กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนร่วมใจป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา

พื้นที่รับผิดชอบตำบลยะหา หมู่ที่ 1 2 3 6 เเละ9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้งรัง ) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคถุงลมโปร่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก จาการร

 

70.00

กลุ่มโรค NCDs (Noncommunicable diseases หรือโรคไม่ติดต่อเรื้งรัง ) เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนิน เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงโรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคถุงลมโปร่งพอง และโรคมะเร็ง ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของโลก จาการรายงานข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ( WHO )พบประชาการทั่วโลกเสียชีวิตจากโรค NCDs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 38 ล้านคน (คิดเป็นร้อยละ 68 ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมดของประชาการโลก ) ปี พ. ศ. 2557- 2561 พบอัตราเสียชีวิตอย่างหยาบอันมีสาเหตุมาจาก โรคไม่ติดต่อที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในประชากรไทย โดยในปี พ. ศ. 2561 โรคไม่ติดต่อ ที่เป็นสาเหตุการตาย 3 อันดับแรก ได้แก่ โรคมะเร็งรวมทุกประเภท รองลงมา คือ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด คิดเป็นอัตราเสียชีวิตเท่ากับ 123.3 47.1 และ 31.8 ต่อประชากรแสนคน (ข้อมูลณ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 : กองโรคไม่ติดต่อ กรมครบคุมโรค )
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง นอกจากเกิดจากปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ส่งเสริมการเกิดโรคแล้ว การมีพฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสม ทั้งด้านอาหาร โดยการรับประทานอาหารเค็ม มัน หวาน ขาดการออกกำลังกาย มีความเครียดสูงเรื้อรัง ดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรีเป็นประจำ นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญก่อให้เกิดโรคดังกล่าว
หากประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ด้านสุขภาพ ตระหนักในการดูแลสุขภาพ เข้ารับการคัดกรองภาวะสุขภาพ รวมทั้งมีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม จะสามารถดุแลตนเอง ครอบครัว และชุมชน ลดโอกาสการเกิดโรคเรื้อรัง
จากสถิติการดำเนินงานที่ผ่านมาประชาชนในพื้นที่ตำบลยะหาอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2564 2565 2566 ร้อยละ 92.87, 92.47 ,92.89 ตามลำดับโดยในปี2566 พบกล่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 297รายคิดเป็นร้อยละ 20.37 กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 89ราย คิดเป็นร้อยละ 6.08 และพบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จำนวน 472รายคิดเป็นร้อยละ27.57 กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานจำนวน 34 คิดเป็นร้อยละ1.99 (ข้อมูลณ 4 ธันวาคม2566:HDCสสจ.)
ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคเริ้อรังกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาสมเด็จพระยุพราชยะหา ทำหน้าที่เป็นหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิบริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรค ฟื้นฟูสภาพและให้บริการ รักษาโรคเบื้องต้นได้ ตระหนักถึงความสำคัญที่จะดูแลสุขภาพแก่ประชาชน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตามหลัก 3อ.2ส.1ฟ. เพื่อประชาชนได้รับความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม มีทักษะในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรค จึงได้จัดทำโครงการชีวิตดีวิถีใหม่ ห่างไกลโรคNCDsจึงได้จัดทำโครงการ ขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.ลดผู้ป่วยโรคความดันโลหิต/โรคเบาหวานรายใหม่

1.กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรม 1 พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ เรื่องรอบรู้ด้านสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 1 พัฒนาศักยภาพเชิงปฏิบัติการ เรื่องรอบรู้ด้านสุขภาพป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม50 คน × 25 บาท × 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าอาหารกลางวัน50 คน × 50 บาท × 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร300 บาท*6ชม. *2คน เป็นเงิน 3,600บาท -แผ่นภาพความรู้คลินิกDPAC 5 อัน × 500 บาทเป็นเงิน2,500 บาท - ค่าป้ายไวนิล1 ป้าย × 3 เมตร เป็นเงิน 800 บาท รวมเป็นเงิน 11,900 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11900.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม 2 ติดตามประเมินภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรังในกลุ่มสมัครใจ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม 2 ติดตามประเมินภาวะเสี่ยงโรคเรื้อรังในกลุ่มสมัครใจ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม20คน × 25 บาท × 1 มื้อ2ครั้งเป็นเงิน 1,000บาท -สนับสนุนเครื่องชั่งน้ำหนัก 350บาท10 เครื่องเป็นเงิน3,500 บาท รวมเป็นเงิน 4,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเอง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตไม่เกินร้อยละ10
2. อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานไม่เกินร้อยละ5


>