กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กอายุ 0-5 ปี ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะหา

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ

หมู่ที่ 4 , 5 , 7, 8 ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

 

6.79
2 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

 

7.00
3 เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปีพบเด็กที่มีภาวะซีด

 

23.69
4 ร้อยละ ของเด็ก อายุ 0-5 ปี พัฒนาการสมวัย

 

90.00
5 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี มีรูปร่างสมส่วน

 

65.00

มนุษย์เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่ง การพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระยะแรกเกิด เด็กเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญ ทั้งนี้เพราะเด็กในวัยก่อนเรียนเป็นระยะที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านร่างกาย และสติปัญญา ประกอบกับการมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการกำหนดพฤติกรรม และความสามารถในการปรับตัวต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ภาวะโภชนาการของเด็กในวัยนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากการมีภาวะโภชนาการที่ดีส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและสติปัญญาของเด็ก
จากข้อมูลงานการเฝ้าระวังทางโภชนาการเด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านลากอ ไตรมาสที่ 1,2,3 และ 4 ปีงบประมาณ 2566 (ข้อมูลจาก HDC ) เด็กอายุ แรกเกิด - 5 ปี จำนวน 477 คน ดำเนินการชั่งน้ำหนักจำนวน 471 คน คิดเป็นร้อยละ 98.74 พบว่า เด็กมีภาวะทุพโภชนาการเด็กที่เตี้ย ข้อมูลตามไตรมาสที่ 1,2,3 และ 4 ปีงบประมาณ 2566จำนวน 25,30,39 และ 32 คน คิดเป็นร้อยละ 5.30,6.36,8.28 และ 6.79 เด็กที่ผอม จำนวน 25,26,35 และ 33 คน คิดเป็นร้อยละ 5.30,5.52,7.43และ 7.00กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป้าหมายให้เด็กวัยก่อนเรียน (แรกเกิด - 5 ปี) เด็กมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนร้อยละ 65 เด็กที่เตี้ยต้องไม่เกินร้อยละ 10เด็กที่ผอมต้องไม่เกินร้อยละ 4และจากการคัดกรองภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี จำนวน 390 คน พบเด็กที่มีภาวะซีด 154 คน คิดเป็นร้อยละ 23.69 จากการทำเวทีประชาคมประเด็นที่เกี่ยวข้องที่เป็นสาเหตุต่อการพัฒนางานโภชนาการและพัฒนาการเด็ก สาเหตุมาจากหลายๆปัจจัยคือ การเลี้ยงดูของผู้ปกครองและพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการขาดความรู้ความตระหนักถึงการให้อาหารเสริมตามวัยและขาดการสังเกตพัฒนาการของลูก ครอบครัวมีฐานะยากจน มารดามีภาวะซีดขณะตั้งครรภ์ก็ส่งผลให้เด็กมีภาวะซีดตามมาซึ่งส่งผลกับการสร้างเซลล์สมองของเด็กมีผลต่อ EQ.และ IQ.ของเด็ก ตามมา
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหา ทั้งนี้จึงมีการจัดอบรมให้ความรู้อาสาสมัครประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นแกนนำด้านสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจในการให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครอง และผู้ปกครองมีความรู้ความตระหนักในการดูแลบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้เด็กได้รับการปลูกฝังพฤติกรรม สุขภาพ ทั้งด้านการดูแล สุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมโภชนาการและการเจริญเติบโตในเด็กอายุ 0 - 5 ปีปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด 0– 5 ปี มีการเจริญเติบโตภาวะโภชนาการมีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น

เด็กอายุ แรกเกิด 0 – 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95

0.00 60.00
2 2. เพื่อให้เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85

เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี มีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65

65.00 1.00
3 3. เพื่อส่งเสริมเพิ่มศักยภาพและทักษะแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถให้ความรู้คำแนะนำและสามรถส่งต่อเด็กเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้

ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพและทักษะแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถให้ความรู้คำแนะนำและสามรถส่งต่อเด็กเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้

1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 60
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) 68

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต (ชั้งน้ำหนักวัดส่วนสูง ทุก 3 เดือนครั้ง)

ชื่อกิจกรรม
การเฝ้าระวังติดตามการเจริญเติบโต (ชั้งน้ำหนักวัดส่วนสูง ทุก 3 เดือนครั้ง)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุก 3 เดือน คือ ตุลาคม มกราคม เมษายน และกรกฎาคม พร้อมกับประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก 2.นำข้อมูลบันทึกลงในโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด – 5 ปี และหรือสมุดบันทึกสุขภาพเด็ก (สมุดสีชมพู) 3.นำข้อมูลจากโปรแกรมเฝ้าระวังการเจริญเติบโต แจ้งผลประเมินภาวะการเจริญเติบโตและแนวโน้มการเพิ่มน้ำหนักส่วนสูง และให้คำแนะนำแก่พ่อแม่/ผู้ปกครองในการดูแลด้านโภชนาการและการเล่น

งบประมาณ - ค่าวัดส่วนสูงเด็กแบบพกพา จำนวน 8 เครื่องๆละ 500 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท หมู่ที่ 4 บ้านลากอจำนวน 2 อัน หมู่ที่ 5 บ้านบาโด จำนวน 2 อัน หมู่ที่ 7 สะปาเราะ จำนวน 2 อัน
หมู่ที่ 8 เจาะกลาดี จำนวน 2 อัน

รวมเป็นเงิน 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กอายุ 0-5 ปี ได้รับการชั่งน้ำหนัก ร้อย 95

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมแกนนำด้านสุขภาพในพื้นที (อสม.)

ชื่อกิจกรรม
อบรมแกนนำด้านสุขภาพในพื้นที (อสม.)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม อบรมแกนนำด้านสุขภาพในพื้นที (อสม.) วิธีการชั้งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง ประเมินภาวะทุพโภชนาการเด็กและการลงกราฟในสมุดสีชมพู

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท68 คน2 มือเป็นเงิน3,400บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท68 คน1 มือ เป็นเงิน3,400บาท เป็นเงิน 6,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อย 100 ของ แกนนำด้านสุขภาพได้รับการอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้ พร้อมสาธิตเมนูอาหาร สำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ พร้อมสาธิตเมนูอาหาร สำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม 1.ให้ความรู้ผู้ปกครอง ภาวะโภชนาการเด็ก/และพัฒนาการ 2.สาธิตเมนูอาหาร ค่าสาธิตเมนูอาหาร สำหรับผู้ปกครองเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการเป็นเงิน2,000บาท (เมนูนัทเก็ดผักพื้นบ้าน และ ข้าวยำทอดผัก)

งบประมาณ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท60 คน2 มือ เป็นเงิน3,000บาท - ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท60 คน1 มือ เป็นเงิน3,000บาท - ค่าวิทยากร 6 ชม.ๆ 300 บาทเป็นเงิน1,800บาท - ค่าป้ายไวนิล ชื่อโครงการจำนวน 1 ผืนๆละ 800 บาท เป็นเงิน 800 บาท

รวมเป็นทั้งสิ้น 10,600บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครอง ผ่านการอบรมให้ความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10600.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการให้อาหารเสริม (นม) และภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการให้อาหารเสริม (นม) และภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แจกอาหารเสริม พร้อมชั้งน้ำหนัก/วัดส่วนสูง 2 สัปดาห์ครั้ง - ค่าอาหารเสริมที่มีโปรตีนและพลังงานสูงแก่เด็กขาดสารอาหาร (นม)
จำนวน 60 คนๆละ 325 บาท (คนละ 36 กล่อง)เป็นเงิน 19,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ภาวะทุพโภชนาการดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี ได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
2. เด็กอายุ แรกเกิด – 5 ปี มีส่วนสูงระดับดีรูปร่างสมส่วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 65
3. ภาวะซีดในเด็กอายุ 6 เดือน – 1 ปี มีปริมาณลดลง
4. ส่งเสริมเพิ่มศักยภาพและทักษะแกนนำสุขภาพในการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการและพัฒนาการเด็กตามวัย และสามารถให้ความรู้คำแนะนำและสามรถส่งต่อเด็กเพื่อรับการรักษายังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้


>