กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการหนูน้อย 0-5 ปีสุขภาพดีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา

นางสาวนูรยะห์ ดอเล๊าะเซ็ง

พื้นที่รับผิดชอบตำบลยะหา หมู่ที่ 1 2 3 6และ9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ช่วงเดือนพฤศจิกายนกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์การระบาดของโรคไอกรนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดเชื้อในผู้ใหญ่จำนวนมาก รวมถึงระบาดในเด็กด้วย ซึ่งมีการรายงานข้อมูลยืนยันว่ามีเด็กอายุ 18 วัน เสียชีวิตจากการติดเชื้อไอกรนแล้ว 1 ราย และอีกรายยังอย

 

60.00

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ช่วงเดือนพฤศจิกายนกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้คาดการณ์การระบาดของโรคไอกรนในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีการติดเชื้อในผู้ใหญ่จำนวนมาก รวมถึงระบาดในเด็กด้วย ซึ่งมีการรายงานข้อมูลยืนยันว่ามีเด็กอายุ 18 วัน เสียชีวิตจากการติดเชื้อไอกรนแล้ว 1 ราย และอีกรายยังอยู่ในระหว่างการยืนยันผล กรณีเด็กที่เสียชีวิตนั้น โดยปกติจะต้องได้รับวัคซีนป้องกันในช่วง 2 เดือน แต่เมื่อคลอดมา 18 วันติดเชื้อ เลยทำให้อาการรุนแรงและเสียชีวิต จากการสอบสวนโรคพบว่ามารดาของเด็กนั้น ไม่เคยรับวัคซีนไอกรนมาก่อน ทำให้ลูกที่คลอดออกมานั้น ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคเลย เมื่อเด็กกลับไปถึงบ้านที่มีผู้ใหญ่ที่ติดเชื้ออยู่ ก็นำเชื้อมาสู่เด็ก”
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีนเป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูง จึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสมสำหรับประเทศ มาบรรจุในโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อให้บริการแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมายาวนานมากว่า 30 ปีแล้ว โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญคือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคให้มากที่สุด ให้ครอบคลุม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสูงที่สุด ประชากรกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน จัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการ วัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงและต้องมีความปลอดภัย และให้บริการโดยไม่คิดมูลค่าแม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากล้ำกรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายการรับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิต้านทานเป็นวิธีที่ง่ายดายปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันเด็กจากโรคบางอย่างความเสี่ยงจากโรคเหล่านั้น
“ส่วนเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาที่มีการระบาดของโควิด-19 ที่ต้องเร่งฉีดวัคซีนป้องกันให้มากและเร็วนั้น ก็ส่งผลให้วัคซีนตัวอื่นๆ ถูกชะลอไป เช่นไวรัสอาร์เอสวี ไข้หวัดใหญ่ ไอกรน และหัดหัดเยอรมัน ส่วนก่อนหน้าที่จะมีโควิด-19 นั้น อุบัติการณ์เกิดโรคหัดหัดเยอรมัน ตัวเลขจะต้องไม่เยอะแล้วเพราะไทยเข้าร่วมโครงการกวาดล้างหัดหัดเยอรมัน ตอนนี้ควรจะไม่มีผู้ป่วยซักรายในไทยแล้ว แต่ตอนนี้ยังมีการรายงานอยู่ทุกๆ สัปดาห์ เราจึงคาดการณ์ไว้ว่าช่วง ธ.ค. - ม.ค.2567 นี้ จะระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ”
จากการวิเคราะห์งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเขตรับผิดชอบของศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา ยังมีความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนต่ำกว่าเกณฑ์ โดยมีกลุ่มบ่ายเบี่ยงวัคซีนจำนวน 70 ราย สามารถวิเคราะห์สาเหตุที่เด็กได้นับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ เนื่องจากผู้ปกครองขาดความตระหนัก ไม่เห็นความสำคัญของการได้รับวัคซีน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองยะหา ได้เล็งเห็นปัญหา จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องรณรงค์ให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีในพื้นที่ต้องได้รับการติดตามอย่างเคร่งครัด โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่เพื่อดำเนินการต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0 - 5 ปี มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

60.00 0.00
2 2.เพื่อเพิ่มอัตราความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก อายุ 0-5 ปี
  1. ความครอบคลุมของเด็กอายุครบ 1,2,3,5 ปีที่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 70
60.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมจัดอบรมให้ความรู้และคืนข้อมูลให้ชุมชน และถอดบทเรียน ค้นหาปัญหา และแนวทางร่วมกันเพื่อวางแผนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติการ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมอบรมจัดอบรมให้ความรู้และคืนข้อมูลให้ชุมชน และถอดบทเรียน ค้นหาปัญหา และแนวทางร่วมกันเพื่อวางแผนในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงปฏิบัติการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน4,000 บาท (3) ค่าป้ายไวนิลรณรงค์โครงการ 1 ผื่นๆละ 800 บาท× 5 หมู่บ้าน เป็นเงิน 4,000 บาท (4) ค่าจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ ความรู้เรื่องวัคซีนแผ่นละ 10 บาท× 200 คน เป็นเงิน2,000 บาท (5) ค่าวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องวัคซีน 6 ชั่วโมงๆ300 บาทเป็นเงิน1,800 บาท (6) ค่าเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรม เช่น กระดาษออกแบบ/ปากกาเคมี/แฟ้ม/ปากกา/สมุด ฯลฯ เป็นเงิน 2,000 บาท เป็นเงิน 17,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.. ผู้ปกครองของเด็กอายุ 0-5 ปี มีความรู้ที่ถูกต้องและตระหนักถึงความสำคัญของการรับวัคซีนตามนัด มีการพัฒนาระบบบริการเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2.. เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. องค์กรในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชนผู้นำศาสนา มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนเด็ก 0-5 ปี
2.. เด็กที่ไม่ยอมรับวัคซีนได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20


>