กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพในชุมชน ปี2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองพัทลุง

คณะทำงานศูนย์แจ้งเตือนภัยเฝ้าระวังและรับเรื่องรร้องเรียน ผลิตภัณฑ์สุขภาพ เทศบาลเมืองพัทลุง(กลุ่มอสม.นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน)

๑. นางกุลวีร์ ตุลาธน
๒. นางสาวจุไรพร ไพรพฤกษ์
๓. นางพรเพ็ญ เนียมสวัสดิ์
๔. นางพิมล ชูรัตน์
๕. นางฉัฐม์ธนาพร เพ็ชรมณี

ต.คูหาสวรรค์ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สร้างพัฒนาศักยภาพขยายเครือข่าย อย.น้อยและ อสม.คุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติม

 

20.00
2 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน (สารเร่งเนื้อแดงในเนื้อสุกร สารกันราหรือกรดซาลิซิลิค สารฟอกขาว สารบอแรกซ์ สารฟอร์มาลิน หรือสารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ และยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีกำจัดศัตรูพืช)

 

40.00

หลักการและเหตุผล ที่มาของการทำโครงการ
จากสถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในการบริโภคสินค้าในชุมชนและผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคปี 2566 แสดงให้เห็นความจำเป็นในการดำเนินงานคุ้มครองบริโภคอย่างต่อเนื่อง และสร้างพัฒนาศักยภาพขยายเครือข่าย อย.น้อยและ อสม.คุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติม เพื่อการกำกับดูแลและเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์กลุ่มเสี่ยงในสถานที่สำคัญ เช่นโรงเรียน วัด ตลาด สวนสาธารณะ โดยการสร้างแกนนำของชุมชนให้สามารถเฝ้าระวังภัยและคุ้มภัยให้ประชาชนในความรับผิดชอบ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมความร่วมมือของภาคีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค,คปสอ.เมืองพัทลุง และเป็นประเด็นวาระของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ (พชอ.) ภายใต้การทำงานอย่างบูรณาการของภาคีเครือข่ายสุขภาพทั้งท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม
และเนื่องจากสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพิ่มขึ้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจความเค็ม และความหวาน ของอาหารและเครื่องดื่มเพื่อควบคุมการบริโภคเครืองดื่มที่มี รส หวาน และ อาหารที่มีรสเค็ม เกินมาตรฐาน ที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง
จึงได้จัดทำ “โครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองสุขภาพ ปี2567 ” ขึ้น เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับแกนนำของประชาชน เสริมความรู้และทักษะให้เป็นแกนนำสำคัญ สามารถให้คำแนะนำและให้ความรู้ในการอ่านฉลากและเลือกซื้อและเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆ ที่ถูกต้องแก่คนในชุมชนหรือบุคคลทั่วไปได้ เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน โดยร่วมกับเจ้าพนักงานให้บริการเชิงรุกในการสำรวจ ตรวจสอบ เฝ้าระวังและแก้ปัญหาด้านสุขภาพในชุมชนเบื้องต้นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

-ผลิตภัณฑ์กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจเฝ้าระวังมีความปลอดภัยมากกว่าร้อยละ ๘๐

80.00 0.00
2 เกิดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคและมีศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน

-อสม. และ อย.น้อย มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและมีการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน -มีศูนย์เรียนรู้เคลื่อนที่ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เทศบาลเมืองพัทลุง อย่างน้อย ๑ หน่วยและมีอสม.นักวิทยาศาตร์การแพทย์ชุมชน ทุกชุมชนในเทศบาลเมืองพัทลุง

20.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุม อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ประชุม อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง เพื่อจัดทำแผนงานโครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองชุมชน ปี 2567 -แลกเปลี่ยนเรียนรู้ -ซักถามปัญหาทั่วไป - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 750.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2567 ถึง 3 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

โครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองชุมชน ปี 2567

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
750.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจร้านชำ 135 ร้าน 45 ชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ตรวจร้านชำ 135 ร้าน 45 ชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในร้านชำ
  • ลงปฎิบัติการตรวจร้านชำ 45 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฎิบัติการตรวจร้านชำ 45 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง(ต่อ)
  • สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2567 ถึง 11 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เฝ้าระวังและให้คำแนะนำ ความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์์สุขภาพแก่ผู้ประกอบการร้านชำ
  • มีร้านชำคุณภาพในชุมชน จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

กิจกรรมที่ 3 ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดตลาดนัดในเขตเทศบาลเมือง 5 แห่ง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารปนเปื้อนในตลาดสดตลาดนัดในเขตเทศบาลเมือง 5 แห่ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมฟื้นฟูและเพิ่มพูนความรู้แก่ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง
  • ลงปฎิบัติการเก็บตัวอย่างอาหาร จาก ตลาดสด ตลาดนัด ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฎิบัติการตรวจสารปนเปื้อน จากตัวอย่างอาหาร
  • สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆละ 30บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
    • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
22 เมษายน 2567 ถึง 30 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการเฝ้าระวัง และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในตลาดสด ตลาดนัด
  • มีตลาดนัดน่าซื้อ อาหารปลอดภัย ปลอดสารปนเปื้อน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

กิจกรรมที่ 4 เก็บตัวอย่างอาหารและเคริ่องดื่มเพื่อตรวจสอบความเค็มและความหวานจากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม

ชื่อกิจกรรม
เก็บตัวอย่างอาหารและเคริ่องดื่มเพื่อตรวจสอบความเค็มและความหวานจากร้านขายข้าวแกงและเครื่องดื่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเค็มและความหวานของอาหาร และเครืื่องดื่ม
  • ลงปฎิบัติการเก็บตัวอย่าง อาหาร และเครื่องดื่มจากร้านขายข้าวแกง และเครื่องดื่ม
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฎิบัติการทดสอบความเค็ม และความหวาน ของอาหาร และเครื่องดื่มจากร้านขายข้าวแกง และเครื่องดื่ม
  • สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
  • ค่าชุดทดสอบความหวานในเครื่องดื่ม 3 ชุดๆละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1,800.00 บาท
  • ค่าชุดทดสอบความเค็มในอาหาร 3 ชุดๆละ 1,500 บาท รวมเป็นเงิน4,500.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 พฤษภาคม 2567 ถึง 25 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้บริโภคเกิดความปลอดภัย ป้องกัน และลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9425.00

กิจกรรมที่ 5 อบรมผู้นำ อย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้นำ อย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการปฏิบัติการเชิงรุกอบรมผู้นำอย.น้อยในโรงเรียน
  • ลงปฏิบัติการเชิงรุกอบรมผู้นำอย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฏิบัติการเชิงรุกอบรมผู้นำอย.น้อยในโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง(ต่อ)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของอสม.และนักเรียน อย.น้อย จำนวน ๒ มื้อๆ ละ 30บาท จำนวน 55 คน จำนวน 3,300.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 60 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,500.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มิถุนายน 2567 ถึง 7 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • นักเรียนมีความรู้ เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ สามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยได้ด้วยตนเอง
  • เกิดเครือข่ายอย.น้อย ในการเฝ้าระวังความปลอดภัยของอาหารและยารอบรั้วโรงเรียน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 6 ตรวจอาหารและยารอบรั้ววัด โรงเรียน โรงพยาบาล ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจอาหารและยารอบรั้ววัด โรงเรียน โรงพยาบาล ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการตรวจอาหารและยา รอบรั้วโรงเรียน
  • ลงปฎิบัติการตรวจอาหารและยา รอบรั้วโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฎิบัติการตรวจอาหารและยา รอบรั้วโรงเรียน ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง(ต่อ)
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มิถุนายน 2567 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการเฝ้าระวัง และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการที่ จำหน่ายอาหารและยา รอบรั้ววัด โรงเรียนและโรงพยาบาล
  • อาหารและยา รอบรั้ววัด โรงเรียน โรงพยาบาล มีความปลอดภัยกับ เด็กและประชาชนผู้บริโภค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

กิจกรรมที่ 7 เก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำและทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ

ชื่อกิจกรรม
เก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำและทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมและให้ความรู้ อสม.นักวิทย์ฯ เทศบาลเมืองพัทลุง เกี่ยวกับการเก็บตัวอย่าง และตรวจสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
  • ลงปฎิบัติการเก็บตัวอย่างน้ำมันทอดซ้ำ จากร้านอาหาร,หาบเร่,แผงลอย ในเขตเทศบาลเมืองพัทลุง
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • ลงปฎิบัติการทดสอบสารโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำ
  • สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค
  • มอบเกียรติบัตร อาหารปลอดภัย แก่ร้านที่มีปริมาณสารโพลาร์ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๒ มื้อๆ ละ 30 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
  • ค่าเกียรติบัตร, แผ่นพับ และอุปกรณ์สื่อ เป็นเงิน 2,500 บาท
  • ค่าชุดทดสอบสารโพลาร์ เป็นเงิน 4,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กรกฎาคม 2567 ถึง 28 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • เกิดการเฝ้าระวัง ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารประเภททอด
  • ผู้บริโภค ได้รับประทานอาหารประเภททอดที่ปลอดภัย
  • ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภค ร้านที่จำหน่ายอาหารประเภททอดที่ปลอดภัย จากสติ๊กเกอร์ "ร้านนี้น้ำมันทอดซ้ำ ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาพ" ที่ติดที่ร้าน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9625.00

กิจกรรมที่ 8 ประชุมฟื้นฟูความรู้พัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง

ชื่อกิจกรรม
ประชุมฟื้นฟูความรู้พัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ประชุมฟื้นฟูความรู้พัฒนาศักยภาพ บทบาทหน้าที่ของ อสม.นักวิทย์ฯเทศบาลเมืองพัทลุง เรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  • พักรับประทานอาหารกลางวัน
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ อสม.คุ้มครองผู้บริโภค คุ้มครองชุมชน ปี 2567
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 2 มื้อๆ ละ30 บาท จำนวน 25 คน จำนวน 1,500.00 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อๆ ละ 65 บาท จำนวน 25 คนเป็นเงิน 1,625.00บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
26 สิงหาคม 2567 ถึง 30 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • มี อสม.นักวิทย์ฯที่มีความรู้ ความสามารถ ในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพ เชี่ยวชาญงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3125.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 37,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

มีการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ส่งเสริมป้องกัน ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และเกิดเครือข่ายที่สามารถแจ้งเตือนภัยด้านสุขภาพได้อย่างรวดเร็ว ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองพัทลุง


>