กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพตำบลยะหา ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

ชมรมรักสุขภาพตำบลยะหา

1…นางรอคายะ.....แก้วเกาะสบ้า………………………
2…นางฮาบีเบาะ……มะมิง……………………………….
3…นางรอมมือละห์……จินตรา…………………………
4…นางแวนะ……ซือรี………………………………………
5…นางคอรีเยาะ…แดวอสนุง……………………………

พื้นที่ตำบลยะหา ม.1,2,3,6และ9

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆ

 

100.00

การดูแลสุขภาพแบบพื้นบ้านดั้งเดิมที่อยู่คู่กับประเทศไทยมานาน ซึ่งมีความหลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม กลุ่มชาติพันธุ์ และรูปแบบการรักษามีทั้งการใช้ยาสมุนไพร การนวด การผดุงครรภ์ตลอดจนการรักษาทางจิตใจโดยใช้พิธีกรรมหรือคาถาต่างๆซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการทางด้านการรักษาสุขภาพ และความเจ็บป่วยของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่จากการพัฒนาในทุกด้านที่ยึดการพัฒนาตามระบบทุนนิยม ทำให้ชุมชนมีค่านิยมตามแนวทางของตะวันตกเป็นหลัก โดยเฉพาะด้านการจัดการสุขภาพที่เน้นการพึ่งพิงจากภายนอกเป็นส่วนใหญ่ สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ภูมิปัญญาและองค์ความรู้การดูแลสุขภาพเดิมที่มีอยู่ในชุมชนไม่ได้รับการพัฒนาและถูกทอดทิ้งจากคนรุ่นใหม่ ขาดการสืบทอดและผู้รู้ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุซึ่งนับวันจะมีจำนวนลดลง ทำให้ชุมชนรับประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ทั้ง ๆ ที่ความรู้เหล่านี้สามารถช่วยดูแลรักษาความเจ็บป่วยให้กับชาวบ้านได้อีกทั้งองค์ความรู้ทางการแพทย์พื้นบ้านไทย ทั้งที่เป็นตัวหมอพื้นบ้าน ตำรา พันธุ์พืชที่ใช้เป็นยา สมุนไพร วิธีการการรักษาโรค ตลอดจนสังคมวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ฯลฯมีความสำคัญและเป็นสิ่งล้ำค่าที่ควรจะเก็บรวบรวม อนุรักษ์ ฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านไทยให้อยู่คู่กับประเทศไทย เพื่อเป็นมรดกต่อลูกหลานในการสืบทอดองค์ความรู้ ชมรมรักสุขภาพตำบลยะหาได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวเพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม ได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน จึงจัดทำโครงการผลิตสมุนไพรเพื่อสุขภาพตำบลยะหา ปี 2567 ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
  1. มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เองและสามารถจำหน่ายในชุมชน
100.00 1.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เข้าใจและมีความพึ่งพอใจในการบริการแพทย์แผนไทย.

ร้อยละ 90 มีความรู้เข้าใจและมีความพึ่งพอใจในการบริการแพทย์แผนไทย.

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 13/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ /สาธิตวิธีการทำ- สมุนไพรแช่เท้า- ลูกประคบ

ชื่อกิจกรรม
1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ /สาธิตวิธีการทำ- สมุนไพรแช่เท้า- ลูกประคบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

(1)ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท (2) ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 1 มื้อๆละ 50บาทเป็นเงิน5,000 บาท (3) ค่าวัสดุ (สมุด ปากกา กระดาษ ปากกา ปากกาเคมี แฟ้มเอกสาร ) 54 ชุด× 40บาทเป็นเงิน 2,160 บาท (4) ค่าป้ายไวนิล 1 ป้าย × 3 เมตร เป็นเงิน 800 บาท (4) ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน ×300 บาท×6 ชม. เป็นเงิน1,800 บาท (5) ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ในการจัดทำสวนสมุนไพรเป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงิน 20,760 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เอง และจำหน่ายในชุมชนได้
2. ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20760.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนสามารถดูแลตนเองและครอบครัวด้วยสมุนไพรเมื่อเจ็บป่วยได้ถูกต้องและปลอดภัย
2.ประชาชนสามารถผลิต ผลิตภัณฑ์สมุนไพรใช้เอง และจำหน่ายในชุมชนได้
3. ประชาชนมีความรู้เข้าใจและมีความพึ่งพอใจในการบริการแพทย์แผนไทย.


>