กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสุขเพียงพอ ผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ
น.ส.ปวรรษา พรหมสังคหะพยาบาลวิชาชีพชำนาญการผู้รับผิดชอบโครงการ

ตำบลลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น

 

112.00
2 จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง เช่น ตาต้อ กระจก เป็นต้น (คน)

 

85.00
3 จำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านสมองเสื่อม

 

54.00

จากความก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้อัตราการเกิดน้อยลงประชากรมีอายุยืนยาวมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ประชากรไทยหยุดโตมีแต่จะแก่ลงทุกวัน มีการคาดการณ์ไว้ว่า ในอีก 2 ปีข้างหน้า (พ.ศ.2566) ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ : Age Society และจากนั้นอีกเพียง 10 ปีประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” ปี พ.ศ.2568ในระดับประเทศมีประชากรผู้สูงอายุร้อยละ 21.1 ระดับจังหวัดพัทลุงร้อยละ 22.68 ระดับอำเภอศรีนครินทร์ร้อยละ 21.6 สำหรับ ตำบลบ้านลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง มีประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,130 คน คิดเป็นร้อยละ 15.97 (จากข้อมูล HDC ณ 30 ก.ย.2566) เมื่อก้าวเข้าสู่ช่วงสูงวัยนอกจากสุขภาพร่างกายที่ย่ำแย่อ่อนแอลงไปมากแล้วยังมีเรื่องของสุขภาพจิตเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยจากอุบัติการณ์ของภาวะเสี่ยงที่พบบ่อยในผู้สูงอายุรวมถึงมีขนาดและความรุนแรงของปัญหามาก คือภาวะหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม และตาต้อกระจก ภาวะหกล้มพบมากขึ้นตามลักษณะโครงสร้างประชากรไทยที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น การหกล้มทำให้กระดูกหัก เกิดความเจ็บป่วยทั้งทางกายและจิตใจ ความพิการทุพพลภาพ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจทั้งต่อครอบครัวและสังคมโดยรวม นอกจากนี้โรคสมองเสื่อมเริ่มพบมากขึ้นและกำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ สังคม และครอบครัว เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุและมีจำนวนผู้เป็นโรคมากขึ้นตามค่าอายุเฉลี่ยของประชากร ส่วนตาต้อกระจกเป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการเข้าถึงการบริการยังน้อยอยู่ ดังนั้นการที่จะส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงหรือป่วยได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสมและตรงประเด็นปัญหา หรือป้องกันความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความพิการที่เหมาะสมที่สุดคือการคัดกรองและประเมินกลุ่มโรคและอาการที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ(Geriatric Sydromes) อันจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ทำให้ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงและป่วยได้รับการส่งต่อเข้าสู่ระบบบริการสุขภาพที่ตรงปัญหาต่อไป รวมถึงกลุ่มปกติที่คัดแยกเข้าสู่บริการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ(Primary Prevention) ได้อย่างทันท่วงที การคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อมภาวะหกล้มและตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ จึงเป็นประตูขั้นแรกที่จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงประเด็น
ซึ่งจากการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุของจังหวัดพัทลุง ปี 2566 พบว่า ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 34.08, ป่วยโรคเบาหวานร้อยละ 18.21, เสี่ยงต่อสมองเสื่อมร้อยละ 0.56, เสี่ยงต่อซึมเศร้าร้อยละ 0.02, ข้อเข่าผิดปกติร้อยละ 7.26, เสี่ยงต่อภาวะหกล้มร้อยละ 7.26 มีภาวะอ้วนร้อยละ 30.65 และมีปัญหาสายตามัวร้อยละ 26.87 (จากฐานข้อมูล HDC ณ 30 กันยายน 2566)
กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์จึงขอเสนอการดำเนินกิจกรรมที่สร้างคุณประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยกลุ่มวัยผู้สูงอายุด้วยการจัดบริการคัดกรองความเสี่ยงภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้มและตาต้อกระจกในผู้สูงอายุ เพื่อเตรียมความพร้อมดูแลผู้สูงอายุ ตลอดจนส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีจำนวนลดลง

112.00 60.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง

จำนวนผู้สูงอายุที่มีภาวะแทรกซ้อนจากโรคเรื้อรัง ลดลง

85.00 40.00
3 เพื่อลดจำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านสมองเสื่อม

จำนวนผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางด้านสมองเสื่อม

54.00 32.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 418
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
เจ้าหน้าทีสาธารณสุข,อสมแกนนำผู้สูงอายุและผู้สูงอาย 105

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมุคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงานตามโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
11 มีนาคม 2567 ถึง 11 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คณะทำงานจำนวน 10 คน
  2. คณะทำงานมีความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานของโครงการที่ถูกต้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อสม.และแกนนำผู้สูงอายุ ให้ความรู้ในการตรวจคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน

ชื่อกิจกรรม
อบรม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อสม.และแกนนำผู้สูงอายุ ให้ความรู้ในการตรวจคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ในการตรวจคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 9 ด้าน สำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข, อสม.และแกนนำผู้สูงอายุจำนวน 105 คน

1.ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 105 คนๆ ละ1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 7,350 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าทีสาธารณสุข,อสม.และแกนนำผู้สูงอายุ จำนวน 105 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,250 บาท

3.ค่าสมนาคุณวิทยากร 4 ชั่งโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท

4.ค่าจ้างทำคู่มือประกอบการอบรมจำนวน 105 เล่มๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 มิถุนายน 2567 ถึง 25 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.แกนนำ จำนวน 105 คนมีความรู้ ความเข้าใจเพื่อนำไปวางแผนการดำเนินงานต่อไป

2.อสม.และแกนนำผู้สูงอายุคัดกรองภาวะสมองเสื่อม ภาวะหกล้มและสายตาต้อกระจกในผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและมีความชำนาญ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 3 ประชาสัมพันธ์โครงการและมีหนังสือเชิญผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพผ่านทางอสม.และแกนนำผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์โครงการและมีหนังสือเชิญผู้สูงอายุเข้ารับการตรวจประเมินภาวะสุขภาพผ่านทางอสม.และแกนนำผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อสมและแกนนำผู้้สูงอายุสำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยผ่านสมาร์ท อสมในเขตรับผิดชอบระยะเวลาดำเนินการ 15 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2567 ถึง 15 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้สูงอายุได้รับการประเมินภาวะสุขภาพ จำนวน 1,160คน

2.ได้กลุ่มเป้าหมายในผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่่ยงในด้านต่างๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ปฏิบัติการคัดกรองผู้สูงอายุที่พบอาการผิดปกติด้านต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
ปฏิบัติการคัดกรองผู้สูงอายุที่พบอาการผิดปกติด้านต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็นฐานการตรวจสุขภาพ จำนวน 4 ฐาน คือ

ฐานที่1ซักประวัติและตรวจร่างกายทั่วไป/คัดกรองปัญหาที่สำคัญและโรคที่พบบ่อย

ฐานที่2 คัดกรองสุขภาวะทางสายตา

ฐานที่3 คัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม/ภาวะหกล้ม

ฐานที่ 4 การทดสอบสภาพสมอง

1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้สูงอายุในกลุ่มเสี่ยง จำนวน418 คนๆละ 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 10,450 บาท

2.ค่าอาหารกลางวันสำหรับเจ้าหน้าที่,อสม จำนวน 17 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 1,190บาท

3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับเจ้าหน้าที,อสม.จำนวน17 คน คนละ2มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 850 บาท

4.ค่าจัดทำเอกสารแบบฟอร์มสำหรับตรวจคัดกรอง สมองเสื่อม ,เข่าเสื่อม ,ตาต้อกระจก จำนวน 480 แผ่น x 2 บาท เป็นเงิน 960บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 มิถุนายน 2567 ถึง 26 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ได้รับการประเมินคัดกรองโดยเจ้าหน้าที่ซ้ำ

2.ผู้สูงอายุที่พบภาวะผิดปกติในด้านต่างๆได้รับการส่งต่อพบแพทย์เฉพาะทาง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13450.00

กิจกรรมที่ 5 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สรุปผลการดำเนินงานโครงการ เสนอแนวทางดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค์

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2567 ถึง 26 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.คณะทำงานในการเข้าร่วมประชุมจำนวน15คน

2.คณะทำงานรับรู้ เข้าใจ เพื่อนำไปวางแผนการดำเนินงานต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 30,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองจากภาวะเสี่ยงในด้านต่างๆได้รับการส่งต่อและรับการรักษาอย่างถูกต้อง

2.เป็นการส่งเสริมให้ญาติและผู้สูงอายุใส่ใจในการดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น


>