กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้นวัตกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ชุมชนบ้านแร่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

ชุมชนบ้านแร่

1.นางกัญญาวีร์ ณ พัทลุง
2.นางบุญเรือน รักดี
3.นางสาวกนกพร ขุนเศรษฐ
4.นางอาภรณ์ หนูแสง
5.นางสาววัณณา ศรีน้อย

ต คูหาสวรรค์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

 

5.00

สถิติผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 มกราคม 256ึ7 ในชุมชนบ้านแร่ พบผู้ป่วย 5 รายทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ อัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นการดำเนินควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือกันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน

จำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชนลดลงร้อยละ 20

5.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ผลิตนวัตกรรมไล่ยุง

ชื่อกิจกรรม
ผลิตนวัตกรรมไล่ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

ประธาน อสม. อสม และประชาชนในชุมชนร่วมกันผลิตนวัตกรรมไล่ยุง

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมผลิตนวัตกรรม(25 คน x 30 บาท x 1มื้อ ) เป็นเงิน 750 บาท

2.ค่าอุปกรณ์ในการผลิตกรรมไล่ยุง เช่น ขวดสเปร์ 100 ซีซี การบูร พิมเสน เอทิลแอลกอออล์ น้ำมันตะไคร้หอม เมนทอลเป็นเงิน 4,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.นวัตกรรมที่ผลิตสามารถนำมาใช้ป้องกันไม่ให้ยุงกัดและสามารถลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

2.ผุู้เข้าร่วมผลิตนวัตกรรมมีความรู้ในการผลิตนวัตกรรมไล่ยุง สามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เดินรณรงร์ร่วมกับประชาชนในชุมชน

  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

  3. ร่วมกับเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควันกำจัดยุงในชุมชน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมเดินรณรงค์ (25 คน x 30 บาท x 1มื้อ ) เป็นเงิน 750 บาท

2.ค่าอุปกรณ์กำจัดยุงลาย เช่น สเปร์ฉีดยุง ยาทากันยุง เป็นเงิน 8,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำชุมชนและ อสม มีความเข้าใจในแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักถึงปัญหาสาเหตุของการเกิดโรค

2.ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9250.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม

  1. เดินรณรงร์ร่วมกับประชาชนในชุมชน

  2. กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน

  3. ร่วมกับเจ้าหน้าที่พ่นหมอกควันกำจัดยุงในชุมชน

งบประมาณ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมเดินรณรงค์ (25 คน x 30 บาท x 1มื้อ ) เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำชุมชนและ อสม มีความเข้าใจในแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก มีความตระหนักถึงปัญหาสาเหตุของการเกิดโรค

2.ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถั่วเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ุลูกน้ำยุงลายในชุมชน
2. มีกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
3. นวัตกรรมไล่ยุงสามารถนำมาใช้ได้จริง และนำมาทดแทนยาทากันยุงที่มีขายตามท้องตลาด ลดอาการแพ้สารเคมี และประหยัดค่าใช้จ่าย
4.ชุมชนได้รับการพ่นหมอกควันเพื่อกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง


>