กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลลำสินธุ์ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำสินธุ์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์

หน่วยงานราชการ
น.ส.ปวรรษา พรหมสังคหะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ผู้รับผิดชอบโครงการ

ตำบลลำสินธุ์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ป่วยจิตเวชในตำบลลำสินธุ์

 

66.00

ปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของระบบสุขภาพประเทศไทย โดยประมาณการว่าประชาชน 1 ใน 5 มีปัญหาสุขภาพจิตจากรายงานสถิติของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โรคจิตเวชเป็นปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนึ่งที่นับวันมีจำนวนมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งโรคจิตเวชก่อให้เกิดความผิดปกติทางด้านความคิด อารมณ์ การรับรู้พฤติกรรม บกพร่องในการดูแลตนเอง ขาดทักษะพื้นฐานในการแก้ปัญหา
จาการสำรวจ ผู้ป่วยจิตเภทที่เข้าถึงบริการปี 2566 ในจังหวัดพัทลุง พบว่ามีผู้ป่วยจิตเภทเข้ารับบริการ ทั้งหมด 3,335 คน อำเภอศรีนครินทร์ พบป่วยจิตเภทเข้ารับบริการ จำนวน 305 คน และในตำบลลำสินธุ์ พบว่าผู้ป่วยจิตเภทเข้ารับบริการ จำนวน 35 รายซึ่งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำสินธุ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 66 คน พบว่าในตำบลลำสินธุ์ยังมีผู้ป่วยจิตเภทที่ ไม่เข้าถึงบริการ รักษาไม่ต่อเนื่อง อาการกำเริบซำ้ เครือข่ายชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการดูแลทำให้เป็นภาระผู้ดูแลและปัญหาของชุมชน ซึ่งถ้ามีอาการทางจิตรุนแรงหรือมีลักษณะเสี่ยงต่อการก่อพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่นจึงต้องมีการอบรมให้ความรู้ผู้ดูแลผู้ป่วย และแกนนำสุขภาพจิตเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาต่อเนื่อง
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำสินธุ์ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชตำบลลำสินธุ์ ขึ้นเพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่ม ได้รับการติดตามการรับยาอย่างต่อเนื่องในชุมชนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นและลดภาระของญาติซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชในตำบลลำสินธู์ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการติดตามดูแลไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

66.00 72.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ป่วยจิตเวช 66

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/08/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้

ชื่อกิจกรรม
เผยแพร่ช่องทางการเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตให้ทุกคนเข้าถึงได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมร่วมกับการประชุมในหมู่บ้านเพื่อเผยแพร่่ความรู้ และคัดเลือดแกนนำดูแลสุขภาพจิต
ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มีนาคม 2567 ถึง 26 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ประชาชนรู้ช่องทางระบบบริการ

2.ได้แกนนำด้านสุขภาพจิตหมู่่บ้้านละ 1 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเสริมทักษะการให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.และญาติผู้ป่วย ด้านสุขภาพจิต

ชื่อกิจกรรม
อบรมเสริมทักษะการให้ความรู้แก่แกนนำ อสม.และญาติผู้ป่วย ด้านสุขภาพจิต
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแกแก่นนำในการเฝ้าระวังและการชี้ช่องทางบริการแก่แกนนำและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 คน

  1. ค่าอาหารกลางวัน (70 บาท x 80 คน x 1 มื้อ x 1 วัน) เป็นเงิน 5,600 บาท

    2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (25 บาท x 80 คน x 2 มื้อ x 1 วัน) เป็นเงิน 4,000บาท
    3.ค่าสมนาคุณวิทยากรกระบวนการ จำนวน 4 ชมๆละ 600 บาท รวม 2,400บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2567 ถึง 24 เมษายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. แกนนำและผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 80 คน มีความรู้สามารถทำงานเชิงรุกได้

2.ได้แผนการทำงานของแกนนำในแต่ละหมู่บ้าน

3.ได้ช่องทางในการสื่อสารร่วมกัน

4.สามารถแบ่งเขตการรับผิดชอบได้ชัดเจนมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและคัดกรองค้นหาผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำจิตอาสาสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตในพื้นที่แต่ละหมู่ทั้งรายเก่าและรายใหม่ชักชวนให้ทำกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน

  1. ค่าจัดทำเอกสารแบบฟอร์มสำหรับตรวจคัดกรองด้านสุขภาพจิตจำนวน 800 ชุด (ชุดละ 4หน้าๆละ 0.50 สตางค์) x 2 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 31 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มผู้ป่วยได้มีกิจกรรมร่วมกับสังคม

2.ผู้ป่วยจิตเวชมีความเครียดลดลง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1600.00

กิจกรรมที่ 4 ประชุมแกนนำเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแกนนำเพื่อประเมินผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมแกนนำเพื่อประเมินกลุ่มเป้าหมาย
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 สิงหาคม 2567 ถึง 8 สิงหาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ได้เครือข่ายสุขภาพจิตเชิงรุก

2.ผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตได้รับการดูแลทางสังคม

  1. ค้นพบรายใหม่ได้รับการส่งต่อและรับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการติดตามดูแลและรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

2.แกนนำสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมไปใช้ในการดูแลและค้นหาผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนได้ ทำให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว


>