กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน และโรคติดต่อ ปีงบประมาณพ.ศ.2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลปะลุรู

อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนโคกปริเม็ง

เขตพื้นที่ชุมชน โคกปริเม็ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีรายงานผู้ป่วยโรคไอกรนในระบบรายงานสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 จำนวน 93 ราย เสียชีวิต 1 ราย สำหรับเขตสุขภาพที่ 12 พบผู้ป่วยยืนยัน 81 ราย แบ่งเป็น ปัตตานี 54 ราย นราธิวาส 25 ราย และตรัง 2 ราย เสียชีวิต 1 รายโดพบว่าผู้ป่วยไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนและฉีดวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ ขณะนี้พบการแพร่ระบาดของโรคไอกรนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น โดยที่จังหวัดนราธิวาสข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. - 14 พ.ย.66 พบผู้ป่วยเข้านิยามโรคไอกรนทั้งหมด จำนวน 61 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 30 ราย อัตราป่วย 3.68 ต่อแสนประชากร เป็นผู้ป่วยเข้าข่าย จำนวน 16 ราย และเป็นผู้ป่วยสงสัย จำนวน 15 ราย พบผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 1 ราย เป็นเด็กทารกอายุ 1 เดือน มีภูมิลำเนาอำเภอสุไหงปาดี เสียชีวิตจากภาวะปอดอักเสบขณะรักษาตัวที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ติดมาจากครอบครัวขณะนี้รักษาผู้ป่วยในครอบครัวหมดแล้ว ปัจจุบันพบผู้ป่วยกระจายตัวอยู่ใน 8 อำเภอ คือ อำเภอบาเจาะ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอรือเสาะ อำเภอยี่งอ อำเภอระแงะ อำเภอเจาะไอร้อง ทั้งนี้ยังมีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในหลายอำเภอโดยไม่มีความเชื่อมโยงกัน ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุข ชุมชนโคกปริเม็งจึงมีความประสงค์จะจัดทำโครงการรณรงค์และป้องกันโรคไอกรน เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไอกรนและโรคติดต่อ เป็นแนวทางในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ในกรณีเกิดโรคไอกรน และโรคติดต่ออื่นๆ ซึ่ง สามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เชื้อติดต่อ ไปสู่บุคคลอื่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไอกรน โรคติดต่อ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรค

ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวถูกต้องร้อยละ 80

100.00 100.00
2 เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในชุมชน

อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนลดลง ร้อยละ 80

100.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 30
กลุ่มวัยทำงาน 20
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไอกรน โรคติดต่อ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อเป็นโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไอกรน โรคติดต่อ และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อเป็นโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน * 50 บาท * 1 มื้อ  เป็นเงิน 5,000 บาท
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน * 25 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
  3. ค่าวิทยากร จำนวน 1 คน * 300 บาท * 6 ชั่วโมง  เป็นเงิน 1,800 บาท 4.ค่าไวนิล 1 * 3 เมตร  เป็นเงิน 750 บาท
  4. ค่าวัสดุในการจัดอบรม 1064 บาท    -  กระดาษซาลาเปา จำนวน 30 แผ่นๆละ 5 บาท เป็นเงิน 150 บาท    - ปากกาเคมี จำนวน 20 ด้ามๆละ 15 บาท เป็นเงิน 300 บาท    - สมุด จำนวน 100 เล่มๆละ 10 บาท  เป็นเงิน 1,000 บาท    - ปากกา จำนวน 100 เล่มๆละ 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 14,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวถูกต้องร้อยละ 80
2. อัตราป่วยด้วยโรคติดต่อ ที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนลดลง ร้อยละ 80


>