) สะสมรวม 986 ราย อัตราป่วย 1.49 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย และจังหวัดนราธิวาส 4.58 ต่อประชากรแสนคน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบูกิต

 

0.00 0.00
2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและลูกน้ำยุงลาย

 

0.00 0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุม ป้องกัน การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและเหมาะสม

 

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์โครงการฯ

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลขนาด 1 x 3 เมตร
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 แจกแผ่นพับ ใบกอน ยากันยุงและทรายอะเบตกำจัดลูกน้ำยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
แจกแผ่นพับ ใบกอน ยากันยุงและทรายอะเบตกำจัดลูกน้ำยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าทรายอะเบตกำจัดลูกน้ำยุงลาย (ชนิดซอง 500 ซอง) จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 5,500 บาท
  • ค่าแผ่นพับโรคไข้เลือด จำนวน 400 ใบ x 10 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท
  • ค่าใบกอนเป็นเงิน 8,000 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุงเป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20500.00

กิจกรรมที่ 3 พ่นหมอกควันในพื้นที่ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

ชื่อกิจกรรม
พ่นหมอกควันในพื้นที่ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าน้ำมันเบนซิน เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าน้ำมันดีเซล เป็นเงิน 2,000 บาท
  • ค่าผ้าปิดจมูก 6 กล่อง x 95 บาท เป็นเงิน 570 บาท
  • ค่าหน้ากากปลอดเชื่อ N95 1 กล่อง เป็นเงิน 850 บาท
  • ค่าถุงมือดิสโพส 3 กล่อง x 350 บาท เป็นเงิน 1,050 บาท
  • ค่าน้ำยาเคมีภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุงลาย แบบละออกฝอย 6 ขวด x 2,000 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23970.00

กิจกรรมที่ 4 ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับโรคระบาด การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคในชุมชน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับโรคระบาด การเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคในชุมชน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆ ละ 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน 100 คน x 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน5,000 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน x 6 ชั่วโมง x 2 วัน x 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่ากระเป๋า สมุด ปากกา จำนวน 100 ชุด ๆ x 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
33200.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมเดิน รณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเดิน รณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1 x 3 เมตร x 3 ผืน เป็นเงิน 2,250 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนx 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 83,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคระบาดในพื้นที่
2. ไม่เกิดการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของโรคในพื้นที่
3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการควบคุมกำจัดลูกน้ำยุงลาย ปรับสภาพแวดล้อมในอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย สถานที่ทำงาน และชุมชน ให้สะอาดน่าอยู่
4. ลดอัตราการป่วยด้วยระบาดวิทยา ในพื้นที่


>