กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (บ้านพรุชบา)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ฝากเลี้ยงไว้ในศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเป็นสถานที่มีเด็กอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก เมื่อเด็กเกิดการเจ็บป่วยจะสามารถแพร่เชื้อด้วยการระบาดของโรคไปสู่เด็กคนอื่นๆได้ง่าย ในเด็กเล็กที่มีภูมิต้านทานต่ำจะป่วยบ่อยโรคที่พบบ่อยได้แก่ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปากโรคตาแดง เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและสุขภาพโดยรวมของเด็ก การระบาดของโรคติดต่อต่างๆอาจจะต้องปิดโรงเรียน เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล และผู้ปกครองต้องหยุดงานเพื่อดูแลลูกหลานอยู่ที่บ้านทำให้ขาดรายได้ จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ถึงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (บ้านพรุชบา) เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กได้มีความรู้และมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อของเด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้องและเพื่อส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นศูนย์เด็กเล็กปลอดโรคตามเกณฑ์มาตรฐานศูนย์เด็กเล็กคุณภาพ
ปีการศึกษา 2565ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (บ้านพรุชบา)มีเด็กเล็กจำนวน 22 คน ป่วยเป็นโรคมือเท้าปาก จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 13.64 ซึ่งในประจำปีการศึกษา 2566 มีเด็กเล็กจำนวน23 คน เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคและถือปฏิบัติตามมาตรการหรือแนวทางที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข กำหนด จึงขอเสนออนุมัติ “โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา (บ้านพรุชบา)”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง อีสุกอีใส ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ร้อยละ 90 ลดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อ ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง จำนวน 30 คน มีความรู้ในวิธีการป้องกันโรคติดต่อภายในเด็กเล็ก

ร้อยละ 100 ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ในวิธีการป้องกัน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การเตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
การเตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมวางแผนการดำเนินงานวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโรคติดต่อสำหรับเด็กเล็ก อายุ 2-5 ปี
  2. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรม

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  (25 บาท x 10 คน x 1 วัน) เป็นเงิน 250 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนกำหนดกิจกรรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
250.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชาสัมพันธ์และอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ - จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด  1.2 x 2.4  เมตร  จำนวน  1  ป้าย
- ป้ายฟิวเจอร์บอร์ด สำหรับการแนะนำวิธีการ ป้องกันโรคติดต่อ ขนาด 1x2 เมตร จำนวน 1 ป้าย
๒. อบรมให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก อายุ 2-5 ปี - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร  จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 432  บาท - ค่าป้ายฟิวเจอร์บอร์ด สำหรับการแนะนำวิธีการป้องกัน โรคติดต่อ ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน  1 ป้าย เป็นเงิน  1,000  บาท
- ค่าป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อในเด็กเล็กอายุ 2-5 ปี ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน  1 ป้าย เป็นเงิน  1,000  บาท
- ค่าป้ายฟิวเจอร์บอร์ด ขั้นตอนการประสานงานติดต่อกับหน่วยพยาบาลฉุกเฉิน ขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน  1 ป้าย เป็นเงิน  1,000  บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร (1 คน x 2 ชม. x 600 บาท)เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  (25 บาท x 30 คน)  เป็นเงิน  750  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 31 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อบรมให้ความรู้กับครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองป้องกันโรคติดต่อในเด็กเล็ก อายุ 2-5 ปี

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5382.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์คัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจัดซื้อเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย จำนวน 1 เครื่องเป็นเงิน1,050  บาท
  • ค่าจัดซื้อสบู่เหลวล้างมือ ขนาด 400 มล.(115 บาท x 10 ขวด)  เป็นเงิน  1,150 บาท
  • ค่าจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สำหรับเด็ก (55 บาท x 5 กล่อง) เป็นเงิน 275  บาท
  • ค่าจัดซื้อหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ สำหรับผู้ใหญ่  (55 บาท x 3 กล่อง) เป็นเงิน 165 บาท
  • ค่าจัดซื้อถุงมือยาง  (ทางการแพทย์) (110 บาท x 5 กล่อง) เป็นเงิน 550 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

๑. คัดกรองและแยกเด็กป่วยที่มีอาการไข้ น้ำมูกไหล แผลในปาก อุจจาระร่วง และอาการผิดปกติอื่นๆ เช่น ตาแดง คางทูม ผิวหนังบวมแดงอักเสบ ตุ่มน้ำพอง ตุ่มหนอง  หรือบาดแผลตามร่างกาย
๒. แยกเด็กเล็กที่มีอาการเข้าข่ายอาการของโรคติดต่อ
3. ติดต่อผู้ปกครองให้รับกลับ
4. เด็กเล็กที่ป่วยให้หยุดเรียนอย่างน้อย 7 วัน หรือมากกว่าจนกว่าอาการป่วยจะหาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3190.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง - ค่าจัดซื้อน้ำยาฆ่าเชื้อและทำความสะอาดเอนกประสงค์ ขนาด 1 ลิตร (750 บาท x 5 ขวด) เป็นเงิน 3,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3750.00

กิจกรรมที่ 5 Isolation Unit แยกเด็กเล็กที่มีอาการเข้าข่ายอาการของโรคติดต่อ

ชื่อกิจกรรม
Isolation Unit แยกเด็กเล็กที่มีอาการเข้าข่ายอาการของโรคติดต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ตู้ยา  ขนาด  59 x 15 x 50 ซม. จำนวน 1 ใบ เป็นเงิน 750 บาท
  • ชุดปฐมพยาบาล จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 450 บาท
  • เตียงนอน ขนาด  3.5  ฟุต  พร้อมด้วย เบาะ, ผ้าปูที่นอน, หมอน, ผ้าห่ม  จำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 7,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

Isolation Unit แยกเด็กเล็กที่มีอาการเข้าข่ายอาการของโรคติดต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคไปในวงกว้าง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,572.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. การแพร่ระบาดของโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โรคมือเท้าปาก โรคตาแดง โรคอุจจาระร่วง อีสุกอีใส ภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ลดลง
2. ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครอง มีความรู้ในวิธีการป้องกันโรคติดต่อภายในเด็กเล็ก


>