กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ประจำปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม

ตำบลสะกอมอ.จะนะ จ. สงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การส่งเสริมสุขภาพเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ มารดาต้องมีความพร้อมและมีสุขภาพที่สมบูรณ์ แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ อย่างไรก็ตามแม้จะดูแลได้ด้วยตนเอง ภาครัฐก็ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชน รู้จักการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการรักษา โดยเฉพาะการดูแลตั้งแต่การตั้งครรภ์ของมารดา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพที่ดี ทั้งของมารดาและบุตร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องรณรงค์ ส่งเสริม ให้หญิงตั้งครรภ์ ได้รับทราบถึงการดูแลสุขภาพ ขณะตั้งครรภ์เพื่อให้มีการคลอดที่ปลอดภัยทั้งมารดาและบุตร ในปัจจุบัน ในเขตพื้นที่ตำบลสะกอม ยังมีประชาชนที่มีอคติและยังไม่มีความเข้าใจในผลดี ของการฝากครรภ์ ไม่รับประทานยาบำรุงขณะตั้งครรภ์ ทำให้ซีดระหว่างตั้งครรภ์ ไม่มาฝากครรภ์ตามนัด การส่งเสริมความรู้เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จากผลงานอนามัยแม่และเด็กปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 100 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 8 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 52.17 หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 87.10 ทารกคลอดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 8.33 ซีดระหว่างตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.43 หากหญิงตั้งครรภ์ไม่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง อาจส่งผลต่อการเกิดและการคลอด ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ได้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตและครอบครัว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพอนามัยแม่และเด็ก เพื่อให้ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์เชิงรุกเพื่อลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ปี 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และกระตุ้นให้ไปฝากครรภ์เร็วที่สุด (ท้องปุ๊ป ฝากปั้ป)

หญิงตั้งครรภ์รายใหม่ฝากครรภ์เร็วที่สุด

77.00 86.00
2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองขณะตั้งครรภ์

หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้รับความรู้ในการดูแลสุขภาพหลังตั้งครรภ์

50.00 100.00
3 3.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดได้รับการเฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยง

87.10 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 70
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การค้นหา เยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตาม

ชื่อกิจกรรม
การค้นหา เยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตาม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าเอกสารคู่มือการค้นหา เยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตาม หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 70 ชุด ๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน560 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ได้รับการค้นหา เยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามทุกราย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
560.00

กิจกรรมที่ 2 โรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 35 คน

ชื่อกิจกรรม
โรงเรียนพ่อแม่ เพื่อให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัว เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์และการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวน 2 รุ่น ๆ ละ 35 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารกลางวันและน้ำดื่ม จำนวน 70 คน ๆ ละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,200บาท

2.ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน2มื้อๆละ70ชุดๆละ30บาท เป็นเงิน4,200 บาท

3.ค่าเอกสารคู่มือประกอบการอบรมจำนวน 70 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

4.ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท

5.กระเป๋าผ้าบรรจุเอกสาร70 ใบ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,750 บาท

6.อุปกรณ์เครื่องเขียน 70 ชุด ๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงตั้งครรภ์และสมาชิกในครอบครัวที่เข้ารับการอบรมสามารถดูแลสุขภาพ หญิงตั้งครรภ์และบุตรได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14100.00

กิจกรรมที่ 3 การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงหลังคลอด 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงหลังคลอด 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเยี่ยมดูแล เฝ้าระวังและติดตามภาวะเสี่ยงหลังคลอด 3 ครั้ง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,660.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 100

2. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองขณะตั้งครรภ์ ร้อยละ 100

3.หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 8 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 100

4.หญิงหลังคลอดได้รับการดูแลครบ 3 ครั้งตามเกณฑ์ ร้อยละ 100


>