กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่าย การป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางกล่ำ

โรงพยาบาลบางกล่ำ

ห้องประชุม โรงพยาบาลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ทำให้โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงและทวีจำนวนมากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างมากต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการแล้วส่วนใหญ่คือโรคจิตเวชจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จอีกด้วย
จากตัวชี้วัดระดับจังหวัด (จากฐานข้อมูล 43 แฟ้ม) พบว่าอำเภอบางกล่ำ มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงเป็นอันดับ 1 เมื่อเปรียบเทียบเป็นรายอำเภอในจังหวัดสงขลา โดยมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ จำนวน 6 ราย ซึ่งผู้เสียชีวิตมีประวัติใช้สารเสพติดและสุรา จำนวน4 ราย ป่วยโรคทางกายเรื้อรัง จำนวน 2 รายคิดเป็น 18.4 ต่อแสนประชากร โดยกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ คือ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ ไม่เกิน 6.5 ต่อแสนประชากร นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ป่วยที่เข้าถึงบริการแล้วส่วนใหญ่คือโรคจิตเวชจากสารเสพติดที่สูญเสียความสามารถในการควบคุมตัวเองก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเอง ชุมชน สังคม และส่งผลให้เกิดการฆ่าตัวตายสำเร็จ ส่วนโรคอื่นๆ เช่น ภาวะซึมเศร้า เครียด โรคทางกายเรื้อรัง อาจเป็นเหตุปัจจัยในการฆ่าตัวตายได้เช่นกัน ดังนั้นการฝึกให้ทุกคนในชุมชนเป็นบุคลากรด้านสุขภาพจิต เริ่มตั้งแต่ระดับครอบครัวให้สามารถสังเกตอาการโรคพื้นฐาน เช่น โรคซึมเศร้า สัญญาณเตือนการฆ่าตัวตาย มีทักษะการรับฟัง การให้กำลังใจเชิงบวก การส่งเสริมและป้องกันเป็นหน้าที่ทุกคน ดังนั้นการสร้างความร่วมมือในระดับชุมชนจึงเป็นสิ่งสำคัญเร่งด่วน
โรงพยาบาลบางกล่ำ จึงได้จัดทำโครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่ายการป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่าย เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ มีความเข้าใจต่อสัญญาณเตือนภัยฆ่าตัวตาย 10 ประการ และเห็นความสำคัญของ “การฟังด้วยหัวใจ” ใช้หัวใจฟังให้ได้ยินในวันที่เขายังมีลมหายใจอยู่ เพื่อช่วยฉุดคนจากการคิดฆ่าตัวตายและให้การช่วยเหลือเบื้องต้นได้ทันท่วงทีและสามารถสร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ตามบริบทของพื้นที่ได้อย่างมีคุณภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ชุมชมมีส่วนร่วมในการลดอัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อให้ประชาชน อสม. และเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย

ประชาชน อสม. และเครือข่าย มีความรู้ความเข้าใจรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตายกับคนใกล้ตัวและสามารถช่วยเหลือเบื้องต้นได้ สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย ร้อยละ 100

0.00
3 เพื่อสร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

สร้างรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 โครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่าย การป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
โครงการเพิ่มศักยภาพและสร้างเครือข่าย การป้องกันการฆ่าตัวตายในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้ สถานการณ์การฆ่าตัวตาย เรื่องโรคซึมเศร้าและ 10 สัญญาณเตือนภัยในการฆ่าตัวตาย เทคนิคการให้คำปรึกษา
ฝึกปฏิบัติการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายโดยใช้แบบประเมิน 2Q,9Q และ 8Q
แนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การแจ้งเหตุ การส่งต่อและการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดย อสม. Buddy - ค่าอาหารกลางวัน อาหารว่างและเครื่องดื่ม 50 คน x 100 บาท เป็นเงิน 5,500 บาท - ค่าวิทยากรวันละ 4 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท -ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ความรู้ ขนาด 2x1 เมตร ผืนละ 300 บาท จำนวน 5 ผืน เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าสื่อโฟมบอร์ดสแตนดี้ อันละ 1,500 บาท จำนวน 3 อัน เป็นเงิน 4,500 บาท - ค่ากระเป๋าใส่เอกสารในการอบรมใบละ 100 บาท จำนวน 50 ใบ เป็นเงิน 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าและรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม สามารถใช้แบบคัดกรองค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
  3. มีรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
  4. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ เท่ากับ 0
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18900.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคซึมเศร้าและรับรู้ถึงสัญญาณเตือนในการฆ่าตัวตาย สามารถค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าอบรม สามารถใช้แบบคัดกรองค้นหาเฝ้าระวังและแจ้งเหตุเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย
3. มีรูปแบบแนวทางการดูแลช่วยเหลือผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย และการติดตามดูแลในชุมชนอย่างต่อเนื่อง
4. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ เท่ากับ 0


>