กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกพื้นที่ตำบลบองอ กรณีระบาด ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

SRRT ตำบลบองอ

ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก และยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา โรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือน มีนาคม - กันยายน ของทุกปี ในเขตตำบลบองอ ในช่วงเดือนมกราคม - มิถุายน ที่ผ่านมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกแล้ว 32 ราย จึงจำเป็นต้องมีมาตรการการป้องกันการระบาดให้เข้มข้นมากขึ้นและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิษฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุนชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน เทศบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1. ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยนเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อยปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่างๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝนต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น SRRT ตำบลบองอได้ตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขภาพประชาชนจึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ขึ้นออกปฏิบัติหน้าที่ในการพ่นเคมีกำจัดยุงลายร่วมกับชุมชนและแจกเอกสารความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกให้กับประชาชนในเขตตำบลบองอ ครอบคลุม ทุกครัวเรือน เพื่อกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหนะนำโรคไข้เลือดออกและเพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

 

0.00
2 2. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

 

0.00
3 3. เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

0.00
4 4. เพื่อให้เกิดความร่วมมืออันดีระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับชุมชน

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 2.ประชุมชี้แจง แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 3.จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์พร้อมประสานงานกับ อสม.คณะกรรมการชุมชนเพื่อร่วมดำเนินการ ดำเนินงานตามตารางการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย -กิจกรรมพ่นหมอกควัน -กิจกรรมประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก -กิจกรรมคว่ำกะลา (บูรณาการร่วมกับรพสต.ในพื้นที่) -แจกแผ่นพับประชาสัมพันธ์ -กิจกรรมแจกทรายอะเบท -กิจกรรมรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย 4.สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภัยอันตรายที่มาจากยุงและการกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมประชาสัมพันธ์ภัยอันตรายที่มาจากยุงและการกำจัดยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรค เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 12 ป้ายๆละ 500 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 3 3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยวิธีพ่นหมอกควันเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

ชื่อกิจกรรม
3.กิจกรรมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยวิธีพ่นหมอกควันเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าผลิตภัณฑ์ป้องกันและกำจัดยุง เดลมีไซด์ จำนวน 10 ลิตรๆละ 1,700 บาทเป็นเงิน 17,000 บาท -ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 100 ลิตร ๆ 40 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท -ค่าจ้างเหมาพ่นหมอกควัน 10 หมู่ๆ 1,500 บาทเป็นเงิน 15,000 บาท -ทรายอะเบท จำนวน 1 ถัง เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าสเปรย์กำจัดยุง จำนวน 20 กระป๋องๆละ 87 บาท เป็นเงิน 1,740 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
42740.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 48,740.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดการระบาดของโรคไข้เลือดออก
2. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. ประชาชน รพสต. และอบต.สามารถบูรณาการร่วมกันได้เป็นอย่างดีในการป้องกันแก้ไขปัญหายุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก


>