กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมเด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ปีงบประมาณ 2567

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบุดี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี

ตำบลบุดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับโรคระบาดที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนยังคงเกิดขึ้นเป็นระยะ ซึ่งประเทศไทยมีการส่งเสริมการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคระบาดดังนี้ โรคคอตีบ โรคบาดทะยัก โรคไอกรน โรคไวรัสตับอักเสบบี โรคโปลิโอ โรคติดเชื้อไวรัสโรต้า โรคไข้สมองอักเสบ โรคหัด โรคคางทูม และโรคหัดเยอรมัน จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยาพบว่า ปี 2566 พบผู้ป่วยโรคคอตีบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 3 ราย คิดเป็นอัตรา 0.16 ต่อแสนประชากร เป็นพื้นที่ที่พบการระบาดมากที่สุดของประเทศไทย สืบเนื่องจากอัตราการได้วัคซีนในพื้นที่มีความครอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์ส่งผลให้เกิดโรคระบาดได้ง่าย นอกจากนี้ยังพบโรคอื่น ๆประปราย เช่น ไอกรน หัด เป็นต้น ทั้งนี้โรคต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นโรคระบาดที่ส่งกระทบและภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงต่อร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีอาจจะส่งผลกระทบต่อชีวิตได้
จากการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุดี ในรอบปี 2566 ที่ผ่านมาพบว่าในกลุ่มเด็ก 0-5 ปีมีเด็กทั้งสิ้นจำนวน 335 คน เด็กที่อายุครบ 1 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 51.98 เด็กที่อายุครบ 2 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 49.51 เด็กที่อายุครบ 3 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 50 และเด็กที่อายุครบ 5 ปีบริบูรณ์ได้รับวัคซีนคิดเป็นร้อยละ 75.10 จะเห็นได้ว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนยังต่ำกว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดร้อยละ 90 โดยสาเหตุเกิดจากการหลายปัจจัย ทั้งผู้ปกครองความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีน และความเชื่อทางศาสนา สภาพสังคมเปลี่ยนไปผู้ปกครองฝากเด็กกับผู้สูงอายุ ทำให้ไม่มีใครพามาฉีดวัคซีนเด็กป่วยบ่อยทำให้การได้รับวัคซีนล่าช้าซึ่งโรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน จากข้อมูลข้างต้นเกณฑ์ในการประเมินทั้งหมดกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี จะต้องผ่านเกณฑ์การได้รับวัคซีนร้อยละ 90 ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการหรือหาแนวทางแก้ไขปัญหา พื้นที่ตำบลบุดี มีแนวโน้มของการเกิดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลเสียและผลกระทบทางด้านสุขภาพของคนในตำบลระบบเศรษฐกิจจะเกิดปัญหาขึ้นดังนั้นทางรพ.สต.บ้านบุดี ได้เห็นถึงความสำคัญของสุขภาพเด็กด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพเด็กและการเข้าถึงบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคระบาดในชุมชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองกลุ่มบ่ายเบี่ยงและฉีดล่าช้า

ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กกลุ่มบ่ายเบี่ยงและฉีดล่าช้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

1.00 1.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

ร้อยละ 90 ของเด็ก 0- 5 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์

1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 5 ชั่วโมงๆละ 600 บาท x จำนวน 1 วัน         เป็นเงิน 3,000  บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน x 1 มื้อ x 1 วัน x 70 บาท                 เป็นเงิน  3,500 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 50 คน x 2 มื้อ x 1 วัน x 35 บาท       เป็นเงิน  3,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10000.00

กิจกรรมที่ 2 1.1 กิจกรรมย่อย....

ชื่อกิจกรรม
1.1 กิจกรรมย่อย....
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • รณรงค์ให้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวัคซีน และร่วมหามาตรการป้องกันการเกิดโรคในเด็กร่วมกับเครือข่าย
  • กิจกรรมเสริมแรงมอบเกียรติบัตรแก่เด็กที่ได้รับวัคซีนฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ -  จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการฉีดวัคซีน
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
2. ร้อยละ 90 เด็ก 0 – 5 ปีได้รับวัคซีนตามเกณฑ์


>