กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี งบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เขาย่า

โรงพยาบาลศรีบรรพต

-

หมู่ที่ 6,7,9 ตำบล เขาย่า

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

38.80
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

55.60
3 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

 

2.25
4 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

 

3.00

โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ อายุ และปัจจัยที่ควบคุมได้ เช่น ความอ้วน ขาดการออกกำลังกาย ภาวะความเครียด การบริโภคอาหารไม่เหมาะสม การดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งหากประชาชนมีการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสม ย่อมมีโอกาสเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคดังกล่าวแล้วจำเป็นต้องกินยาตลอดชีวิตหรือหากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้
จากผลการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มประชากร อายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลศรีบรรพต อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง ในปีงบประมาณ 2566 พบประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 38.8 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 55.60 ประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) คิดเป็นร้อยละ 2.25 ผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย คิดเป็นร้อยละ 3
ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลที่สงสัยจะเป็นโรคและคนที่เสี่ยงสูงตามลำดับ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

38.80 20.00
2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง

55.60 20.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA)

ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง(CVA) ลดลง

2.25 1.50
4 เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย

ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่นเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลง

3.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อสม. 55

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ติดตามกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จากการคัดกรองร่วมกับ อสม.ในเขต ไม่มีงบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงไดัรับการติดตามมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 72

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมแกนนำ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมแกนนำ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมแกนนำ อสม. ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 55 คน
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้ารับการอบรมและผู้จัด จำนวน 3 หมู่บ้าน รวม 55 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวนเงิน 2,750 บาท
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและผู้จัด จำนวน 3 หมู่บ้าน รวม 55 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท จำนวนเงิน 3,850 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร 6 ชม.ๆ ละ 300 บาท จำนวนเงิน 1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความสามารถในการคัดกรองโรค ดูแลเป้าหมายที่รับผิดชอบคลอบคลุม ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยงสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ทีมเยี่ยมบ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน รวม 45 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท จำนวนเงิน 2,250 บาท
-ค่าอาหารกลางวันผู้เข้ารับการอบรมและผู้จัด จำนวน 3 หมู่บ้าน รวม 45 คนๆ1 มื้อๆ ละ 70 บาท จำนวนเงิน 3,150 บาท - อาหารสาธิต/อาหารตัวอย่างรายโรค 15 ชุดๆ ละ 150 บาท จำนวนเงิน 2,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อัตราเยี่ยมบ้านกลุ่มป่วยที่มีความเสี่ยงสูงไดัรับการเยี่ยม ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7650.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามการดำเนินงาน สรุปโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามการดำเนินงาน สรุปโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าประชุม จำนวน 60 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 สิงหาคม 2567 ถึง 23 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ติดตามความสำเร็จโครงการ สำเร็จ ทุกกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงและการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง
2.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่า ร้อยละ 90
3.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชน
4.กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
5.กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยจากการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตโลหิตสูงได้รับการคัดกรองซ้ำ
6.กลุ่มเลี่ยงที่ผลการตรวจคัดกรองเสี่ยงอีกได้รับการส่งตัวรักษาต่อ
7.กลุ่มป่วย อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนลดลง


>