กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาวะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

15.00

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี
และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กนักเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5-14 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคระบาดของโรคไข้เลือดออก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในการกำจัดยุงลาย/ยุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจ ป้องกันไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และพ่นหมอกควัน ตามหมู่บ้าน ชุมชน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ เพื่อทำลายยุงลาย กำจัดยุงตัวแก่ ซึ่งเป็นพาหะนำโรคในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกาวะ จำนวน 6 หมู่บ้าน เพื่อให้เด็กและเยาวชน ตลอดจนประชาชน ในตำบลกาวะมีสุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

80.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน 25
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 31/07/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมโครงการป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2567

ชื่อกิจกรรม
อบรมโครงการป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2567
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อบรมบรรยายให้ความรู้ โครงการป้องกันไข้เลือดออกในชุมชน ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 150 คน

- ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 150 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าอาหาร อาหารกลางวัน จำนวน 150 คน x 1 มื้อ x 50 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าวัสดุอบรมโครงการ จำนวน 150 คน x 30 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 19,500 บาท (หนึ่งหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 31 กรกฎาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในประชาชนตำบลกาวะ
  2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือบูรณาการระหว่าง อบต.กาวะ องค์กร ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ที่เกี่ยงข้อง
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในประชาชนตำบลกาวะ
2. ประชาชนทุกกลุ่มอายุตระหนักและเห็นความสำคัญของการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3. สามารถเสริมสร้างความร่วมมือบูรณาการระหว่าง อบต.กาวะ องค์กร ผู้นำชุมชน อสม. และผู้ที่เกี่ยงข้อง


>