กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ศรีสาคร

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารุลอามาน (สกูปา)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เด็กในช่วงแรกเกิด 6 ขวบ ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจและสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม ก็จะส่งผลถึงสุขภาพดีไม่เจ็บป่วย ซึ่งการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง เหมาะสม และเพียงพอจะทาให้มีโภชนาการดีและนำไปสู่การมีสุขภาพดี ในทางตรงกันข้ามหากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เพียงพอจะทำให้ขาดสารอาหารหรือถ้ากินอาหารมากเกินไป ก็จะทำให้เป็นโรคอ้วนหรือโภชนาการเกิน "โภชนาการ" จึงเป็นเรื่องของการกินอาหาร ที่ร่างกายเรานำสารอาหารจากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ซึ่งเป็นวัยรากฐานของการพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ปัญหาโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้คือ ภาวะการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดดารุลอามาน(สกูปา) สังกัดองค์การบริหารส่วนองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเฝ้าระวังการเกิดภาวะโภชนาการในเด็กเล็ก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของเด็กในการรับประทานอาหารที่ถูกต้องรวมถึงสัดส่วนของอาหารพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย สามารถนำสารอาหารไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยได้อย่างถูกวิธีซึ่งเรียกว่า ภาวะโภชนาการที่ดีคือสภาพของร่างกายและจิตใจ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร และผู้นำชุมชนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

1.ร้อยละ 90 เด็กปฐมวัย ผู้ปกครอง ผู้ประกอบอาหาร และผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในโครงการทุกคน

0.00
2 2. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองและผู้ประกอบอาหาร สามารถกำหนดเมนูอาหารให้กับเด็กและส่วนประกอบอาหารแต่ละชนิดได้ถูกต้อง

2.ร้อยละ 90 ได้รับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วนและเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

0.00
3 3. เพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย

3.ร้อยละ 90 ได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย

0.00
4 4. เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ประกอบอาหาร และผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 2-6 ปี
  1. ร้อยละ90 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 2-6 ปี อย่างถูกวิธี
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 54
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมหลัก -เช้า เชิญวิทยากร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในเด็กปฐมวัย - บ่าย สาธิตการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมหลัก -เช้า เชิญวิทยากร เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการในเด็กปฐมวัย - บ่าย สาธิตการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าตอบแทนวิทยากร 600 บาท x จำนวน 2 คนๆละ 3 ชม .= 3,600บ. ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บ.x 54 คน                  = 2,700 บ. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บ x 54 คน       = 2,700 บ. ค่าเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 54 ชุดๆละ 30 บ      = 1,620 บ. ค่าป้ายประชาสัมพันธ์  2 x 3 เมตร x 250 บ.                 = 1,500 บ. ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร  54 ใบๆละx 120 บ.                     = 6,480 บ.
ค่าเช่าเต็นท์ จำนวน 1 ชุด พร้อมติดตั้งและรื้อถอน ซึ่งประกอบไปด้วย
โต๊ะ จำนวน 8 ตัว และเก้าอี้ จำนวน 60 ตัว                    = 1,600 บ.
ค่าวัสดุ/อุปกรณ์ประกอบโครงการ เช่น ขนมปัง,ไส้กรอก,ปูอัด,ไข่ต้ม,ไก่,ผักกาดแก้ว เป็นต้น   = 6,500 บ.
รวม 26,700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ โภชนาการอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย 2-6 ปี
2. เด็กได้รับโภชนาการที่เหมาะสมกับวัย


>