กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการรวมพลังชุมชนป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกตำบลบางขุนทอง ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางขุนทอง

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางขุนทอง

1. นางสาวนูรีฮ๊ะ อูมา
2. นางพยอม คงชำนิ
3. นางประนอม พรหมเจียม
4. นางดวงดาว พรมเจียม
5. นางนูรีซา ดือเย๊ะ

ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลัการและเหตุผล
จากสถานการณ์โรคในเขตตำบลบางขุนทอง ในปี 2559 – 2564 พบผู้ป่วยจำนวน 4, 9, 0, 8, 9 และ 4 ราย ตามลำดับ ตำบลบางขุนทองมีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 จนถึง ปี 2564 แม้ใน ปี 2559 และ 2561 จะมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ในอัตราที่ต่ำ แต่ปี 2562 มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบางขุนทอง ซึ่งมีอัตราป่วยสูงมาก ถึง 154.41 ต่อแสนประชากร และตำบลอื่นๆที่อยู่รอบๆข้างก็มีการระบาดของโรค ทุกปี ประชากรในตำบลบางขุนทองก็มีการเดินทางไปหาญาตินอกพื้นที่ หลายครั้งที่ประชาชน ไปรับเชื้อจากที่อื่น และกลับมาป่วยที่บ้าน การที่ประชาชนไปมาหาสู่กันอย่างต่อเนื่องนี้โรคไข้เลือดออกจึงยังเป็นปัญหาที่สำคัญของประชาชนในหมู่บ้าน
เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ได้ผลและมีประสิทธิภาพนั้น จึงจำเป็นจะต้องร่วมมือกันทุกๆ ฝ่าย ทั้งองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน โรงเรียน อาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่ ร่วมบูรณาการกัน ป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคตลอดเวลา เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุง ไม่ให้มีลูกน้ำยุง สุ่มสำรวจความชุกลูกน้ำยุง ใส่ทรายฆ่าลูกน้ำยุง รณรงค์ให้ประชาชนเกิดความตื่นตัวในการกำจัดขยะ การป้องกันและควบคุมโรค สร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบางขุนทองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวน และอัตราป่วยด้วยกลุ่มโรคไข้เลือดออกในประชาชนทุกกลุ่มวัย

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชาชนทุกกลุ่มวัยในชุมชนไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
2 เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกให้บุคคล ครอบครัว ชุมน ให้ช่วยกันดูแลและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 70 ประชากรทุกกลุ่มวัยในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

0.00
3 เพื่อสร้างความร่วมมือในชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ร้อยละ 50 ชุมชนร่วมมือในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 27/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆละ 60 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 2 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนมีควมรู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออกและการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำ้ยุงลาย และสามารถนำไปปฏิบัติได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12000.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และควบคุมโรคไขเลือดออกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และควบคุมโรคไขเลือดออกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน - ป้ายประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้ายๆละ 570 บาท เป็นเงิน 1,710 บาท - ค่าจัดซื้อทรายอะเบท จำนวน 2 ถังๆละ 5,000 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่านำ้ยาพ่นหมอกควัน จำนวน 2 ขวดๆละ 2,000 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท - ค่าโลชั่นกันยุง จำนวน 2 ลังๆละ 3,000 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าสเปร์ยพ่นฆ่ายุง จำนวน 5,000 บาท - ค่าพ่นหมอกควัน เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดโรคไข้เลือดในวงกว้างในพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
29710.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 41,710.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนมีความความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไขเลือดออกและลดการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
2. เกิดความร่วมมือระหว่างประชาชน องค์กรในชุมชน ในการมีส่วนร่วมในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อที่นำโดยแมลงอย่างต่อเนื่องและสมำ่เสมอ
3. สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่


>