กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและโภชนาการสมวัย ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย

1.นางนันทิยา เถาวัลย์ ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 089-6546162
2.นางวีณา โส๊ะประจิน ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 083-5083024
3.นางสาวฮัสน๊ะ ปิยาตู ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 081-4798614
4.นางมารีย๊ะ สูสัน ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 081-4383312
5.นางไสหนาบ นาปาเลน ตำแหน่ง ครู เบอร์ติดต่อ 087-2915592

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กอายุ 2-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย

 

91.78
2 ร้อยละของเด็กอายุ 2.5 ปี ที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์

 

91.78

เด็กเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของชาติ ในหลายประเทศล้วนมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะต้องเริ่มต้นจากเด็ก โดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการพัฒนาในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม เด็กในวัยนี้ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม มีการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐาน และมีการส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในแต่ละด้าน ก็จะทำให้เด็กนั้นเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ซึ่งพัฒนาการเด็กเกิดจากการเปลี่ยนแปลงหลายด้านผสมผสานกัน โดยพัฒนาการทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม ล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด การเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการด้านหนึ่งย่อมมีผลให้พัฒนาการอีกด้านหนึ่งเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญหาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะ อารมณ์หงุดหงิดง่าย มีอาการเศร้าซึม ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก และขาดสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากการเก็บข้อมูล การประเมินพัฒนาการเด็ก โดยมีผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน พบว่าเด็กในศูนย์พัฒนาศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย จำนวน 219 คน มีพัฒนาการสมวัย 201 คน คิดเป็นร้อยละ 91.78 และต้องส่งเสริมพัฒนาการตามวัย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 8.21 และจากการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็ก จำนวน 219 คน มีเด็กที่มีน้ำหนักตามเกณฑ์ จำนวน 201 คน คิดเป็นร้อยละ 91.78 น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 16 คน คิดเป็นร้อยละ 7.31 น้ำหนักเกินเกณฑ์ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 0.92
ดังนั้น ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและโภชนาการสมวัยขึ้น เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเกี่ยวกับพัฒนาการตามวัยและส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 2-5 ปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์

จำนวนเด็กในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์มาตฐาน

7.31 6.40
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 2-5 ปี

ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการส่งเสริมโภชนาการและส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก 2-5 ปี

84.48 95.89

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 219
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยการเรียนรู้ ร่วมสร้าง โภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
1.1 อบรมให้ความรู้แก่ครูและผู้ปกครองเด็กอายุ 2 – 5 ปี เพื่อขับเคลื่อนงานโภชนาการสมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และจุดประกายความคิดเด็กไทยมีโภชนาการสมวัยเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมโภชนาการ และให้ผู้เข้าร่วมทำแบบประเมินวัดความรู้ ความเข้าใจ
- พัฒนาการตามวัยเด็ก 2-5 ปี
- การกระตุ้นพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี
- การประเมินและคัดกรองพัฒนาการเด็กเบื้องต้น
- ความผิดปกติเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก 2-5 ปี
1.2 ครูพี่เลี้ยงเด็กร่วมกับผู้ปกครองเฝ้าระวังประเมินพัฒนาการเด็กทุกเดือน หากสงสัยพัฒนาการล่าช้าให้ส่งพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อคัดกรอง
1.3 ครูพี่เลี้ยงเด็กร่วมกับผู้ปกครองกระตุ้นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าอย่างต่อเนื่อง 1 เดือน และประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขตรวจคัดกรองซ้ำ หากยังมีพัฒนาการล่าช้าได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการที่สูงกว่า
1.4 จัดทำฐานพัฒนาการเด็กอายุ 2 - 5 ปี ในศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดบ้านโคกทราย
กำหนดการ
เวลา 13.00 - 13.30 น. -ลงทะเบียน /เปิดพิธี
เวลา 13.30 - 14.30 น. -อบรมเรื่อง ความสำคัญของอาหารเช้าและโภชนาการและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สต.บ้านควน
เวลา 14.30 - 15.30 น. -อบรมวางแผนจัดการด้านอาหารและโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยนักโภชนาการ รพ.สต.บ้านควน
เวลา 15.30 - 16.30 น. -อบรมเทคนิคการทำอาหารให้อร่อย และรูปลักษณ์ชวนกินสำหรับเด็กปฐมวัย โดยวิทยากรนักโภชนาการ รพ.สต.บ้านควน
เวลา 16.30 น.-สรุปและปิดการอบรม รายละเอียดงบประมาณ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการส่งเสริมพัฒนาการและภาวะโภชนาการในเด็กอายุ 2-5 ปี เป็นเงิน 8,950 บาท
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับครูและผู้ปกครอง คณะทำงานและวิทยากร จำนวน 40 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 วัน ๆ ละ 1 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท
2. ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
3. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450 บาท
4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับครูและตัวแทนผู้ปกครองในการสรุปผลการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กและส่งเสริมภาวะโภชนาการ จำนวน 10 คน ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
5. ค่าชุดอุปกรณ์ประเมินพัฒนาการเด็ก DSPM 2 - 5 ปี จำนวน 1 ชุด ราคาชุดละ 3,200 บาท
6. ค่าจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม จำนวน 40 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท ประกอบด้วย
- ดินสอ ราคา 5 บาท
- สมุด ราคา 10 บาท
- แฟ้มกระดุม ราคา 20 บาท
- แผ่นพับให้ความรู้ ราคา 15 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2567 ถึง 22 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 2 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการพร้อมทั้งการส่งเสริมภาวะโภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8950.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก
2.1 ดำเนินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็ก ทุก ๓ เดือน
2.2 บันทึกผลน้ำหนักและส่วนสูงในสมุดทะเบียนเด็ก พร้อมแจ้งผู้ปกครองทราบ
2.3 จัดทำทะเบียนเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน และเด็กที่มีน้ำหนักน้อยหรือผอม แยกเป็นการเฉพาะ
2.4 อบรมให้ความรู้ผู้ปกครอง
- ความสำคัญของอาหาร อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กอ้วน อาหารที่ควรเพิ่มสำหรับเด็กผอม และอาหารที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย
- วิธีการปรับพฤติกรรมและนิสัยการกินของเด็ก
- ความสำคัญของการเล่นและการออกกำลัง
- วิธีการกระตุ้นให้เด็กเล่นและลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- การเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก

รายละเอียดงบประมาณกิจกรรมส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็ก เป็นเงิน 25,600 บาท
1. ค่าจัดทำอาหารเช้าเพื่อน้อง ทุกวันทำการสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 16 คนๆละ 16 บาท จำนวน 100 วัน เป็นเงิน 25,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 2 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการพร้อมทั้งการส่งเสริมภาวะโภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25600.00

กิจกรรมที่ 3 ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม

ชื่อกิจกรรม
ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ครูผู้ดูแลเด็กร่วมกับผู้ปกครองในการแก้ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินหรืออ้วน น้ำหนักน้อยหรือผอม โดย
    1.1 ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

- ครูผู้ดูแลเด็ก กระตุ้นให้เด็กอ้วนลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และออกไปเล่นในสนามอย่างน้อยให้ได้วันละ 60 นาทีหรือมากกว่า กระตุ้นให้เด็กกินผักผลไม้มากขึ้น (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
- กรณีเด็กผอม ครูผู้ดูแลแนะนำให้ผู้ปกครองเด็กเพิ่มอาหารเสริมให้เด็ก 1 มื้อ เช่น นมและไข่ กระตุ้นให้เด็กเล่นตามปกติ อย่างน้อยวันละ 60 นาที(ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
1.2 ที่บ้าน
- ผู้ปกครอง กรณีเด็กอ้วน ดูแลเรื่องการกินของเด็ก ลดการกินขนมกรุบกรอบ/ขนมหวาน กินโปรตีนเนื้อสัตว์ กระตุ้นให้เล่นเพิ่มเติมกรณีเด็กผอม กระตุ้นให้เด็กกินมากขึ้น เพิ่มอาหารที่มีไขมัน/โปรตีน (ตามที่กรมอนามัยแนะนำ)
2. รายงานผลการประเมินพัฒนาการเด็กและภาวะโภชนาการให้ผู้ปกครองทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็ก 2 – 5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการพร้อมทั้งการส่งเสริมภาวะโภชนาการด้านสุขภาพอนามัยได้ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,550.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวจ่ายได้ทุกกรณี

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็ก 2 - 5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัยทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคม
2. เด็ก 2 - 5 ปี ที่พัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติมาก
3. ผู้ปกครองมีความตระหนักใรเรื่องการส่งเสริมภาวะโภชนาการและการส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตามวัย


>