กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนมะพร้าว

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนมะพร้าว

พื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.บ้านควนมะพร้าว ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

เบาหวานเป็นโรที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลจาก IDF Diabetes Atlas พบว่าทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ในปี 2566 พบว่า การคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ยังไม่ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานมากถึง 5 ล้านคนจากเป้าหมายทั่วประเทศ 22 ล้านคน ดังนั้นประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ควรตรวจคัดกรองโรคเบาหวานปีละ 1 ครั้ง ค่าระดับน้ำตาลในเลือดควรน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรกและรักษาได้เร็วจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงและอาจถึงแก่ชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานเกิดจากการมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน รอบเอวเกิน เป็นโรคความดันโลหิตสูง ชอบรับประทานอาหารรสหวาน มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
รพ.สต.บ้านควนมะพร้าว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อให้ห่างไกลโรคเบาหวาน ทาง รพ.สต.บ้านควนมะพร้าว จึงได้ออกรณรงค์คัดกรองเบาหวานของประชากรกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบพบผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงทั้งสิ้น 300 รายจึงได้จัดทำโครงการติดตาม เฝ้าระวังป้องกันโรคเบาหวาน ครั้งนี้ขึ้น โดยเน้นที่กลุ่มประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก่อน โดยการครั้งนี้เน้นกิจกรรมที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและผู้เข้าร่วมโครงการจะเป็นแกนนำในการรณรงค์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานต่อไป ในอนาคต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อติดตามประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเสี่ยงได้รับการติดตาม 100 %

70.00 70.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง

50.00 30.00
3 เพื่อให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน

กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง

80.00 60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าชุดตรวจเลือดจากปลายนิ้ว  จำนวน  300 คน x 3 ครั้ง x 24 บาท   เป็นเงิน  21,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด 100 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21600.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ให้ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านต่างๆแก่กลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง 30 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.กลุ่มเป้าหมาย นำความรู้ ไปใช้ในการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองได้
2.กลุ่มเป้าหมายมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลง


>