กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัยใสห่างไกลเหาด้วยสมุนไพรไทยประจำปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกอม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม

โรงเรียนทุกแห่งตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนนักเรียนในพื้นที่ตำบลสะกอมมีเหา

 

80.00

การดูแลความสะอาดของร่างกายในเด็กวัยเรียนเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสะอาดบริเวณศีรษะทั้งนี้เหาเป็นแมลงขนาดเล็กไม่มีปีก เป็นตัวเบียดเบียนกัดหนังศีรษะ และดูดเลือดเป็นอาหารโดยอาศัยบนศีรษะที่ไม่สะอาด เหามักจะระบาดและแพร่กระจายในกลุ่มนักเรียนก่อนประถมและประถมศึกษา ซึ่งอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 4-14 ปี เหาเป็นโรคที่ก่อให้เกิดความรำคาญทำให้ขาดสมาธิในการเรียนและเป็นที่น่ารังเกียจของสังคมรวมทั้งก่อให้เกิดภาวะโลหิตจางได้ด้วย โดยมากนักเรียนที่เป็นเหามักเป็นผู้ที่มีสุขวิทยาส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง ประกอบกับมีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ฝืดเคือง เหาเป็นโรคที่รักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาความสะอาดของศีรษะอย่างสม่ำเสมอแต่เนื่องจากเหาสามารถติดต่อกันได้ง่าย ทั้งระหว่างนักเรียนด้วยกันและนักเรียนกับบุคคลในครอบครัว การแก้ปัญหาเพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคเหาในโรงเรียน คือต้องกำจัดเหาและปฏิบัติตนเองอย่างถูกต้องจริงจังเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะ จากผลการดำเนินงานตรวจสุขภาพนักเรียนในปี 2566 พบว่านักเรียนเป็นเหา 287 คนคิดเป็นร้อยละ 89.96 ของนักเรียนหญิงทั้งหมดในโรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม จึงเห็นความสำคัญที่ต้องกำจัดเหาในโรงเรียน และให้สุขศึกษาแก่นักเรียนเพื่อสุขภาอนามัยที่แข็งแรง จึงได้จัดทำโครงการกำจัดเหาในโรงเรียนโดยการใช้สมุนไพรไทยขึ้น เพื่อรณรงค์กำจัดโรคเหาในนักเรียน โดยมุ่งหวังให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายเห็นความสำคัญของการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและศีรษะ ที่จะช่วยป้องกันโรคเหาและลดการแพร่ระบาดของโรคเหาต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายได้

นักเรียนมีความรู้ และสามารถดูแลตนและรักษาความสะอาดของตนเองได้

60.00 80.00
2 เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่

มีภูมิปัญญาท้องถิ่นมาจัดการเรื่องสุขภาพ

50.00 70.00
3 เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

80.00 90.00
4 เพื่อลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน ไม่ก่อให้เกิดการระคายระเคืองหนังศีรษะในเด็กที่เป็นเหา

นักเรียนไม่มีการใช้ยากำจัดเหา

50.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 80
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เก็บข้อมูลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากการตรวจสุขภาพนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
เก็บข้อมูลเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากการตรวจสุขภาพนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตรวจสุขภาพนักเรียน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ข้อมูลนักเรียนที่เป็นโรคเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำยากำจัดเหา

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำน้ำยากำจัดเหา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ใบน้อยหน่า 0.5 กิโลกรัม ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 250 บาท

2.ยาเส้น 150 กรัม ๆ ละ 4 บาท เป็นเงิน 600 บาท

3.น้ำมันพืช 5 ลิตร ๆ 55 บาท เป็นเงิน 275 บาท

4.มะกรูด 2 กิโลกรัม ๆละ 80 บาท เป็นเงิน 160 บาท

5.ขวดพลาสติกบรรจุ จำนวน100 ใบๆละ5.20บาทเป็นเงิน 520 บาท

6.ผ้าขาวบาง ขนาด 50*50 ซม. 1 ผืน เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้วัสดุอุปกรณ์ในการทำน้ำยากำจัดเหา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1905.00

กิจกรรมที่ 3 ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ที่อยู่อาศัยและการใช้ของใช้แยกกัน

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้และคำแนะนำแก่นักเรียนในการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ที่อยู่อาศัยและการใช้ของใช้แยกกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าถ่ายเอกสารแผ่นพับความรู้ แผ่นละ 2 บาท จำนวน 80 แผ่น เป็นเงิน 160 บาท

2.ค้าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการขนาด 1.2*2.4 เมตร เป็นเงิน 450 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนได้ความรู้การดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย ที่อยู่อาศัยและการใช้ของใช้แยกกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
610.00

กิจกรรมที่ 4 สาธิตการทำน้ำยากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม

ชื่อกิจกรรม
สาธิตการทำน้ำยากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

2.หมวกคลุมผมขนาด 15*30 นิ้ว จำนวน 1 แพ็ค ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 100 บาท

3.ผ้าเช็ดผม จำนวน 80 ผืนๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท

4.ยาสระผม 450 มล.2 ขวดๆละ 199 บาทเป็นเงิน 398 บาท

5.หวีสร่างเหา 80 อันๆละ 10 บาท เป็นเงิน 800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีน้ายากำจัดเหาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น พร้อมกำจัดเหาให้แก่นักเรียนที่เข้าร่วมอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5298.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 1 เดือน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและสรุปผลการดำเนินงาน 1 เดือน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ตรวจเหา เดือนละ 2 ครั้ง และกำจัดเหาซ้ำในรายที่ยังเป็นอยู่

2.เยี่ยมบ้านนักเรียนที่เป็นเหา แนะนำผู้ปกครองให้ช่วยสังเกตและมีส่วนร่วมในการดูแลความสะอาดร่างกาย ให้หายจากเหา

3.แนะนำคุณครูประจำชั้นให้ดูแล ติดตามพฤติกรรมนักเรียน จนกระทั่งปลอดเหา

4.สรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ไม่มีการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

2.นักเรียนเป็นเหาลดลง ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,813.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีความรู้ สามารถดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายตนเอง

2.ลดการเกิดเหาในนักเรียนรายใหม่

3.สามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาปรับปรุงใช้ให้เกิดประโยชน์


>