กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แนวทางดำเนินงาน/วิธีการสำคัญ

stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาศักยภาพและทักษะบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
- การพัฒนาทักษะการว่ายน้ำเพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำแก่เด็กและเยาวชน
- การพัฒนาทักษะการดูแลส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กร่วมกับผู้ปกครองตามประเภทของเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า
- การพัฒนาทักษะการดูแลรักษาฟันอย่างถูกวิธีร่วมกับผู้ปกครอง
- การให้ความรู้ความเข้าใจเรื่อง วัคซีนตามหลักศาสนา
stars
แนวทางดำเนินงาน : การจัดระบบริการแบบใหม่
label_important
วิธีการสำคัญ
- การคัดกรองพัฒนาการเด็กเชิงรุก
- การส่งเสริมและแก้ปัญหาทุพโภชนาการด้วยอาหารเสริมและการจัดอาหารที่ถูกหลักโภชนาการกับเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาระบบและกลไกด้านการดูแลแม่และเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- อสม.เฝ้าระวังและติดตามเด็กและเยาวชนที่ไม่รับวัคซีนตามกำหนด
- การส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์แก่กลุ่มเยาวชนเพื่อเพิ่มภาวะความฉลาดทางอารมณ์(EQ)
- การจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
- การพัฒนาครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
- การจัดทำข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชน
- การร่วมกับชุมชนในการจัดทำแผนสุขภาพและโครงการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะสำหรับเด็ก
label_important
วิธีการสำคัญ
- กำหนดกติกาหมู่บ้านหรือโรงเรียนเกี่ยวกับการจำหน่ายขนมขบเคี้ยว น้ำอัดลม เป็นต้น
- การกำหนดนโยบายหรือแผนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก
stars
แนวทางดำเนินงาน : การแก้ปัญหาเพือแก้ปัญหาเด็กเล็กที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคมือเท้าปากระบาด
label_important
วิธีการสำคัญ
- ให้ความรู้และแนะนำการป้องกันโรคแก่ผู้ปกครองเด็กเล็ก และในศูนย์เด็กเล็ก
- ปรับสภาพแวดล้อมที่ลดปัญหาการระบาด เช่น การล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ การล้างมือบ่อยๆ ไม่ใช้แก้วน้ำดื่มร่วมกัน เป็นต้น
- ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ปรับปรุงทำความสะอาดโรงเรียนเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กป้องกันการระบาด
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน เช่น การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ป่าไม้ การปลูกป่าชุมชน การปลูกต้นไม้ริมถนนเพื่อเป็นตัวกรองฝุ่นละออง
2. การจัดทำแนวป้องกันไฟ และการกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
3. การส่งเสริมการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพื่อการจัดการไฟป่า การเผาพื้นที่การเกษตร ตามศักยภาพและบริบทของแต่ละพื้นที่
4. การส่งเสริมการเดินทางด้วยการเดินเท้า จักรยาน และรถโดยสารสาธารณะ
5. การสร้างหรือปรับปรุงทางจักรยาน เพื่อส่งเสริมการเดินทางด้วยจักรยาน ลดการใช้รถยนต์
6. การสร้างห้องปลอดฝุ่นสำหรับศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน สถานบริการสาธารณสุข
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ก่อนเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน รวมถึงชุมชนในประเทศเพื่อนบ้าน ถึงความสำคัญของป่า ผลกระทบที่เกิดจากไฟป่า การเผาในที่โล่งและหมอกควัน เพื่อลดการเผาในที่โล่ง
- การให้ความรู้แก่ประชาชนและเกษตรกรในชุมชน ด้านการจัดทำแนวป้องกันไฟ การกำจัดเศษวัสดุ ขยะ ใบไม้แห้งที่เป็นเชื้อเพลิงในพื้นที่ริมทาง เพื่อไม่ให้มีเชื้อไฟและใช้เป็นแนวกันไฟ
- การให้ความรู้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ในชุมชนด้านการดูแล บำรุงรักษาเครื่องยนต์ขั้นพื้นฐาน เพื่อยืดอายุการใช้งานเครื่องยนต์ ไม่ให้เสื่อมสภาพ ไม่เกิดควันดำ
- การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการตลอดจนผู้ปฎิบัติงานโรงงานอุตสาหกรรมในชุมชนด้านการประกอบกิจการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรืออุตสาหกรรมสีเขียว
- การสื่อสารชุมชนเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสำหรับการติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยใช้ข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น Air4Thai และเว็บไซต์ Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ www.cmuccdc.org (เครื่อง DustBoy) ของ ม.เชียงใหม่ หรือยักษ์ขาว ของ ม.แม่ฟ้าหลวง หรืออื่น ๆ ตลอดจนข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา
2. การดำเนินการระหว่างเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
- การสื่อสารถึงข้อมูลสถานการณ์ PM2.5 ที่ถูกต้อง เข้าใจง่าย และทันต่อสถานการณ์ให้แก่ชุมชน ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เช่น เสียงตามสายในชุมชน สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์ และสื่อสังคมออนไลน์
- การให้คำแนะนำประชาชนด้านการปฏิบัติตนและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เช่น การสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น การลดเวลาหรืองดการทำกิจกรรมนอกบ้าน การเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้มีโรคประจำตัว
3. การพัฒนาทักษะของเกษตรกรในการแปรรูปเศษวัสดุการเกษตร (ข้าว ข้าวโพด และอ้อย) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น การทำปุ๋ยหมัก การใช้เป็นอาหารสัตว์ การแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
4. การพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียน กิจกรรมการเรียนที่สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับฝุ่นละออง แหล่งกำเนิด และการจัดการฝุ่นละออง PM2.5
5. การจัดทำสื่อ คลิป หนังสั้น เพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลด้านฝุ่นละออง ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่ายให้ประชาชนได้รับทราบ
stars
แนวทางดำเนินงาน : ระบบและกลไกด้านการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ รวมถึงพัฒนาคนในชุมชนให้สามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการฝุ่นละออง และมลพิษทางอากาศ (การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในที่โล่ง และหมอกควัน)
2. การจัดกลไกเฝ้าระวังจุดเสี่ยงในการเกิดไฟป่า
3. การจัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครชุมชน หรือชุดปฏิบัติการระดับชุมชน เพื่อการสื่อสาร การเฝ้าระวัง และการดับไฟกรณีการเกิดไฟป่า หรือการเผาในพื้นที่โล่ง ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ป้องกันภัยอำเภอ
4. การพัฒนาระบบกำกับติดตามการปฏิบัติตามที่กฎหมายหรือหน่วยงานกำหนดโดยชุมชนมีส่วนร่วม เช่น การควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด การไม่ให้มีการเผาในไร่อ้อย
5. การสร้างชุมชนต้นแบบในการอนุรักษ์ป่าไม้ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า การเผาในพื้นที่เกษตร และหมอกควัน
6. การเปิดคลินิกมลพิษและห้องปลอดฝุ่นในสถานบริการสาธารณสุขช่วงเกิดสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5
stars
แนวทางดำเนินงาน : การทำกิจกรรมชุมชนให้เข้มแข็ง
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การสำรวจและจัดทำแผนที่พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและการเผาในที่โล่งในชุมชน
2. การจัดให้มีการซ้อมแผน การเผชิญเหตุระดับชุมชน
3. การสร้างแกนนำในการจัดการปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควัน
stars
แนวทางดำเนินงาน : การมีนโยบายสาธารณะหรือกติกาชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
1. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
2. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกา ธรรมนูญของชุมชนในการลดมลพิษทางอากาศจากการคมนาคมขนส่ง เช่น การเดินหรือขี่จักรยานแทน การเลือกใช้ระบบขนส่งสาธารณะ การใช้รถร่วมกัน หรือ Car pool อย่างทางเดียวกันไปด้วยกัน
3. การสร้างแนวปฏิบัติในการควบคุมฝุ่นละอองจากการก่อสร้างของชุมชน
4. การเจรจาเพื่อทำข้อตกลงร่วมระหว่างชุมชนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ในการห้ามการเผาป่า การเผาในพื้นที่การเกษตร และการเผาในที่โล่ง
stars
แนวทางดำเนินงาน : การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• การเพิ่มที่ผลิตอาหารในบ้าน โรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะในชุมชน
• การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการเพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยในระดับครัวเรือน /ชุมชน หน่วยงานเช่นโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
• การเพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัยในชุมชน
• การปรับงานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงานอาหารปลอดภัยและสุขาภิบาลอาหาร
• การใช้บริบท วัฒนธรรม ภูมิปัญญาทางด้านอาหาร เพื่อการจัดการระบบอาหารในชุมชน
• การทำระบบกระจาย หรือเชื่อมโยงผลผลิต (matching model) โดยการเชื่อมโยงอาหารจากผู้ผลิตไปยังหน่วยงานเช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก ร้านอาหาร หรือผู้บริโภค

วิธีการ

1. การส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ หรือการส่งเสริมการทำสวนผักในเมืองในพื้นที่ๆ เป็นชุมชนเมือง เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยแก้ปัญหาอาหารโภชนาการและอาหารปลอดภัย
2. ส่งเสริมการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ในโรงเรียนเพื่อแก้ปัญหาการขาดอาหาร เช่นการปลูกผัก นาข้าว การเลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลา ฯลฯ
3. ส่งเสริมการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรอินทรีย์มาใช้ในระบบอาหารของครัวเรือน ชุมชน
4. การใช้เมนูอาหารที่เหมาะสมกับทุกช่วงวัยในศูนย์เด็กเล็ก โรงเรียน และชุมชน
5. การปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในโรงครัว โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก/ร้านอาหาร/แผงลอยจำหน่ายอาหารในพื้นที่
6. การพัฒนาตลาด (ตลาดปลอดภัย/ตลาดสีเขียว/ตลาดอินทรีย์/ตลาดน่าซื้อ ตลดออนไลน์ ฯลฯ ของชุมชน)
7. การส่งเสริมการบริโภคโดยใช้เมนูอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารเป็นยา เมนูชูสุขภาพ ผักสมุนไพรเพื่อสุขภาพ เพื่อการส่งเสริมป้องกันโรค
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน ให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถในการจัดการอาหารในชุมชน
• การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคตามกลุ่มวัย (วัยเด็ก/วัยเรียน.วันทำงาน/วัยสูงอายุ)

วิธีการ

1. การพัฒนาศักยภาพครู ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก ด้านอาหารในโรงเรียนและชุมชน เช่นการอบรมโปรแกรม Menu Thai School Lunch
2. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาเช่น เด็ก/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง/ผู้สูงอายุ ฯลฯ เช่น การส่งเสริมการบริโภค ผัก ผลไม้
3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน /โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก และชุมชน เช่น ลด หวาน มัน เค็ม ลดการบริโภคน้ำหวานน้ำอัดลม
4. การฝึกทักษะการปรุง การใช้ตำรับอาหารพื้นบ้านที่เป็นยา อาหารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
5. การสร้างบุคคล ครัวเรือน ต้นแบบ (Role model)
6. การส่งเสริมความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) ความรอบรู้เรื่องอาหาร (food literacy)
stars
แนวทางดำเนินงาน : การปรับระบบ กลไก
label_important
วิธีการสำคัญ
• การพัฒนาระบบเฝ้าระวังเรื่องการจัดการอาหารในชุมชน
• การพัฒนาระบบคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร
• การจัดตั้งชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร
• การใช้กลไกคณะกรรมการอาหารปลอดภัยระดับจังหวัดในการดำเนินงานอาหารปลอดภัย

วิธีการ

1. การพัฒนาระบบการจัดการข้อมูลภาวะโภชนาการในศูนย์เด็กเล็กและในโรงเรียน
2. การใช้โปรแกรม Menu Thai School Lunch เพื่อจัดการอาหารในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
3. การติดตามภาวะโภชนาการของคนในชุมชน โดยเฉพาะ กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ
4. การสนับสนุนชมรม กลุ่ม เครือข่ายต่างๆ ในชุมชนเพื่อการจัดการอาหาร เช่น กลุ่มเกษตรกรปลอดสารพิษ.เกษตรอินทรีย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ฯลฯ
stars
แนวทางดำเนินงาน : การเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• ชุมชนสามารถจัดการข้อมูลอาหารและโภชนาการได้
• ชุมชนสามารถจัดทำแผนชุมชนด้านระบบอาหารแบบมีส่วนร่วม ตั้งแต่การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล กำหนดแผนงาน โครงการร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน และร่วมติดตามประเมินผล

วิธีการ

1. พัฒนาแกนนำและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถเก็บข้อมูล การจัดทำข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จัดเวทีคืนข้อมูล
2. การทำแผนชุมชน การทำแผนท้องถิ่น การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมร่วมกับชุมชน
3. สนับสนุนให้ชุมชนที่ส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อการมีและเข้าถึงอาหาร ทำให้มีอาหารปลอดภัยบริโภค และบริโภคที่ถูกต้อง มีโภชนาการที่สมวัย
stars
แนวทางดำเนินงาน : การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านอาหารในชุมชน
label_important
วิธีการสำคัญ
• เกิดธรรมนูญสุขภาพ เรื่องระบบอาหาร
• เกิดกติกาหรือข้อตกลงร่วมเรื่องระบบอาหาร
• เกิดมาตรการของชุมชนและท้องถิ่นเรื่องระบบอาหาร

วิธีการ

1. การกำหนดนโยบายชุมชนเรื่องการไม่ขายเครื่องดื่มน้ำหวาน ขนมขบเคี้ยวในบริเวณ ใกล้หรือในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน
2. นโยบายชุมชนปลอดน้ำอัดลม เหล้า สุรา ในงานเลี้ยง งานบุญ งานประเพณี
3. ข้อตกลงชุมชนให้คนในชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษไว้รับประทานเองในครัวเรือน
4. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการลดการใช้สารเคมีในภาคเกษตร
5. การกำหนดมาตรการ ข้อตกลงร่วม กฏ กติกาของชุมชน ในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นแหล่งอาหารของชุมชน
6. นโยบายบายการนำอาหารสุขภาพไปถวายพระ (ปิ่นโตเพื่อสุขภาพ)
7. การส่งเสริมให้เกิดธรรมนูญลุ่มน้ำ ธรรมนูญป่าชุมชน เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ