กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กตำบลบุดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า5 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำ มักเกิดจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การไม่มีรั้วรอบแหล่งน้ำ เพื่อแบ่งแยกเด็กออกจากแหล่งน้ำ การจัดให้มีพื้นที่เล่นที่ไม่เหมาะสมให้แก่เด็ก และการที่ผู้ปกครองผู้ดูแลเด็กและเด็กไม่มีความรู้ในการกู้ชีพ/ ปฐมพยาบาลผิดวิธี เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการบรรจุเรื่องการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กไว้ในกิจกรรมกาเรียนรู้ของเด็ก เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้สอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยงโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางการสอนให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง หมายถึง สอนให้เด็กรู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง เน้นการสอน “อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม” และการตะโกนขอความช่วยเหลือ และผู้ปกครองถือว่ามีความสำคัญเป็นอยากมาก ต้องมีความรู้ ในการสอนบุตรหลาน ให้รู้จักแหล่งน้ำเสี่ยง และหากเด็กจมน้ำต้องมีความรู้ความเข้าใจในการกู้ชีพ ปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี ซึ่งสถานการณ์การจมน้ำในเด็กของพื้นที่ตำบลบุดี ช่วง 3 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 – 2566 พบเด็กจมน้ำ จำนวน 3 ราย จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลบุดี จึงเล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันการจมน้ำในเด็กของพื้นที่ตำบลบุดี จึงจัดโครงการป้องกันการจมน้ำในเด็กตำบลบุดีขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างให้กับเด็กในการช่วยเหลือตนเอง สามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้

ร้อยละ 100 กลุ่มเป้าหมาย สามารถสาธิตการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ถูกต้อง

1.00 1.00
2 2.เพื่อฝึกอบรมและปฏิบัติทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ และสร้างแกนนำด้านการป้องกันการจมน้ำในชุมชน

อัตราการเสียชีวิตจากอบัติเหตุทางน้ำลดลง

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 40
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 21
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้
    1.1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยทางน้ำ เป็นการให้ความรู้และสอนให้เด็กรู้จัก

- แหล่งน้ำเสี่ยงทั้งในบ้าน รอบบ้าน ละแวกบ้านและในชุมชน - สภาพแหล่งน้ำ เช่น น้ำลึก น้ำตื้น น้ำวนปรากฏการณ์ Rip Current - วิธีการลงและขึ้นแหล่งน้ำด้วยความปลอดภัย - ทักษะความปลอดภัยในกิจกรรมทาง - ความปลอดภัยในการเดินทางทางน้ำ         1.2 การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ เป็นการสอนให้เด็กรู้จักการร้องขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่  การช่วยผู้ประสบภัยทางน้ำด้วยการโยน ยื่น อุปกรณ์ เช่น ขวดน้ำดื่มพลาสติก  ถังแกลลอน  เสื้อชูชีพ ท่อ PVC ไม้ไผ่ กิ่งไม้   การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกวิธีและช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) แก่ผู้ตกน้ำ จมน้ำ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน (100 คน) ครูอนามัยโรงเรียน ( 4 คน) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (8 คน) 1. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 วัน x 3 ชั่วโมงละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 วัน x 4 คน x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 112 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 112 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35บาท เป็นเงิน 7,840 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ 2,500 บาท      - ชุดสื่อการอบรม  100 ชุด      - ปากกา 100 ด้าม กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน นักเรียน (100 คน) ครูอนามัยโรงเรียน ( 4 คน) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (8 คน) 1. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย จำนวน 1 วัน x 3 ชั่วโมงละ 600 บาท  เป็นเงิน 1,800  บาท 2. ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 วัน x 4 คน x 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 7,200 บาท 3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 112 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 8,400 บาท 4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 112 คนๆละ 2 มื้อๆละ 35บาท เป็นเงิน 7,840 บาท 5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ 2,500 บาท      - ชุดสื่อการอบรม  100 ชุด      - ปากกา 100 ด้าม กิจกรรมที่ 1 รวมเป็นเงิน 27,740 บาท บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
27740.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติ

- การเอาชีวิตรอดในน้ำ  การใช้อุปกรณ์ช่วยในการเอาชีวิตรอด เช่น ขวดน้ำพลาสติก รองเท้าแตะฟองน้ำ  การเคลื่อนที่ไปจับอุปกรณ์ลอยน้ำในน้ำลึก และการเลือกใช้เสื้อชูชีพ   - ฝึกทักษะการลอยตัวในน้ำ

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ 1,200 บาท      - หมวกว่ายน้ำ 60 ชิ้น วันที่ 1 เด็กศพด.(40 คน) นักเรียนผู้หญิง (50 คน) ครูอนามัยโรงเรียนหรือครูพี่เลี้ยง (9 คน) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (8 คน)
  2. ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 วัน x 5 คน x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 12,000 บาท
  3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 107 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 8,025 บาท
  4. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 107 คนๆละ 35บาท เป็นเงิน 3,745 บาท
  5. ค่าน้ำมันรถโดยสาร จำนวน 2 คันๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000.- บาท วันที่ 2 เด็กนักเรียนชาย (50 คน) ครูอนามัยโรงเรียนหรือครูพี่เลี้ยง (4 คน) และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (8 คน)
  6. ค่าตอบแทนวิทยากรฝึกปฏิบัติ จำนวน 1 วัน x 5 คน x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน 12,000 บาท
  7. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 62 คนๆละ 75 บาท เป็นเงิน 4,650 บาท
  8. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 62 คนๆละ 35บาท เป็นเงิน 2,170 บาท
  9. ค่าน้ำมันรถโดยสาร จำนวน 1 คัน เป็นเงิน 1,500 บาท

กิจกรรมที่ 2 รวมเป็นเงิน 48,290 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48290.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 76,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการช่วยเหลือตนเองสามารถเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กสามารถช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยจากการจมน้ำได้
2. กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ


>