กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บานา

กลุ่มประมงพื้นบ้าน ม.8

1.นายการียามะตาเหร์

2.นายแวอุเซ็งแวนุ

3.นายไซดีสาและ

4.นายสาแปอิงเจะยะปาร์

5.นายอามูบาการ์แวซอเฮาะ

หมู่บ้านยูโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ประกอบอาชีพประมงที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่ว

 

80.00

ในชุมชนหมู่ที่8 ชุมชนบ้านยูโย ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี มีการประกอบอาชีพประมงโดยประมาณ 50 ครอบครัว มีการจับสัตว์น้ำตามฤดูกาลจากการทำอาชีพประมง ซึ่งการทำงานมีความเสียงด้านสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น การจับสัตว์น้ำประเภทเปลือกแข็งโดยไม่สวมใส่ถุงมือการไม่สวมใส่เสื้อชูชีพขณะอยู่ในเรือ การรับประทานอาหารและการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และการยกของหนักแบบผิดวิธี เป็นต้นเนื่องจากชาวประมงส่วนมากขาดความรู้ ความตระหนักในการป้องกันตนเอง เพราะมีความเคยชินกับการประกอบอาชีพที่ทำตลอด และขั้นตอนของการต่อเรือหรือซ่อมเรือมีโอกาสสัมผัสสารตะกั่วจากกระบวนการทำงาน เพราะมีการใช้เสนซึ่งมีส่วนประกอบเป็นสารตะกั่ว จะเห็นได้ว่ามีโอกาสสัมผัสกับสารตะกั่วจากการสูดหายใจฝุ่นตะกั่วและการสัมผัสทางผิวหนังในกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนการซ่อมเรือไม้ ขั้นตอนการคลุกหมัน ขั้นตอนการตอกหมัน จนถึงการฉาบสีเรือ ดังนั้นกลุ่มอาชีพนี้ควรมีการป้องกันและลดการสัมผัสตะกั่วอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันโรคพิษตะกั่วต่อตนเองและต่อครอบครอบครัวของชาวประมง
ดังนั้น กลุ่มประมงพื้นบ้าน หมู่ที่ 8 เห็นถึงความสำคัญของคนที่ประกอบอาชีพประมงในชุมชน จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มประมงพื้นบ้านเพื่อสุขภาพที่ดีของกลุ่มชาวประมงในชุมชน ม.8 เพื่อส่งเสริมสุขภาพกลุ่มประมงพื้นบ้าน และป้องกันการเกิดโรคพิษตะกั่วจากสภาพแวดล้อมและสภาพการทำงาน อีกทั้งร่วมกันปรับสภาพแวดล้อมของแม่น้ำในชุมชนบ้านยูโย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประมงพื้นบ้าน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มประมงพื้นบ้านมีความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติตนให้ห่างไกลโรคที่อาจเกิดจากการทำงาน

50.00
2 เพื่อป้องกันการสัมผัสสารตะกั่วในกลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมได้รับการตรวจคัดกรองหาสารตะกั่วในเลือด และสามารถป้องกันตนเองและลดการสัมผัสสารตะกั่วได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 18/05/2024

กำหนดเสร็จ 08/06/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มประมงพื้นบ้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การส่งเสริมสุขภาพกลุ่มประมงพื้นบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ความรู้เรื่องโทษและพิษของสารตะกั่ว

-ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนตามหลักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการประกอบอาชีพประมง

-ให้ความรู้งการป้องกันตนเองจากโรคอุจจาระร่วง


1.ค่าอาหารกลางวัน 60 บาท X 50 คน เป็นเงิน3,000.-บาท

2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่อง 35 บาท X 50 คน X 2 มื้อเป็นเงิน3,500.-บาท

3.ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1 X 3 เมตร เป็นเงิน 750.-บาท

4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม (แนบท้าย) เป็นเงิน2,000.-บาท

5.ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมงๆละ 300 บาทเป็นเงิน1,800.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2567 ถึง 18 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11050.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมตรวจหาสารตะกั่วในเลือด

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจหาสารตะกั่วในเลือด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าเจาะเลือดตรวจหาสารตะกั่ว จำนวน 50 คน x 360 บาท เป็นเงิน 18,000.- บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
18 พฤษภาคม 2567 ถึง 18 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18000.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลองที่ทำงาน (ล่องเรือเก็บขยะ)

ชื่อกิจกรรม
ปรับปรุงภูมิทัศน์ สภาพแวดล้อมและการรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลองที่ทำงาน (ล่องเรือเก็บขยะ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เหมาจ่ายค่าเครื่องดื่มจำนวน3ครั้งๆละ1,000.-บาท เป็นเงิน3,000.-บาท

2.ค่าน้ำมันเรือปรับปรุงภูมิทัศน์ ความสะอาดแม่น้ำลำคลอง(ดีเซล ) จำนวน5 ลำ X 200.-บาท X3 ครั้ง เป็นเงิน3,000.-บาท

3.ป้ายประชาสัมพันธ์ห้ามทิ่งขยะลงสู่แม่น้ำลำคลองขนาด1X4 เมตร จำนวน3 ป้าย เป็นเงิน3,000.-บาท

4.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินกิจกรรม(แนบท้าย)เป็นเงิน 3,100.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 พฤษภาคม 2567 ถึง 8 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,150.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มประมงพื้นบ้านได้รับการคัดกรองสารตะกั่วในเลือด

2.กลุ่มประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจการป้องกันโรคจากความเสี่ยงจากการทำงาน

3.กลุ่มประมงพื้นบ้านเกิดความตระหนักในการป้องกันตนเองเพื่อลดความเสียงอันตรายจากการทำงาน

4.เกิดการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน


>