กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเด็กดี de jungha ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาโลย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา

ตำบลตันหยงจึงงา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

29.90
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

4.41
3 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะอ้วน

 

20.59

สถานการณ์ภาวะทุพโภชนาการของประเทศไทย จากการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย
ปี 2562 (MICS 6) พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ยังพบปัญหาภาวะเตี้ย น้ำหนักเกิน และผอม อยู่ในระดับที่น่ากังวล
และเป็นประเด็นท้าทายของการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ซึ่งร้อยละของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีภาวะเตี้ย ผอม และ
น้ำหนักเกิน คือ 13.7, 8.0 และ 9.0 ตามล่าดับ
จากสถานการณ์ภาวะการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัย (0 – 5 ปี) ในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตันหยงจึงงา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีเด็กอายุ 0 - 5 ปี ทั้งหมดจำนวน 204 คน พบเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่มี ผอมจำนวน 61 คน คิดเป็นร้อยละ 29.90 เด็กอายุ 0 – 5 ปีที่มีภาวะอ้วน จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 4.41 และเด็กอายุ 0 – 5 ปี ที่มีภาวะเตี้ยจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 20.59ภาวะทุพโภชนาการไม่ว่าภาวะผอม ภาวะเตี้ย เป็นผลมาจากการขาดสารอาหารในช่วงระยะเวลาหนึ่งติดต่อกัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า2 ปี ซึ่งนับเป็นปีทองของเด็ก ภาวะทุพโภชนาการจะส่งผลการต่อการเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกาย พัฒนาการ อีกทั้งส่งผลให้สูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ตามศักยภาพอย่างถาวร ลดประสิทธิภาพในการเรียนของเด็กวัยเรียน และอาจมีความรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตันหยงจึงงา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนอย่างมีคุณภาพบูรณาเครือข่ายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อกระตุ้นการเข้าถึงบริการมากยิ่งขึ้น พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนให้มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กก่อนวัยเรียนเจริญเติบโตได้อย่างมีศักยภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 0 - 5 ปี

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับการคัดกรองภาวะโภชนาการ ร้อยละ 95

83.82 95.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่มีภาวะทุพโภชนาการ ได้รับการดูแลและแก้ไข

เด็กอายุ0 – 5ปี มีภาวะทุพโภชนาการ ลดลง ร้อยละ 10

54.90 44.90

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 100
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 26/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ค้นหาคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0 – 5 ปี

ชื่อกิจกรรม
ค้นหาคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 0 – 5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำทะเบียนบริการแจกแจงรายชื่อเด็กไทยช่วงอายุ 0 – 5 ปี ตามที่อยู่จริง/อยู่ประจำในพื้นที่ตำบลตันหยงจึงงา เพื่อสะดวกในการให้บริการ 2.ประเมินภาวะโภชนาการเด็กที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อค้นหาเด็กกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีภาวะทุพโภชนาการ โดยการซักประวัติชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงวัดรอบศีรษะและประเมินระดับ Hct. เป้าหมาย 100 คน - ค่าอาหารว่างเด็กที่มาคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ จำนวน 100 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน3,000.-บาท - ค่าจ้างเหมาทำป้ายประชาสัมพันธ์ขนาด 1 x 2 ตารางเมตรๆละ 250 บาทเป็นเงิน 500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 เมษายน 2567 ถึง 24 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ได้รับคัดกรองและประเมินภาวะโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3500.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กก่อนวัยเรียน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กก่อนวัยเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แก่มารดา/ผู้ดูแลเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และแกนนำ เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด และเด็กก่อนวัยเรียน และผลกระทบระยะยาวจากภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ 1 มื้อๆละ ไม่เกิน 60 บาทเป็นเงิน 3,000.- บาท
- ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน ๆ ละ 2 มื้อๆละ ไม่เกิน 30 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท - ค่าตอบแทนการบรรยาย จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชม.ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 พฤษภาคม 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มารดา/ผู้ดูแลเด็ก หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และอสม.มีความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กก่อนวัยเรียน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 3 ส่งเสริมให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม 90 วัน 90 กล่อง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม 90 วัน 90 กล่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดหาอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสม แก่ หญิงตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตร(นมแม่)และเด็กที่มีอายุ 0-2 ปี ที่เข้าร่วมโครงการ เป้าหมาย50 คน คือ เด็กอายุ1 - 2 ปี จำนวน 40 คน , หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 5คนและหญิงให้นมบุตร จำนวน 5 คน 2.ประสานศูนย์เด็กเล็กดูแลให้เด็กอายุ 2-5 ปี ได้รับอาหารตามหลักโภชนาการ - ค่านมกล่องสำหรับเด็กอายุ 1 – 2 ปี จำนวน 40 คนๆละ 90 กล่องๆละ 7 บาท (คละรสตามความต้องการของเด็ก)เป็นเงิน 25,200.- บาท
- ค่านม(ผสมธาตุเหล็ก) สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร จำนวน 10 คนๆละ 90 กระป๋องๆละ 14 บาท เป็นเงิน 12,600.- บาท - ค่าไข่ จำนวน 40 คนๆละ 90 ฟอง ๆละ 4 บาทเป็นเงิน14,400.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการมีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์ปกติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52200.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามและประเมินภาวะโภชนาการ เดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือน โดยจนท.สาธารณสุขหรือแกนนำฯ
2.กรณีตรวจพบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการ จนท.สาธารณสุขให้การดูแลและวางแผนการดูแลร่วมกับครอบครัว บูรณาการร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้องให้การดูแลตามสิทธิ 3.คืนข้อมูลภาวะสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี ให้เครือข่าย ประกอบด้วย องค์กรปกครองท้องถิ่น,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ,กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน,อสม. เพื่อเป็นกระบอกเสียง สร้างกระแสสังคม ให้แก่ชุมชน ร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพเด็ก อายุ 0-5 ปี ต่อไป 1.ติดตามชั่งน้ำหนักเด็ก วัดส่วนสูง รอบศีรษะ
2.ติดตามและประเมินการรับประทานอาหารเสริมที่สนับสนุน 3.ประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอายุ 0-5 ปี,หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มอสม./แกนนำฯติดตามเด็ก จำนวน 10 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื่อ เดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือนเป็นเงิน 900.- บาท
-ค่าอาหารกลางวันอสม./แกนนำฯติดตามเด็ก จำนวน 10 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เดือนละ 1 ครั้งเป็นเวลา 3 เดือนเป็นเงิน 1,800.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0 - 5 ปี ที่พบภาวะทุพโภชนาการได้รับการแก้ไข ติดตาม  และให้การช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามสิทธิ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 66,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-เด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
-เพิ่มปีสุขภาวะให้เด็ก


>