กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตรัง

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขบ้านบองอ

นางแวตีเมาะ กอและนางสาวอาแอเสาะ วาแม็ง นางสาวสาอีดะห์ แวหะมะ นายอับดุลเลาะ เจ๊ะโซะนางสาวชารินทร จาโร

ตำบลตรัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วามครอบคลุมการได้รับวัคซีนแต่ละชนิดครบตามเกณฑ์ใน
เด็กอายุครบ 1 ปี (fully immunized)ตำบลตรัง ปี 2566 ได้รับตามเกณฑ์ร้อยละ 2.7
อายุครบ 2 ปี (fully immunized) ได้รับตามเกณฑ์ร้อยละ 5.41
อายุครบ 3 ปี (fully immunized) ได้รับตามเกณฑ์ร้อยละ 0
อายุครบ 5 ปี (fully immunized)ได้รับตามเกณฑ์ร้อยละ 5.88
จากข้อมูลดังกล่าว พบว่า ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน ของตำบลตรังตำกว่าเกณฑ์ ทำไห้สามราถป้องกันโรคระบาดที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน เช่น โรคหัด โรคคอตีบ เป็นต้น จากข้อมูลสาเหตุของการไม่นำบุตรหลานมารับวัคซีนคือ 1.เด็กจะตามพ่อแม่ไปทำงานนอกพื้นที่กลับมาแค่ช่วงเทศกาล 2.ผู้ปกครองไม่ยินยอมให้ลูกฉีดวัคซีนเพราะยังมีความเชื่อที่ผิดๆทำให้ผู้ปกครองมีทัศนคติที่เข้าใจผิดรวมถึงผู้ปกครองบางคนยังไม่ให้ความสำคัญของการได้รับวัคซีนที่ครบถ้วนดังนั้นบ้านเขาวังหมู่ที่ 3 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมในด้านพัฒนาการเด็กและการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ในเด็กอายุตั้งแต่0- 5ปีจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการรับวัคซีนในเด็กอายุ 0-5 ปี ตำบลตรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวัคซีนในเด็ก

1 มีสื่อประชำสัมพันธ์ความรู้เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทุก หมู่บ้าน
2. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคผ่านเสียง ตามสายในทุกชุมชน
3. ผู้นำศาสนาอ่านคุตบะห์เรื่องวัคซีน แก่ประชาชนทั้ง 4 ชุมชน

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

1 ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนดีขึ้น
2 ผู้ปกครองเด็ก อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีทักษะการจัดการอาการข้างเคียงเช่นอาการไข้ อาการปวด หลังได้รับวัคซีน
3 มีครอบครัวปลอดโรคต้นแบบอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครอบครัว และหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน 4 มีสมาชิกครอบครัวและเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดีอย่างน้อย 50 คน

80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 80
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/02/2024

กำหนดเสร็จ 31/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้านเรื่องโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก จำนวน 20คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หลังเข้ารับการอบรมแกนนำมีความรู้และความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก และหลักการศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้น ในระดับดีมาก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม ทั้ง4 หมู่บ้าน จำนวน 27 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม ทั้ง4 หมู่บ้าน จำนวน 27 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม ทั้ง4 หมู่บ้าน   จำนวน 27 คน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสมทั้ง 4 หมู่ ที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัคซีนในระดับดีและดีมาก จำนวน 25 คนจาก 20 คน สามารถสาธิตย้อนกลับวิธีการสื่อสารกับผู้ปกครองได้ถูกต้องตามหลักการทุกคนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7300.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ของประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้าน

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ของประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดพิมพ์โปสเตอร์และไวนิลพร้อมติดตั้ง 3,000 บาท x 4 หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีป้ายประชาสัมพันธ์ รณรงค์การมารับบริการวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 4 อ่านคุตบะห์วันศุกร์ เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในชุมชนจำนวน 6 มัสยิด 2 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
อ่านคุตบะห์วันศุกร์ เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในชุมชนจำนวน 6 มัสยิด 2 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อ่านคุตบะห์วันศุกร์ เรื่องการป้องกันโรคติดต่อในชุมชนจำนวน 6 มัสยิด 2 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อ่านให้ประชาชนตามหมู่บ้านต่าง ๆ ทุกวันศุกร์โดยมีการอ่านคุตบะห์วันศุกร์ มัสยิด ละ 2 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้าน จำนวน 20 คน
จำนวน 1 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำชุมชน มีส่วนร่วมในการออกแบบการติดตามการฉีดวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 6 ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบ

ชื่อกิจกรรม
ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดประกวดหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบของแต่ละหมู่บ้านณ  ครอบครัวที่มีเด็กอายุ 0-5 ปี ในแต่ละหมู่บ้าน โดยมีผลลัพธ์คือ มีหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนครบและครอบครัวปลอดโรคต้นแบบ อย่างละ 1 หมู่บ้าน โดยมีเกณฑ์คือได้รับวัคซีนครบตามวัยและมีน้ำหนัก/ส่วนสูงในระดับสมส่วน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 7 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครอง และเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครอง และเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ผู้ปกครอง และเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 3 หมู่บ้าน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครอง และเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับความรู้เรื่องวัคซีน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

การแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนต่ำในเด็ก 0-5 ปี โดยมีการสนับสนุนการดำเนินงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตรังอบต.ตรังรวมถึงผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ของเด็ก 0-5 ปีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หากแกนนำดำเนินงานตามแผนส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนที่พัฒนาขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในชุมชน จะทำให้เกิดความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กตำบลบานาเพิ่มขึ้น จะมีการนำแผนดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ในเขตอำเภอเมืองและอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดปัตตานีเพื่อขยายผลต่อไป


>