2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในของร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์และตา ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกาย ได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ตำบลสะกอม เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการปลูกแตงโม ฟักทอง และปลูกพืชผักตลอดทั้งปี ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในตำบลสะกอม ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้จึงท้าให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะกอม จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลสะกอม จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลสะกอม ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีให้ถูกต้อง จากดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัยในการบริโภคพืชผักของประชาชนในพื้นที่ตำบลสะกอม ประจำปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา จากคัดกรองประชาชนและเกษตรกรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ จำนวน 90 คน โดยการตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (ครั้งที่ 1 ) ผลการตรวจไม่ปลอดภัย จำนวน 23 ราย มีความเสี่ยง จำนวน 24 ราย หลังจากนั้นนัดติดตามผลกลุ่มเป้าหมายที่ผลไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยงเป็นเวลา 1 เดือน พร้อมกับปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและให้ทานสมุนไพรรางจืดเพื่อขับล้างสารพิษในร่างกาย หลังจากครบ 1 เดือน นัดติดตามผลโดยการตรวจเลือดโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส (ครั้งที่ 2)ผลการตรวจไม่ปลอดภัย จำนวน 8 ราย มีความเสี่ยง จำนวน 37 ราย จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ได้เห็นว่า การจัดทำโครงแก้ไขเรื่องนี้มีความสำคัญเพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยง/เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่ใช้สารเคมีทำการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบได้รับการเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดและจัดอบรมให้ความรู้เในการใช้สารเคมีหรือเลือกบริโภคพืชผักที่ถูกต้อง เพื่อทำการเฝ้าระวังและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อไป
ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/05/2024
กำหนดเสร็จ 30/09/2024
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการตรวจคัดกรองเพื่อค้นหาสารเคมีตกค้างในเลือด
2.ผู้เข้าร่วมมีพฤติกรรมการใช้สารเคมีลดลง และสามารถนำปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์มาใช้แทนการใช้สารเคมี
3.เข้าร่วมโครงการมีความรู้และเข้าใจอันตรายจากการสารเคมีกำจัดศัตรูพืช รวมไปถึงสามารถป้องกันตัวเองได้ หากมีการสัมผัสหรือใกล้ชิดกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช