กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการมหกรรมสร้างสุขภาพดี วิถีเชิงรุกแบบบูรณาการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาร 2567

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการมหกรรมสร้างสุขภาพดี วิถีเชิงรุกแบบบูรณาการ ตำบลศรีสาคร อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ปีงบประมาร 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพภายใต้นโยบายการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กลยุทธ์ที่ สำคัญคือ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนให้เกิดความตระหนัก มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม เสริมสร้างความเข้มแข็งและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย นโยบายการสร้างสุขภาพนำการซ่อมสุขภาพ จึงจำเป็น เพราะนอกจากจะกระตุ้นให้ประชาชนมีสุขภาพดีแล้ว รัฐบาลยังสามารถลดภาระ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ด้วย ด้วยความตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสุขภาพและเพื่อให้ ประชาชนมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ภาวะทุพโภชนาการในเด็ก ปัญหาฟันผุในเด็ก 0-5 ปีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี และการดูแลสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น โดยการจัดมหกรรมสร้างสุขภาพแบบบูรณาการขึ้น โดยมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่อง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก0-5 ปี ตรวจคัดกรองภาวะ โภชนาการและตรวจพัฒนาการ ตรวจฟันและทาฟลูออไรด์เด็ก 0-5 ปีคัดกรองภาวะซึมเศร้า ภาวะอ้วนลงพุง ส่งเสริมการออกกำลังกาย ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจใน เรื่องเพศของวัยรุ่นการตั้งครรภ์ไม่พร้อม การใช้สารเสพติด แนะนำการปฏิบัติตนตามหลัก ๓อ. ๒ส. การควบคุมและ ป้องกันโรคไข้เลือดออก และไข้มาลาเรียเป็นต้น
ซึ่งสภาพปัญหาทั้งหมด หากกลุ่มเป้าหมายทุกคน มีความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ก็จะเป็นการช่วยลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางทรัพยากรบุคคลและภาระค่าใช้จ่ายต่างๆในการดูแลรักษาผู้ป่วย ซึ่งแต่ละปี เป็นค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากที่รัฐต้องสูญเสีย
ฉะนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไอร์แยง ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมสร้างสุขภาพดี วิถีเชิงรุกแบบบูรณาการ ขึ้น โดย กระตุ้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขต รับผิดชอบให้ดีขึ้น และยังยื่นต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ควบคุม และป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
  1. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ควบคุม และป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม ร้อยละ 80
0.00
2 2. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการและได้รับการตรวจพัฒนาการ
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการและได้รับการตรวจพัฒนาการ ร้อยละ 80
0.00
3 3. เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์
  1. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์ ร้อยละ 80
0.00
4 4 .เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามทุกราย
  1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหญิงหลังคลอดได้รับการติดตาม ร้อยละ100
0.00
5 5 ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
  1. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ร้อยละ 80
0.00
6 6 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม
  1. ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ร้อยละ 80
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 900
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 100
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ๑.๑ อบรมให้ความรู้ให้กับกลุ่มประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง ๕ กลุ่มวัย จำนวน ๒ วันๆละ ๒๔๐ คน (แบ่งเป็น ๔ ฐานๆละ ๖๐ คน)

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้ ๑.๑ อบรมให้ความรู้ให้กับกลุ่มประชาชน เพื่อพัฒนาความรู้ด้านสุขภาพ ทั้งด้านการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน การส่งเสริมสุขภาพประชาชน ทั้ง ๕ กลุ่มวัย จำนวน ๒ วันๆละ ๒๔๐ คน (แบ่งเป็น ๔ ฐานๆละ ๖๐ คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x ๔๘๐ คน
= ๒๔,๐๐๐  บ. -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ๒๕ บ. X
๒ มื้อ X ๔๘๐ คน = ๒๔,๐๐๐  บ.
รวม ๔๘,๐๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48000.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมอบรมและติดตามแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ - อบรมพร้อมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ จำนวน 5 ครั้งๆละ ๔๐ คน รวม ๒๐๐ คน - อบรมพร้อมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน ๗ ครั้งๆละ ๒๐๐ คน รวม 1,400 คน -อบรมพร

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมอบรมและติดตามแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ - อบรมพร้อมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ จำนวน 5 ครั้งๆละ ๔๐ คน รวม ๒๐๐ คน - อบรมพร้อมตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน ๗ ครั้งๆละ ๒๐๐ คน รวม 1,400 คน -อบรมพร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง ๒๕ บ.x ๒,๘๐๐ คน
= ๗๐,๐๐๐ บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 118,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล ควบคุม และป้องกันโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงการเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
2. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะโภชนาการและได้รับการตรวจพัฒนาการ.
3. เด็ก 0-5 ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์
4. หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงและหญิงหลังคลอดได้รับการติดตามทุกราย
5. ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี มีความรู้ ความเข้าใจและให้ความสำคัญต่อการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
6. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย


>