กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ คนตำบลดอนสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา “ปรับกันเถอะ” ปีที่ 2

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน

1. นางสุจินต์มัจฉาชาญ
2. นางจันทนาอินทกาญจน์
3. นางสาวนิลประดับ อินทศรีมา
4. นางสาวนัจวา สูซารอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน เป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตูของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก จากการคัดกรองและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปปี2567 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขเสริมสุขภาพดอนมีจำนวนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยที่ต้องได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ได้ป่วยของของตำบลดอนอำเภอปะนาเระจังหวัดปัตตานีปีงบประมาณ 2567 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566มีผลการคัดกรองดังนี้ ผลงานการคัดกรองปี งบประมาณ 2566มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ จำนวน 15 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 35 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงพอสมควร ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากการเข้าถึงบริการการคัดกรองที่เพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ มีความจำเป็นต้องมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน ทั้งในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ให้มีทัศนคติเชิงบวกต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี ตลอดจนการจัดการสภาพแวดล้อมของชุมชนที่เหมาะสม เพื่อให้ส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชนในพื้นที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน จึงได้จัดทำโครงการคนตำบลดอนสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา“ปรับกันเถอะ” ปีที่ 2 ปีงบประมาณ 2567

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน มีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว มากขึ้น

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมสม่ำเสมอ  (ร่วมกิจกรรม 3 ครั้ง)

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลได้

2.ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยงสูง) เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลไม่ให้เพิ่มขึ้น (BP ไม่เกิน140/90 และ DTX ไม่เกิน 126)

0.00
3 3.เพื่อสร้างประแสการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

3.ร้อยละ 50 ของกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง) เข้าร่วมกิจกรรมสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตหรือระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (BP ไม่เกิน120/80 และ DTX ไม่เกิน 100)

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 คนตำบลดอนสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา “ปรับกันเถอะ” ปีที่ 2

ชื่อกิจกรรม
คนตำบลดอนสุขภาพดีเริ่มที่ตัวเรา “ปรับกันเถอะ” ปีที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,170.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมากขึ้น
2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลได้
3. ชุมชนให้ความสนใจและตระหนักในกาปรับพฤติกรรมสุขภาพและการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการดูแลสุขภาพที่ดี


>