กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา

อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวา

1…นางสาวเจะเส๊าะ ดอเล๊าะ…
2…นางสาวซียะห์ จะปะกียา..
3…นางสาวฮายาตี แวหามะ…
4…นางสาวมารีย๊ะ เฮงปิยา..
5…นางสาวนูรีซา เจ๊ะมะ.

ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิกจังหวัดปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ จากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร สภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัญหาสุขภาพของประชาชนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ เมื่อมีการพัฒนาทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข การป่วยด้วยโรคติดต่อก็ลดลงเปลี่ยนมาเป็นโรคไม่ติดต่อ ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่นโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานและหลอดเลือด หัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงจากการดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งการบริโภค จะบริโภคเพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่รอดหรือบางรายบริโภคเพื่อความอิ่มอร่อย ไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการที่ร่างกายจำเป็นต้องนำไปใช้ จึงทำให้เกิดการขาดความสมดุลของสารอาหาร เช่น ภาวะอ้วนมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การไม่ออกกำลังกาย การมีความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวัน และการมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง หากเปรียบเทียบระหว่างครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูงกับครอบครัวที่สมาชิกไม่เป็นโรคย่อมมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดสมาชิกในครอบครัวที่ไม่เป็นโรคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง สามารถทำงานทำรายได้มาสู่ครอบครัว ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคง ส่งผลให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่อย่างมีความสุข ตรงกันข้ามกับครอบครัวที่มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ครอบครัวสูญเสียแรงงาน สูญเสียรายได้ และยังเพิ่มค่าใช้จ่าย ในการดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในครอบครัวตามมาอีกปัญหาหนึ่งด้วย
ตำบลบางตาวามีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 2 หมู่บ้าน จากการดำเนินงานเฝ้าระวังตรวจคัดกรอง ในปีงบประมาณ 2566 ตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 505 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 41 คน เสี่ยงสูงต่อโรคความดันโลหิตสูง 13 คน และเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 12 คน เสี่ยงสูงต่อโรคเบาหวาน 3 คนจากการดำเนินในการตรวจคัดกรองในปี 2566 พบว่าองค์ความรู้และทักษะการใช้เครื่องวัดความดันเครื่องตรวจเบาหวานตลอดจนการเก็บรักษาของอาสาสมัครสาธารณสุขต้องมีการฟื้นฟูเพื่อให้การตรวจคัดกรองมีประสิทธิภาพตลอดจนเครื่องวัดความดันโลหิตเครื่องตรวจเบาหวานชำรุดเนื่องจากครบอายุการใช้งาน จากปัญหาดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวา จึงได้จัดทำ “โครงการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง” ขึ้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนในเชิงรุกได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานอย่างน้อย ร้อยละ 90

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรอง ได้รับการติดตามเพื่อวินิจฉัย

 

0.00
3 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานมีระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่ในระดับปกติร้อยละ 50

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/11/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และ แกนนำสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุข และ แกนนำสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวัน 75 บาทx50 คน = 3750 [บาท ค่าอาหารว่าง2 มื้อๆละ 35 บาท x 50 คน= 3500 ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1x2 เมตร =500 บาท ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง ๆละ 600 บาท = 1800 บาท ค่าวัสดุอุปกรณ์ 2380

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีความรู้และมีแผนในการลงพื้นที่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11930.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวัน 75 บาท x 50 คน =3,750    บาท -ค่าอาหารว่าง  35 บาท x 50 คน = 3,500  บาท - ค่าวิทยากร จำนวน  3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท =1800

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับความรู้หลังจากอบรม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9050.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงาน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงาน อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางตาวาและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 35 บาทx43 คน= 1505

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1505.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 3 เครื่อง            1300 บาทx3เครื่อง =3900 บาท    -เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด จำนวน 2 เครื่อง         1650 บาทx2 เครื่อง=3300 บาท    -เครื่องชั่งน้ำหนัก 3 เครื่อง                         930 บาท x 3 เครื่อง = 2790 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9960.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,445.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 90
2. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองแล้วพบโรคได้รับการรักษาตามเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ100
3.กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตอยู่ในระดับปกติอย่างน้อยร้อยละ 60
4. กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรองได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องลดอัตราป่วยและพิการ


>