กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาและส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็กในชุมชน เทศบาลตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ปี 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลยะรัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง

นางสาวอาแอเสาะสะดียามู
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

ชุมชนเขตเทศบาลตำบลยะรัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถาบันครอบครัวเป็นเริ่มแรกของการดูแลมนุษย์แบบบูรณาการบุคคลจะมีสุขภาพแบบองค์ทั้งกาย จิตวิญญาณญาติที่ดีได้เริ่มจากการดูแลเอาใจใส่ของบุคคลในครอบครัวและสังคมการดูแลควรเริ่มจากการวางแผนครอบครัว การมีบุตรเมื่อพร้อม การดูแลครรภ์ตั้งแต่ เริ่มตั้งครรภ์ (ก่อน 12 สัปดาห์ ของอายุครรภ์) การดำเนินการตั้งครรภ์ที่ดี มีโภชนาการและพัฒนาการของทารกในครรภ์ที่ดี การคลอดที่ปลอดภัยและการเลี้ยงลูกหลังคลอดด้วยนมแม่เป็นกระบวนการวางรากฐานพัฒนาการเด็ก โดยได้รับอาหารที่เหมาะสมเพียงพอ พร้อมสร้างความรักความอบอุ่น และพัฒนาสมองของลูกตั้งแต่แรกเกิดลูกได้รับการเลี้ยงดูด้วยความรักความอบอุ่นตั้งแต่แรกเริ่มของการมีชีวิตด้วยการได้กินนมแม่และการโอบกอดเนื้อแนบเนื้อครั้งแรกในห้องคลอด สายใยรักที่ถ่ายทอดสู่ลูกจะเป็นแรงบันดาลใจให้แม่ไม่ทอดทิ้งลูก เลี้ยงลูกด้วยความรักความอบอุ่นทางใจ ซึ่งจะส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโต พัฒนาการสมวัย และเติบโตเป็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่มีสุขภาพกายและจิตที่ดี ไม่ก่อปัญหาสังคมเมื่อเติบโตในอนาคต สถานการณ์งานอนามัยแม่และเด็กในตำบลยะรัง ปี 2566 มีหญิงมีครรภ์ ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ร้อยละ 83. 31 หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ร้อยละ 84.27 มารดาและทารกได้รับการเยี่ยมหลังคลอด 3 ครั้ง ร้อยละ 84.30 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง ได้จัดทำโครงการดูแลส่งเสริมสุขภาพแม่และเด็ก โดยร่วมกับคณะกรรมการดำเนินงานตำบลนมแม่เพื่อสายใยรักแห่งครอบครัว และเครือข่ายสุขภาพตำบลยะรัง ขึ้นเพื่อพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานโดยเน้นการฝากครรภ์เร็วก่อน 12 สัปดาห์รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง 2.เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 3.เพื่อให้อาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 4.เพื่อส่งเสริมให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กแรกเกิด – 6 เดือน

1.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ มีการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ และฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง 2.ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์และการดูแลหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 3.ร้อยละของอาสาสมัครมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดตามดูแลหญิงตั้งครรภ์ และมารดาหลังคลอดได้อย่างถูกต้อง 4.ร้อยละร้อยมารดาหลังคลอดมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเด็กแรกเกิด – 6 เดือน

84.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 30
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การสร้างคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย

ชื่อกิจกรรม
การสร้างคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ครอบครัวและชุมชน ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 2 ครั้ง เป็นเงิน4,800บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ/วันละ 2 มื้อ จำนวน2 ครั้งเป็นเงิน4,200บาท ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 10 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน3,000บาท ค่าถ่ายเอกสารคู่มือ เล่มละ 30 บาท จำนวน 50 เล่ม เป็นเงิน1,500บาท หลักสูตรการอบรม - รู้จักสมุดสีชมพูPassport of life - 5เรื่องที่ต้องตรวจเพื่อลูกน้อยปลอดโรค ปลอดภัย - เพิ่มสมองลูกในท้อง กินวิตามินเสริม ไอโอดีน ธาตุเหล็ก โฟลิก ไข่ นม อาหารสำหรับลูกน้อยในครรภ์ - อาหารที่ควรงดหรือหลีกเลี่ยงสำหรับ หญิงตั้งครรภ์ - ยาบำ รุงสำหรับหญิงตั้งครรภ์ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟเลต - การดูแลสุขภาพช่องปาก - สัญญานอันตรายของหญิงตั้งครรภ์และ ลูกในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ทำไมนมแม่อย่างเดียว6เดือน ผลกระทบ ของการให้ลูกดูดนมขวดหรือนํ้าหรือ อาหารอื่นๆ ขณะให้ลูกกินนมแม่ - สัญญานชีวิตลูกในครรภ์และการเฝ้า ระวังลูกดิ้น - อาการผิดปกติที่คุณแม่ต้องมาโรงพยาบาล และสังเกตอาการแทรกซ้อนที่เป็น อันตรายต่อแม่และลูกครรภ์ - การออกกำลังกายและการบริหารร่างกาย - ศรัทธานมแม่ : ฝึก 3 ด. (วันที่ 1) - คุณพ่อผู้ช่วยคนสำคัญ : ฝึกอาบนํ้าลูก (วันที่ 1) - ลูกกินนมพอไหม ทำ ไงล่ะ (วันที่ 2) - อาการผิดปกติของแม่และลูกที่ควรรู้ เตรียมแม่ไปทำ งานลูกกินนมแม่ต่อเนื่อง - ส่งเสริมพัฒนาการตามวัยด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน - แบ่งกลุ่ม ซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเน้นปฏิบัติ

หมายเหตุงบประมาณ ถั๋วเฉลี่ยตามที่จ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

กิจกรรมที่ 2 เยี่ยมประเมินเชิงรุก คุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูกน้อยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมประเมินเชิงรุก คุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูกน้อยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เยี่ยมประเมินเชิงรุก คุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูกน้อยในชุมชน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของทีมประเมิน วันละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท/มื้อ4 วัน จำนวน 4 คนเป็นเงิน 1,120บาท - ค่าอาหารกลางวันของทีมประเมิน วันละ 1 มื้อ ๆ ละ 80 บาท จำนวน 4 วัน 4 คน เป็นเงิน 1,280 บาท

หมายเหตุงบประมาณ ถั๋วเฉลี่ยตามที่จ่ายจริง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลตนเองและลูกน้อย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณ แม่ตัวอย่างด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณ แม่ตัวอย่างด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมถอดบทเรียน และประกาศเกียรติคุณ แม่ตัวอย่างด้านการดูแลสุขภาพตนเองและลูก -ค่าอาหารกลางวัน สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 80 บาท/มื้อ จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน2,400บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ ดำเนินงาน จำนวน 30 คน ๆ ละ 35 บาท/มื้อ/วันละ 2 มื้อ จำนวน1 ครั้งเป็นเงิน2,100บาท -ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 1 คน เป็นเงิน1,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคุณแม่ต้นแบบด้านการดูแลสุขภาพของตนเองและลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,900.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณถั๋วเฉลี่ยตามที่จ่ายจริง

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ 5 ครั้งตามเกณฑ์
2.หญิงตั้งครรภ์มารับการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
3.ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย


>