กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวตำบลสะเอะ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะเอะ

1.นายณรงค์หะมะ0862993541
2.นส.ฮามีดะห์ เทษา 0644210664
3.นส.อาฟียาห์หะมะ 0856749691
4.นายอับดุลฮาฟีซ หะมิมะดิง
5.นส.ปาตีเมาะ สะเตาะ 0807131032

ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ครอบครัวเป็นสถาบันที่เล็กที่สุดแต่มีความสำคัญมากที่สุดในสังคม โดยเป็นสถาบันที่ ให้การเลี้ยงดู ปกป้องคุ้มครอง และให้ความอบอุ่นทางจิตใจ ปลูกฝังค่านิยม ทัศนคติ อันเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว ดังนั้นครอบครัวมีความสำคัญต่อสุขภาพทางร่างกายจิตใจ และอารมณ์ของสมาชิกในครอบครัว ครอบครัวจึงเป็นเสมือนแหล่งพื้นฐานที่จะส่งเสริมให้สมาชิกในครอบครัว ทุกเพศทุกวัยมีสุขภาพที่ดีโดยคุ้มครองภัยหรืออันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่สุขภาพทางกาย จิต เศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว ฉะนั้นสุขภาพของมนุษย์จึงอยู่ใน ความรับผิดชอบของครอบครัวตั้งแต่ระยะอยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งตาย การที่สมาชิก ในครอบครัวปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนในครอบครัว จะนำมาซึ่งความสมานฉันท์เอื้อเฟื้อต่อกันทั้งในยามปกติและยามเจ็บป่วยโครงสร้างของครอบครัว วัฏจักรของครอบครัว บทบาทหน้าที่ของครอบครัว และบทบาทของสมาชิกในครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพ การมีส่วนร่วมกับครอบครัวและทีมสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุตามเป้าหมายตามนโยบายของประเทศต่อไป
ครอบครัวสุขภาพดี หมายถึง ภาวะที่ครอบครัวมีการทำหน้าที่ได้อย่างสูงสุด เป็นภาวะที่ครอบครัวมีความสมดุลปราศจากความบกพร่องในเรื่องต่างๆ มีการปฏิบัติพัฒนกิจได้อย่างสมบูรณ์ส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวมีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการตามวิถีแห่งชีวิตและระยะพัฒนาการ สมาชิกได้รับการดูแล ตอบสนองและสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง มีการกำหนดและปฏิบัติหน้าที่อย่างเหมาะสมตามบทบาทของสมาชิกแต่ละคน มีความเข้มแข็งและชัดเจนทั้งด้านโครงสร้าง และการทำหน้าที่ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับ อำนาจ บทบาท ค่านิยม และรูปแบบการสื่อสารในครอบครัว โครงสร้างเหล่านี้จะส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวมีแนวทางการจัดการด้านสุขภาพที่สมดุล และ มีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบการสื่อสารของสมาชิกที่มีบทบาทและอำนาจในการจัดการด้านสุขภาพถ้ามีความชัดเจนเหมาะสมทั้งในด้านวิธีการ และเนื้อหาในการสื่อหรือถ่ายทอดไปยังสมาชิกในครอบครัวรุ่นลูกและหลาน ก็จะทำให้สมาชิกในครอบครัวนั้นสามารถซึมซับ ปฏิบัติตาม ดังนั้นการมีสุขภาพดีของครอบครัวจึงมีความเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบและปัจจัยต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกครอบครัว
ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลสะเอะ ตระหนักและเห็นความสำคัญของบทบาทครอบครัวที่มีส่วนสำคัญในการสื่อสารในครอบครัวอันจะส่งผลปัจจัยในการสร้างเสริมสุขภาวะ การสร้างภูมิคุ้มกันทางสุขภาพโดยเฉพาะปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่นที่เสี่ยงต่อสิ่งเสพติดและการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร จึงได้กำหนดจัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมสร้างทักษะครอบครัวในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ 80 มีทักษะในการสื่อสารสุขภาวะครอบครัว

100.00 100.00
2 2.เพื่อป้องกันปัญหาการมีเพศสัมพันธ์และตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

 

0.00
3 3.เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร ทักษะทางอารมณ์ในครอบครัว

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 19/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/04/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
1.ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัว พิจารณาคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายครอบครัว วางแผนงาน 2.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุ ป้ายประกอบการดำเนินงาน เป็นเงิน 5,200.- บาท -ป้ายไวนิลขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 1ป้ายๆละ1,000.-บาท - แฟ้มพลาสติก 100 แฟ้มๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500.- บาท - สมุดบันทึก 100 เล่มๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,000.- บาท - ปากกา 100 ด้ามๆละ 7 บาท เป็นเงิน 700.- บาท - กระดาษบรู๊ฟ50 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 250.- บาท - ปากกาเคมี 20 ด้ามๆละ 20 บาท เป็นเงิน 400.- บาท - สีเทียน 10 กล่องๆละ 25 บาท เป็นเงิน 250.- บาท - กระดาษโพสต์อิท10อันๆละ30 บาท เป็นเงิน 300.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แผนการดำเนินงาน 2.ข้อมูลรายชื่อครัวเรือนเป้าหมาย 3.วัสดุเอกสารประกอบการดำเนินงาน 4.ป้ายไวนิลประกอบการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6400.00

กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมทักษะการสื่อสารในครอบครัว "ครอบครัวสุขภาพดี"

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมทักษะการสื่อสารในครอบครัว "ครอบครัวสุขภาพดี"
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเชิงกระบวนการ การค้นหาตัวตน การวิเคราะห์บทบาทของตนเอง บทบาทครอบครัว พฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ สังคม ทักษะทางอารมณ์และการสื่อสารในครอบครัว - ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ  60 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน  6,000.-  บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 30 บาท จำนวน 100 คน เป็นเงิน 6,000.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800.- บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรกลุ่มกระบวนการจำนวน 4 คนๆละ 3 ชั่วโมงๆละ 300 บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 มีนาคม 2567 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้เข้าร่วมมีทักษะในการจัดการอารมณ์และสื่อสารที่ดีในครอบครอบครัว 2.เข้าใจบทบาทตนเอง บทบาทครอบครัวต่อการสร้างเสริมสุขภาวะครอบครัว 3.สร้างภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติด การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรโดยครอบครัว 4.เกิดกลไกงานพัฒนาครอบครัวในชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17400.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมิน ติดตาม

ชื่อกิจกรรม
ประเมิน ติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประเมินผล ติดตามกลุ่มเป้าหมาย สรุป

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รายงานผลการดำเนินงาน 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ครอบครัวมีทักษะในการจัดการอารมณ์และสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว
2.ครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.เกิดกลไกครอบครัวสุขภาพดีในชุมชน


>