กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านควน

รพ.สต.ตำบลบ้านควน

1.นางปทุมมาศ โลหะจินดา ตำแหน่ง ผอ.รพ.สต.ตำบลบ้านควน เบอร์โทร 089-4677379
2.นางสุพิชชา หมาดสกุล ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-4884177
3.นางวัชรี บินสอาด ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 089-9743341 (ผู้รับผิดชอบหลัก)
4.นส.โสภิตรา นารีเปน ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ เบอร์โทร 086-9553967
5.นส.นุสรัตน์ นุ่งอาหลี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ เบอร์โทร 088-7955154

หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน

 

59.88
2 ร้อยละของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

 

57.74
3 ร้อยละของกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการส่งต่อเข้าพบเจ้าหน้าที่เพื่อติดตามภาวะสุขภาพ

 

21.19

โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็นภัยเงียบ เพราะโรคดังกล่าวไม่ปรากฏอาการเด่นชัดและเป็นสาเหตุของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกาย เช่น เบาหวานขึ้นตา ไตวายเรื้อรัง แผลที่เท้า และโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในแต่ละปี เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนาน มีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาที่สูง ดังนั้นการคัดกรองเบื้องต้น เป็นการคัดแยกกลุ่ม เพื่อจัดบริการสุขภาพแต่ละกลุ่ม ได้ถูกต้องเหมาะสม เมื่อกลุ่มเสี่ยงรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเองทำให้กลุ่มดังกล่าว สนใจและเฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองมากขึ้นและยังได้รับการเฝ้าระวัง ติดตามภาวะสุขภาพโดยแกนนำ อสม.ในเขตรับผิดชอบที่ดูแลกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่ เพื่อดูแลและส่งต่อพบแพทย์ ให้ได้รับการวินิจฉัย ได้รับยาเร็วที่สุดและได้รับการเฝ้าระวัง ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะตามมาต่อไป
จากผลงานการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในปีงบประมาณ 2566 พบว่าประชาชนยังให้ความสนใจน้อย ในการเข้ารับบริการคัดกรองภาวะสุขภาพเป้าหมายในการคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,919 คน ผลงานที่ได้จำนวน 1,108 คน คิดเป็นร้อยละ 57.74 เป้าหมายในการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวาน จำนวน 2,323 คน ผลงานที่ได้จำนวน 1,391 คน คิดเป็นร้อยละ59.88 พบกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด จำนวน 215 คน กลุ่มสงสัยป่วยที่ต้องได้รับการส่งต่อ พบเจ้าหน้าที่ จำนวน118คน และกลุ่มสงสัยป่วยที่ได้รับการส่งต่อเข้ารับบริการ จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 21.19 จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแล เฝ้าระวังภาวะสุขภาพของตนเองส่งผลให้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มมากขึ้นทุกปี
ดังนั้น รพ.สต.ต.บ้านควน จึงจัดทำโครงการคัดกรอง ค้นหา กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ตำบลบ้านควน ปี 2567 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพอย่างต่อเนื่องแจ้งผลการคัดกรองเพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเองดูแล ติดตาม เฝ้าระวัง กลุ่มเสี่ยง โดยแกนนำ อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมให้ความรู้ 3อ.2ส. เพื่อให้กลุ่มดังกล่าวมีความรู้เรื่องสุขภาพที่พึงประสงค์สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้และกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์เร็วที่สุด ได้รับการดูแลรักษา ติดตาม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตามแนวทางการควบคุมโรคต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน

59.88 80.00
2 เพื่อให้ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง

ร้อยละ 80 ของประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

57.74 80.00
3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่เข้ารับบริการ

ร้อยละ 50 ของกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่เข้ารับบริการ

21.19 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 2,142
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ออกหน่วยรณรงค์และให้บริการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
ออกหน่วยรณรงค์และให้บริการคัดกรอง ค้นหาโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ในประชาชน อายุ 35 ปี ขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. แกนนำ อสม.ลงพื้นที่รณรงค์ตรวจสุขภาพ คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยมี มีการซักประวัติข้อมูลทั่วไป ชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง วัดรอบเอวคำนวณ BMIวัดความดันโลหิตและ ตรวจระดับน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย พร้อมทั้งแจ้งผลการคัดกรองให้ทราบ ลงคัดกรองในชุมชน จำนวน 3 ครั้ง หมู่ที่ 2,3,5,6 และ 7 ตำบลบ้านควน เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการให้มากที่สุด
  2. แยกกลุ่มประชาชน เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. ส่งต่อรายชื่อกลุ่มเสี่ยงให้แกนนำชุมชนโดยมีแกนนำ อสม.ในเขตรับผิดชอบเฝ้าระวัง และติดตามภาวะสุขภาพร่วมกับเจ้าหน้าที่ต่อไป
  4. แกนนำ อสม.ส่งต่อกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ให้พบเจ้าหน้าที่ รพ.สต. เพื่อดูแลส่งต่อให้พบแพทย์ ให้ได้รับการวินิจฉัย และ ได้รับการดูแลรักษาเร็วที่สุด
  5. บันทึกผลการตรวจคัดกรองในโปรแกรม JHCIS ของ รพ.สต.ต่อไป

รายละเอียดงบประมาณ
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแกนนำ อสม.จำนวน 90 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ จำนวน 3 วัน เป็นเงิน 8,100 บาท
2. ค่าเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ในการคัดกรองค้นหาโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- ปากกาเจาะเลือด TERUMO MEDISAFE จำนวน 5 หมู่บ้าน ให้หมู่ละ 2 เครื่อง รวม จำนวน 10 เครื่องๆละ 399 บาท เป็นเงิน 3,990 บาท
- เครื่องวัดความดันโลหิต OMRON HEM-7121 จำนวน 5 หมู่บ้าน ให้หมู่ละ 2 เครื่อง รวม จำนวน 10 เครื่องๆละ 1,950 บาท เป็นเงิน 19,500 บาท
- เครื่องตรวจน้ำตาลในหลอดเลือดฝอย (เฉพาะเครื่อง) TERUMO MEDISAFE EX จำนวน 5 หมู่บ้าน ให้หมู่ละ 1 เครื่อง รวมจำนวน 5 เครื่องๆละ 1,950 บาท เป็นเงิน 9,750 บาท
- สำลีก้อนเล็ก 0.35 กรัม ห่อละ 450 กรัม จำนวน 5 หมู่บ้าน ให้หมู่ละ 3 ถุง รวมจำนวน 15 ถุงๆละ 150 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
- ลำลีชุบเอทิลแอลกอฮอล์ ( 8 ก้อน/แผง ) 1 กล่อง มี 12 แผง จำนวน 5 หมู่บ้าน ให้หมู่ละ 5 กล่อง รวมจำนวน 25 กล่องๆละ 130 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ 80
2.ประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรอง ค้นหาโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 80
3.กลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รู้เท่าทันภาวะสุขภาพตนเอง ร้อยละ 95
4.กลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการส่งต่อพบเจ้าหน้าที่เข้ารับบริการ ร้อยละ 50

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
46840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,840.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป เข้าถึงบริการ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เฝ้าระวังภาวะสุขภาพตนเอง เป็นประจำอย่างต่อเนื่องทุกๆปี
2. ประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงรู้เท่าทันภาวะสุขภาพของตนเองทำให้เกิดการเฝ้าระวังและติดตามภาวะสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง สามารถจัดการกับตนเองได้ เมื่อพบความผิดปกติส่งผลให้ผู้ป่วยรายใหม่ มีจำนวนลดลง
3. ประชาชนที่เป็นกลุ่มสงสัยป่วย ต่อโรคเบาหวาน หรือโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการส่งต่อจากแกนนำ อสม.ให้พบเจ้าหน้าที่รพ.สต. เพื่อติดตามภาวะสุขภาพ และส่งต่อพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโดยเร็วที่สุด ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นต่อไป


>