กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาปลอดภัยถึง 45 วันหลังคลอด ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาปลอดภัยถึง 45 วันหลังคลอด ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู

ในเขตเทศบาลตำบลบางปู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การฝากครรภ์ เพื่อการดูแลสุขภาพมารดาขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งสำคัญที่จะให้การคลอดเป็นไปด้วยความราบรื่น มารดาและทารกปลอดภัยมีสุขภาพที่ดี จากภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด ครรภ์คุณภาพเป็นเป้าหมายหลักของการให้บริการฝากครรภ์ทุกหน่วยบริการสาธารณสุข เพื่อให้สามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก ช่วยในการค้นหาหญิง ตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงหรือมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพ เกิดความ ปลอดภัยทั้งมารดาและทารกในครรภ์
จากการรายงานผลการดำเนินของกรมอนามัยที่คอยเฝ้าระวังและกำกับติดตามผลการดำเนินงานผ่านระบบเฝ้าระวังการตายมารดา (MDSR System) พบว่าอัตราส่วนการตายมารดามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนอาจเป็นไปได้ว่าเมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2565 ผลการดำเนินงานลดการตายมารดาอาจยังไม่บรรลุตามค่าเป้าหมายของประเทศที่กำหนดให้อัตราส่วนการตายมารดาไม่เกิน 17 ต่อการเกิดมีชีพแสนราย โดยผลการดำเนินงานรอบ 6 เดือนแรก (ต.ค.64-มี.ค.65) ในปีงบประมาณ 2565 อัตราส่วนการตายมารดาไทยเท่ากับ 31.2 ต่อการเกิดมีชีพแสนราย ผลการกำกับติดตามการดำเนินงานเพื่อลดการตายมารดาประจำเดือนเดือนมีนาคม 2565 มีมารดาไทย เสียชีวิตจำนวน 79 คน แบ่งเป็นมารดาจากเขตสุขภาพที่ 1-12 มีมารดาตายจำนวน 77 คน และจาก กทม. จำนวน 2 คน มารดาต่างด้าวเสียชีวิตจำนวน 5 คน และมารดาเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางท้องถนนจำนวน 1 คน นอกจากนี้ยังพบว่ามารดาไทยทั้ง 79 ราย มีสาเหตุการตายมาจากตกเลือด 12 คน ติดเชื้อโควิด 19 เสียชีวิต 18 คน และตายจากสาเหตุอื่นทั้งทางสูติกรรมและโรคอื่นๆอีก 49 คน นอกจากนี้เมื่อลองคำนวนการ ตายมารดาที่มิใช่การตายมารดาจากการติดเชื้อโควิด 19 พบว่าอัตราส่วนการตายมารดาที่ไม่เกี่ยวข้องกับการ ติดเชื้อโควิด 19 เดือน ต.ค.64 - มี.ค.65 เขต 1-13 เท่ากับ 24.1 สาเหตุการตายนี้ยังสัมพันธ์กับช่วงเวลาการเสียชีวิตของมารดากล่าวคือร้อยละ 50 ของการเสียชีวิตเกิดที่ระยะหลังคลอด นอกจากนี้ยังพบว่าการตายจากการตกเลือดหลังคลอดเกิดจากจากมดลูกไม่หดรัดตัว ภาวะรกเกาะติด อันมีสาเหตุมาจากการผ่าตัดคลอดซ้ำจากที่เคยผ่าตัดคลอดในการตั้งครรภ์ก่อน ซึ่งปัจจุบันอัตราการการผ่าท้องคลอดมีแนวโน้มพบได้มากขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับการตายมารดาในส่วนของวิธีการคลอดโดยพบว่าร้อย 43 ของการตายมารดาเกิดจากการผ่าตัดคลอด ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปู ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการ“ส่งเสริมสุขภาพอนามัยมารดาปลอดภัยถึง 45 วันหลังคลอด” เพื่อป้องกันอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด จนถึง 45 วันหลังคลอดอย่างปลอดภัย โดยรับการตรวจครรภ์เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ ฝากครรภ์อย่างน้อย 5 ครั้ง และได้รับการคลอดในสถานบริการ(โรงพยาบาล)

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ

หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีสุขภาพที่ดี

มารดาหลังคลอดได้รับการเยี่ยมติดตาม

0.00
3 เพื่อให้มารดาหลังคลอดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จนถึง 6 เดือนอย่างมีคุณภาพ

มารดาหลังคลอดให้นมแม่ได้นานถึง 6 เดือน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 114
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 22/02/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ปลอดภัย ไม่มีภาวะเสี่ยง แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ปลอดภัย ไม่มีภาวะเสี่ยง แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ “การตั้งครรภ์ปลอดภัย ไม่มีภาวะเสี่ยง แก่กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และคู่สมรส

- ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 57 คนเป็นเงิน5,700 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 57 คนเป็นเงิน5,700 บาท - ค่าจัดป้ายโครงการขนาด 3 เมตรๆละ 250เป็นเงิน750บาท - ค่าวัสดุในการจัดอบรมเป็นเงิน4,950 บาท - ค่าวิทยากร 1 คน จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 500 บาท จำนวน 2 รุ่นเป็นเงิน2,000 บาท รวมกิจกรมมที่ 1 เป็นเงิน 19,100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19100.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมตัวใกล้คลอด กระตุ้นให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและคู่สมรส

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมตัวใกล้คลอด กระตุ้นให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและคู่สมรส
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเตรียมตัวใกล้คลอด กระตุ้นให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและคู่สมรส

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อๆละ 25 บาท จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 57 คน         เป็นเงิน   5,700  บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อๆละ 50 บาท จำนวน 2 รุ่นๆ ละ 57 คน      เป็นเงิน   5,700  บาท                                                  - ค่าวัสดุในการสาธิตอาหารกระตุ้นน้ำนม                           เป็นเงิน   4,500  บาท - ค่าอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยน      เป็นเงิน   4,560  บาท รวมกิจกรมมที่ 2 เป็นเงิน   20,460 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20460.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมที่เยี่ยมติดตามหลังคลอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังคลอด

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมที่เยี่ยมติดตามหลังคลอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังคลอด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ 3 เยี่ยมติดตามหลังคลอด และแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังคลอด - ชุดอุปกรณ์ส่งเสริมเพื่อกระตุ้นน้ำนมหลังคลอด จำนวน 114 ชุดๆ ละ 150 บาทเป็นเงิน 11,400 บาท - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หลังคลอด เมื่อติดตามเยี่ยม ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมกิจกรมมที่ 3 เป็นเงิน 11,400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
22 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11400.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 50,960.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการเพิ่มขึ้น
2. มารดาหลังคลอดได้รับการเยี่ยมติดตาม
3. มารดาหลังคลอดให้นมแม่ได้นานถึง 6 เดือน


>