กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดอน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอน

1. นางสุจินต์ มัจฉาชาญ
2. นางจันทนาอินทกาญจน์
3. นางสาวนิลประดับ อินทศรีมา
4. นางสาวอะหลันมะมิง
5. นางสาวนัจวาสูสารอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เป็นปัญหาสาธารณสุขในปัจจุบันของประเทศไทยซึ่งจากสถิติพบว่า มีการระบาดทั่วทั้งในเขตเมืองและเขตชนบทเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเสี่ยงในการเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของประเทศ โดยในปี 2565 อำเภอปะนาเระ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 – วันที่ 18พฤศจิกายน2566จังหวัดปัตตานี ............อำเภอปะนาเระ มีผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 183 คน คิดเป็นอัตราป่วย 269.56ต่อแสนประชากรไม่มีผู้เสียชีวิต พบมากที่สุดในพื้นที่ของตำบลปะนาเระตำบลบ้านกลางตำบลบ้านน้ำบ่อตำบลท่าน้ำ ตำบลท่าข้ามและบ้านนอก ตามลำดับ ในส่วนของตำบลดอนมีผู้ป่วยจำนวน 6 รายคิดเป็นอัตราป่วย 233.33 ต่อแสนประชากร ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต พบในพื้นที่ของ หมู่ที่ 1 ,2 ,4,6ซึ่งจากการพิจารณาตามหลักระบาดวิทยา ไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นสองปี ซึ่งคาดการณ์ว่า ปี 2566 อาจมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ประกอบกัลป์พื้นที่ของตำบลดอนเองจะมีพื้นที่ค่อนข้างกว้าง มีต้นไม้มาก มีแหล่งน้ำต่าง ๆ หลายแห่ง ทั้งที่ใช้ประโยชน์และไม่ใช้ประโยชน์ ทำให้การดูแลค่อนข้างยาก ไม่ทั่วถึง รวมทั้งมีสถานที่ที่จะต้องดูแลหลายแห่ง คือ โรงเรียนจำนวน 5 แห่ง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่งซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดการระบาดของโรคแล้วส่งผลกระทบต่อเด็กและประชาชนในพื้นที่เองยังมีบางส่วนขาดความรู้ความตระหนักเรื่องของการป้องกันและควบคุมโรค
จากสถานการณ์ดังกล่าว มีความเป็นไปได้สูงที่โรคไข้เลือดออก จะมีการระบาดในพื้นที่ เนื่องจากเป็นโรคเคยเป็นโรคประจำถิ่นของตำบลดอนมาก่อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดอนจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดอน ปีงบประมาณ ๒๕๖7 ขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ได้อย่างทันท่วงทีทั้งกรณีเกิดการระบาด หรือการป้องกันในช่วงปกติ โดยดำเนินการครอบคลุมทั้งโรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สถานที่ราชการ และชุมชนทุกหมู่บ้านอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้แกนนำชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

1.ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

0.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50/แสนประชากร

0.00
3 3.เพื่อให้มีการออกพ่นสารเคมีฆ่ายุงทั้งช่วงปกติและเมื่อมีการระบาด

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 90
กลุ่มผู้สูงอายุ 60
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 06/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดอน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลดอน ปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
6 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17350.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 17,350.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก สามารถดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคได้ทั้งในช่วงปกติและช่วงที่มีการระบาด


>