กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลศรีบรรพต

-

หมู่ที่ 6,7,9 ตำบลเขาย่า อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน

โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก 1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งเต้านม 4.มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 5.มะเร็งปากมดลูก จากข้อมูล 5 ปีย้อนหลังของกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต ร้อยละการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ในปี 2563-2566 คิดเป็นร้อยละ 91.82, 83.72, 83.72 และ 88.54 ตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในปี 2563-2566 คิดเป็นร้อยละ 32.93, 41.64, 58.71 และ 59.22 ตามลำดับ การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ในปี 2563-2565 คิดเป็นร้อยละ 98.00, 100 และ 100 ตามลำดับ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวพบว่าการตรวจคัดกรองมะเร็งยังไม่ผ่านเกณฑ์เป้าหมาย ปัญหาที่ผ่านมาพบว่าประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต คือ 1.ไม่อยากตรวจกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ มีความอับอาย 2.ขาดความใส่ใจและตระหนักในสุขภาพของตนเอง 3. ภาระการทำงาน ไม่มีเวลา 4.กลัวเจ็บ 5.กลัวผลการวินิจฉัยและยอมรับไม่ได้ถ้าผลตรวจเป็นมะเร็ง ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือการตรวจคัดกรองที่สามารถตรวจได้ด้วยตนเอง จึงรณรงค์ให้มีการตรวจคัดกรองให้ครอบคลุมมากขึ้น กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลศรีบรรพต เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกับ อสม.ในพื้นที่รับผิดชอบ จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง เพื่อให้ประชากรกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองค้นหาความเสี่ยงโรคมะเร็งในพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนผู้ป่วย ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ให้ได้รับการรักษาที่รวดเร็วเหมาะสม รวมไปถึงการติดตามผู้ป่วยรายใหม่ระยะเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ต่อเนื่องเพื่อลดอัตราตายในระยะยาว

150.00

จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คน โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรก 1.มะเร็งตับและท่อน้ำดี 2.มะเร็งปอด 3.มะเร็งเต้านม 4.มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง 5.มะเร็งปากมดลูก โรงพยาบาลศรีบรรพต ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคมะเร็ง จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็ง ปีงบประมาณ 2567 เพื่อดูแล คัดกรอง และเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรก

สตรี อายุ 30 -70 ปี ตรวจเต้านมด้วยตนเองถูกต้อง ร้อยละ 80 สตรี อายุ 30- 70 ปี ได้รับการตรวจเต้านมโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร้อยละ 80 สตรี อายุ 30- 60 ปี ได้รับคัดกรองการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองและเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20 ประชากรที่มีอายุ 50- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 50

75.00 75.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 75
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/07/2024

กำหนดเสร็จ 20/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองประชากรที่มีกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็ง ในหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ,7 ,9 ตำบลเขาย่า

ชื่อกิจกรรม
จัดรณรงค์ตรวจคัดกรองประชากรที่มีกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็ง ในหมู่บ้านหมู่ที่ 6 ,7 ,9 ตำบลเขาย่า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ประชุมเครือข่าย เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางโครงการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ เชิญประชากรกลุ่มเสี่ยงเข้าร่วมโครงการ โดยชี้แจงการดำเนินงานในการประชุมของหมู่บ้าน และ อสม.
3. แจ้งกลุ่มเป้าหมายผ่านทาง อสม. นัดวัน เวลาและสถานที่ 4. ออกให้บริการเชิงรุกตามแผนการดำเนินงานแต่ละหมู่บ้าน 5.เจ้าหน้าที่ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง 6. ตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมาย และส่งตรวจ HPV DNA test แบบตรวจด้วยตนเองให้กับโรงพยาบาลควนขนุน 7. ตรวจมะเร็งลำไส้ในกลุ่มเป้าหมายอายุ 50-70 ปี โดยเจ้าหน้าที่ ถ้าผลผิดปกติส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง 8.ตรวจมะเร็งเต้านมในกลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-70 ปี ถ้าพบผิดปกติส่งต่อโรงพยาบาลพัทลุง 9. ติดตามผลการตรวจวินิจฉัย 10. แจ้งผลการตรวจให้กับกลุ่มเป้าหมายทราบ 11. ส่งต่อพบแพทย์ในรายที่ต้องรักษาต่อเนื่อง

งบประมาณ 1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท จำนวน 75 คน เป็นเงิน 5,250 บาท 2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม มื้อละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ จำนวน 75 คน เป็นเงิน 3,750 บาท 3.ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆ ละ 70 บาท สำหรับเจ้าหน้าที่่ที่ออกตรวจมะเร็ง จำนวน 3 คน เป็นเงิน 210 บาท 4.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 25 บาท สำหรับเจ้าหน้าที่ออกตรวจมะเร็ง จำนวน 3 คน เป็นเงิน 150 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
13 พฤษภาคม 2567 ถึง 20 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนประชากรกลุ่มเสี่ยงที่เข้ารับการตรวจมะเร็ง จำนวน 75 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 9,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.สตรีอายุ 30-70 ปี สามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80
2.สตรีอายุ 30- 60 ปี ได้รับคัดกรองการตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองและเจ้าหน้าที่ ร้อยละ 20
3.ประชากรที่มีอายุ 50- 70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 50
4.ผู้ที่พบผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้อง


>