กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อยตาไวรู้ทันภัยสุขภาพปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลแม่ขรี

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอตะโหมด

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลแม่ขรี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันมีสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ออกวางจำหน่ายหลายชนิดหลายยี่ห้อ ให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ มีทั้งที่มีประโยชน์และมีโทษโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนมีการแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก เช่น ตรวจพบยาอันตรายที่จำหน่ายในร้านขายของชำ ตรวจพบเครื่องสำอางที่มีสารห้ามใช้ ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ขายตามตลาดนัด หรือช่องทางออนไลน์ ซึ่งประชาชนอาจเกิดอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ การมีเครื่องมือที่เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างประชาชนกับหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค จะช่วยแก้ปัญหาการแพร่กระจายของผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่เหมาะสมในชุมชนได้อย่างตรงจุดมากขึ้นช่วยลดผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนได้
การดำเนินงานเครือข่ายผู้บริโภคของอำเภอตะโหมด ได้ดำเนินการร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
โดยโรงเรียนก็เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายผู้บริโภค ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในการร่วมกันแก้ปัญหาด้านการบริโภคอำเภอตะโหมด
ดังนั้น จึงจัดทำโครงการ อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567 โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือการจัดอบรมให้ความรู้แก่ ครู นักเรียน อย.น้อย ได้มีความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot และเพื่อให้เกิดต้นแบบระบบและแนวทางการจัดการปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชน โดย “TaWai” เป็นเครื่องมือและระบบจัดการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและการโฆษณา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ ผลิตภัณฑ์ต้องสงสัย ผลิตภัณฑ์ที่มีการโฆษณาเกินจริง ในส่วนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ คือการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภคสามารถเข้าถึงและครอบคลุมประชาชนในเขตอำเภอตะโหมดมากขึ้น ส่งผลให้ประชาชนมีความปลอดภัยในการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพมากขึ้นด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะการดำเนินกิจกรรมคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ แก่เครือข่ายผู้บริโภคตัวน้อย (อย.น้อย) ทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติงานให้มีศักยภาพมากขึ้น

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
2 2. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ในการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อประชาชนในชุมชน อย่างถูกต้องเหมาะสม ผ่านระบบ TaWai Chat Bot

ประมวลผลจากแบบสอบถามหลังการอบรมและจากการฝึกปฏิบัติ

0.00
3 3. เพื่อให้การดำเนินงานด้านเครือข่ายผู้บริโภคเกิดความต่อเนื่องและเข้มแข็ง

ประมวลผลจากการรายงาน ติดตาม และเฝ้าระวัง ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายและอาจก่อให้เกิดอันตราย ต่อประชาชนในชุมชน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 31/01/2024

กำหนดเสร็จ 15/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ขั้นเตรียม

ชื่อกิจกรรม
1. ขั้นเตรียม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ส่งโครงการ และวางแผนการดำเนินงาน

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มกราคม 2567 ถึง 1 มีนาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2.วิธีดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
2.วิธีดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน

2.จัดทำโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลเขาหัวช้าง

3.ประสานงานการจัดอบรมโครงการกับโรงเรียนเป้าหมายและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลในพื้นที่

4.จัดอบรมโครงการ อย.น้อย ตาไว รู้ทันภัยสุขภาพ ปี 2567จำนวน1วันโดยมีกิจกรรมดังนี้
-ทดสอบ pre test
-ให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ อย.น้อยควรรู้

-ให้ความรู้เรื่อง Tawai for healthและ การรายงาน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot

-ฝึกปฏิบัติการรายงาน TaWai Chat Bot

-ทดสอบ posttest

กิจกรรม - จัดอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายจำนวน 1 รุ่น กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนตะโหมดครูประจำชั้น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โดยมีกิจกรรมดังนี้

1.ทดสอบ pre test
2.ให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคที่ อย.น้อยควรรู้
3.ให้ความรู้เรื่อง Tawai for healthและ การรายงาน ผ่านระบบ TaWai Chat Bot

4.ฝึกปฏิบัติการรายงาน TaWai Chat Bot
5.ทดสอบ posttest

งบประมาณ

1.ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากร และผู้จัดการอบรมจำนวน 1 มื้อๆละ65 บาทจำนวน55 คน เป็นเงิน3,575 บาท

2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้ารับการอบรม คณะวิทยากรและผู้จัดการอบรมจำนวน2มื้อ ๆ ละ25 บาทจำนวน55 คน เป็นเงิน2,750 บาท

3.ค่าวัสดุในการอบรมเป็นเงิน 1,000 บาท (ตามรายละเอียดที่แนบ)

4.ค่าป้ายไวนิลโครงการ จำนวน 1 ผืน(ขนาด 1.2X 2.4 ม.) เป็นเงิน500บาท

5.ค่าสมนาคุณวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท X 2 คนX2 ชั่วโมงเป็นเงิน2,400 บาท

รวมเป็นเงิน ...10,225... บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 1 มิถุนายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10225.00

กิจกรรมที่ 3 3.ขั้นสรุป

ชื่อกิจกรรม
3.ขั้นสรุป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การประเมินผลและสรุปผลโครงการ
2.รายงานผลการดำเนินโครงการให้ผู้บริหารทราบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2567 ถึง 15 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,225.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ชมรม อย.น้อย มีการพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถของสมาชิกมากขึ้น
2.เกิดความร่วมมือร่วมใจจากเครือข่ายผู้บริโภค
3.ประชาชนอำเภอตะโหมดมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น


>