กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตโรคลดแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

หมู่ที่ 4,5,7,8 ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

17.19
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

 

13.90
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้

 

68.48
4 ร้อยละผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต

 

33.42
5 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน

 

2.67
6 ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูง

 

7.72

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชาชนป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจและหลอดเลือด ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่อง อาหารการกิน การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือไม่ก็เกิดความพิการทางด้านร่างกาย เช่นอัมพฤกษ์-อัมพาต บั่นทอนคุณภาพชีวิตทั้งผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน
คลินิก NCDของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 390 ราย สามารถ ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 66.58 ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิต ร้อยละ 33.42 เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต ร้อยละ 13.50 ภาวะแทรกซ้อนทางหลอดเลือดสมองจำนวน 3ราย คิดเป็นร้อยละ 0.76 โรคหลอดเลือดหัวใจ 1 รายคิดเป็นร้อยละ 0.25 และมีผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 147 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดร้อยละ 31.52 ไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ร้อยละ 68.48จากผลการตรวจตรวจคัดกรองสุขภาพกลุ่มอายุ 35 ปี ขึ้นไปปี 2566พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน(ค่าระดับน้ำตาล100-125 mg/dl)ร้อยละ17.19กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานร้อยละ 2.67ผู้ป่วยรายใหม่13 รายมีกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง (ค่าความดันโลหิต ตัวบน 130-139 ตัวล่าง 85-89 mm.Hg ร้อยละ 13.90 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงร้อยละ 7.78ผู้ป่วยรายใหม่32ราย จากข้อมูลจำนวนรายใหม่ของความดันโลหิตสูงและเบาหวานมีเพิ่มขึ้นทุกๆปี
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา ดังกล่าว และตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชนในกลุ่มผู้เสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจึงได้จัดทำโครงการ “ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพิชิตโรคลดแทรกซ้อนความดันโลหิตสูงและเบาหวาน”ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับความรู้ และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดการ เกิดผู้ป่วยรายใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยนำหลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 3ส 1น.ตามวิถีชุมชน เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น

17.19 80.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น

13.90 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

ร้อยละ 40  ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

68.48 40.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละ 60  ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี

33.42 60.00
5 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

ร้อยละ 90 ของกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

2.67 90.00
6 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

ร้อยละ90 กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามเพื่อตรวจยืนยัน

7.72 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 100
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 100 คนจัดอบรมเป็น 4 ฐานการเรียนรู้1.

ชื่อกิจกรรม
1.จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเป้าหมายโดยแบ่งการอบรมเป็น 2 รุ่น รุ่นละ 100 คนจัดอบรมเป็น 4 ฐานการเรียนรู้1.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมเป็น 4 ฐานการเรียนรู้
ฐานที่ 1 เรื่องการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามวิถีพุทธ มุสลิม (แพทย์และ พยาบาล)
ฐานที่ 2 เรื่องอาหาร(นักโภชนาการ) ฐานที่ 3 เรื่องการออกกำลังกาย (นักวิชาการสาธารณสุข) ฐานที่ 4 ฐานเรื่องสมุนไพร (แพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก) งบประมาณค่าใช้จ่าย - ค่าอาหารกลางวัน 200 คน x 50 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 10,000บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 200 คน x 25 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 10,000บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 4 คน x 300 บาท x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน3,600 บาท -ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ ขนาด 1x3 เมตรเป็นเงิน 800บาท รวมเป็นเงิน24,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 พฤษภาคม 2567 ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมร้อยละ 100 2.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้และนำไปปฏิบัติ ปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3ส 3อ.1น ระดับดีจากการซักถาม 4.กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพ และจัดการสุขภาพของตนเอง 5. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยรายใหม่ลดลดลงจากปีก่อน 6. กลุ่มป่วยมีการควบคุมระดับความดันและน้ำตาลดีขึ้นจากปีก่อนและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24400.00

กิจกรรมที่ 2 2.ติดตาม กลุ่มเป้าหมายหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3ส 3อ.1น ไป 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
2.ติดตาม กลุ่มเป้าหมายหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3ส 3อ.1น ไป 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรม ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3ส 3อ.1น ไป 1 เดือน โดยอาสาสมัครสาธารณสุข งบประมาณ  ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มิถุนายน 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถติดตามกลุ่มเป้าหมายครบร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อตรวจยืนยัน

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อตรวจยืนยัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงมา รพ.สต.เพื่อตรวจยืนยันผลและทำการวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย งบประมาณ
  • เงินบำรุง
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มีนาคม 2567 ถึง 28 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 5.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มาเพื่อเจาะเลือดส่งตรวจโรงพยาบาลยืนยันผล หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย

ชื่อกิจกรรม
5.ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มาเพื่อเจาะเลือดส่งตรวจโรงพยาบาลยืนยันผล หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวาน มา รพ.สต.เพื่อเจาะเลือดส่งตรวจโรงพยาบาลยืนยันผล หากเกินเกณฑ์ส่งพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัย ใช้งบเงินบำรุง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานได้รับการติดตามร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้และนำไปปฏิบัติ ปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
2 .กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังสุขภาพ และจัดการสุขภาพของตนเอง
3. กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นผู้ป่วยรายใหม่ลดลดลงจากปีก่อน
4. กลุ่มป่วยมีการควบคุมระดับความดันและน้ำตาลดีขึ้นจากปีก่อนและลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน


>