กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแว่นตาใส ใส่ใจสุขภาพตาผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุยุด

นย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ฯตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี

ตำบลปูยุด อำเภอเมือง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันนี้ พบว่ามีผู้ที่มีปัญหาทางสายตาเพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๕ ได้เน้นหลักการสร้างเสริมสุขภาพ อีกทั้งยังสนับสนุนการสร้างแนวนโยบายให้ประชาชนเข้าถึงบริการอย่างเสมอภาค เท่าเทียมกัน รวมถึงให้ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร หน่วยงานต่างๆได้มีส่วนร่วมในการช่วยเสริมสร้างสุขภาพ ได้ช่วยเหลือกลุ่มในวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาทางสายตาให้กับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาในวัยผู้สูงอายุตาเป็นอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับสายตา อาจทำให้เกิดการดำรงชีวิตเปลี่ยนไป ดังนั้นการดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตา จึงมีความจำเป็นและสำคัญมากสำหรับทุกคน ซึ่งปัญหาทางสายตาเป็นปัญหาหนึ่งที่พบได้ทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาการเสื่อมของดวงตาตามธรรมชาติเมื่อมีอายุมากขึ้น ซึ่งปัญหาทางสายตาที่พบบ่อยเช่นสายตายาว สายตาเอียง ต้อกระจก จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการสวมใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม และจากการสำรวจและคัดกรองผู้สูงอายุ 9 ด้าน จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด ๗๕๐ คน พบผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงด้านสายตา จำนวน 187 คนคิดเป็นร้อยละ 25 และต้องการเข้ารับการตรวจรักษาจำนวน 100 คน ดังนั้นศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ฯตำบลปูยุด ได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพดวงตาของผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง จึงได้จัดทำโครงการโครงการแว่นตาใส ใส่ใจสุขภาพตาผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุในเขตตำบลปูยุด ได้รับการตรวจคัดกรองและแก้ไขปัญหาด้านสายตา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติเพื่อสร้างเสริมสุขภาพตาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาวะพึ่งพิงของครอบครัวและสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อประเมินสุขภาพสายตาและตรวจคัดกรองโรคทางตา

ผู้สูงอายุได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางตาไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
2 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีความผิดปกติทางสายตาสามารถมองเห็นได้ปกติ

ผู้สูงอายุที่มีปัญหาทางสายตาได้รับแว่นสายตาที่เหมาะสม

0.00
3 เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุที่มีภาวะโรคทางตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

ผู้สูงอายุที่มีภาระโรคทางตาได้รับการรักษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 60

0.00
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความช่วยเหลือ และสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

ผู้สูงอายุไม้น้อยกว่าร้อยละ 100 ที่ได้เข้าร่วมโครงการได้รับความช่วยเหลือ แก้ปัญหาความผิดปกติทางสายตาและสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/05/2024

กำหนดเสร็จ 31/05/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมผู้สูงอายุเรื่องการปฏิบัติตัว ก่อนการตรวจคัดกรองสายตา โดย จนท. สอน.ปูยุด

ชื่อกิจกรรม
อบรมผู้สูงอายุเรื่องการปฏิบัติตัว ก่อนการตรวจคัดกรองสายตา โดย จนท. สอน.ปูยุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่าง สำหรับผู้สูงอายุเพื่อคัดกรองสายตา จำนวน 120 คน ๆ ละ 30 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7,200 บาท ค่าอาหารกลางวัน สำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมฯ จำนวน 120 คน ๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท ค่าวิทยากร จำนวน 5 ชม.ๆ ละ 300 บ.เป็นเงิน 1,500 บาท รวมเป็นเงิน 17,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
17100.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองตรวจวัดสายตาโดยพยาบาลเวชปฏิบัติทางจักษุ/จนท.สอน.ปูยุด

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองตรวจวัดสายตาโดยพยาบาลเวชปฏิบัติทางจักษุ/จนท.สอน.ปูยุด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าบริการตรวจคัดกรองโรคทางสายตา โดยเวชปฏิบัติจักษุ จำนวน 120 คน ๆ ละ 50 บาทเป็นเงิน 6,000 บาท ค่าบริการตรวจวัดสายตา โดยช่างเทคนิคสายตานอกสถานที่ จำนวน 120 คน ๆละ 50 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท แว่นตาสำหรับผู้สูงอายุมีปัญหาทางสายตา (+ยาว) หรือกันแสง จำนวน 100 คน ๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 25,000 บาท แว่นตาสำหรับผู้มีสานตา (-สั้น) หรือเอียง จำนวน 20 คน ๆ ละ 500 บาทเป็นเงิน 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 47,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 พฤษภาคม 2567 ถึง 30 พฤษภาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
47000.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกอบรมการดูแลสุขภาพดวงตา/พิธีมอบแว่นสายตา

ชื่อกิจกรรม
ฝึกอบรมการดูแลสุขภาพดวงตา/พิธีมอบแว่นสายตา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้รับแว่น 120 คน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง /กรรมการ สปสช. จำนวน 40 คน รวม 160 คนๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท ค่าวิทยากร 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800 บาท ค่าป้ายไวนิล จำนวน 1 ป้าย ขนาด 3*1.2 ม. ตร.ม.ละ 300 บาท  เป็นเงิน  1,080 บาท รวมทั้งสิ้น 7,680 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7680.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 71,780.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุที่ตรวจพบโรคทางตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที และลดการสูญเสียดวงตาในผู้ที่ตรวจพบโรคทางตา
2. ผู้สูงอายุได้รับแว่นตาเพื่อแก้ปัญหาด้านการมองเห็นสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
3. ผู้สูงอายุได้รับมอบแว่นสายตามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


>