กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการลดละเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บือมัง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง

นายอักรอม ดือราแม ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ

ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในตำบลบือมัง ปีงบประมาณ 2567

 

28.81

โรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและเป็นภาระโรคอันดับหนึ่งของประเทศไทย จากรายงานของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีคนไทยเสียชีวิตจาก 5 กลุ่มโรคไม่ติดต่อปี พ.ศ. 2564 มากกว่า 8 หมื่นคนต่อปี พบอัตราตาย 128.1 ต่อแสนประชากร ส่วนใหญ่เป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อถึงร้อยละ 75 ของการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งพบว่าคนไทยเป็นโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงมากถึงประมาณ 14 ล้านคน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจวายเฉียบพลันเป็นสาเหตุการตายลำดับต้น ๆ ในเขตสุขภาพที่ 12 สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การกินหวาน มัน เค็ม กินผักผลไม้น้อย การมีกิจกรรมทางกายน้อย ภาวะเครียด การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ มีภาวะอ้วน ระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดเพิ่มขึ้นระดับความดันโลหิตสูงกว่าปกติ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่จะเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็งปอด และโรคถุงลมโป่งพอง จากรายงานประจำปี 2566 กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค ในปี พ.ศ. 2562 พบว่าการสูบบุหหรี่ เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องถึง 86,364 รายต่อประชากรร้อยละ 15.6 ของจำนวนการเสียชีวิตทั้งหมด โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ร้อยละ 11.2 โดยการสูบบุหรี่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงสุด คือ 22,561 คน (ร้อยละ 26.1 ของการเสียชีวิตจากบุหรี่หรือยาสูบทั้งหมด)

จากข้อมูล HDC จังหวัดยะลา (ประมวลผลวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567) ผลจากรายงานการคัดกรองและการบำบัดผู้ติดบุหรี่ (specialpp) ปีงบประมาณ 2567 พบว่าประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป สูบบุหรี่ร้อยละ 14.26% จากการคัดกรองประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งหมด 176,416 คน ในส่วนของอำเภอรามัน พบว่าประชาชนสูบบุหรี่ร้อยละ 18.66% จากการคัดกรองประชาชน 38,164 คน และตำบลบือมัง พบว่าประชาชนสูบบุหรี่ร้อยละ 28.81% จากการคัดกรองประชาชน 2,638 คน จากข้อมูลการคัดกรองการสูบบุหรี่ของประชาชนข้างต้นจะเห็นได้ว่าร้อยละการสูบบุหรี่ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปของตำบลบือมังสูงกว่าร้อยละการสูบบุหรี่ของจังหวัดยะลา และอำเภอรามัน

ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของผลกระทบจากการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จึงจัดทำโครงการลดละเลิกบุหรี่ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังขึ้น เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนำไปสู่การเลิกสูบบุหรี่ในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบ
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมรับฟังการเสวนาเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบร้อยละ 80
  2. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมรับฟังการเสวนาเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
80.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบุหรี่สามารถลด หรือเลิกบุหรี่ได้

ประชาชนกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบุหรี่ สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ หรือหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ 10

10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 80
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงานทีม อสม. ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมวางแผนและแต่งตั้งคณะทำงานทีม อสม. ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 40 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบือมัง จำนวน 40 คน
- ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะทำงานติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ 1 ทีม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1200.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมเสวนาเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเสวนาเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมเสวนาเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบ ในคณะทำงานทีม อสม. ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 40 คน และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบุหรี่ จำนวน 80 คน
- ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน * มื้อละ 70 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 8,400 บาท
- ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 120 คน * มื้อละ 30 บาท * 2 มื้อ เป็นเงิน 7,200 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรคนที่1 600 บาท * 3 ชั่วโมง * 2 รุ่น เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรคนที่2 600 บาท * 6 ชั่วโมง * 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 120 คน ผ่านการอบรมเรื่องพิษภัยของบุหรี่และยาสูบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26400.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 80 คน และคณะทำงานทีม อสม. ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 40 คน - ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 120 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบผลของพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบของกลุ่มเป้าหมาย ครั้งที่ 1 (หลังจากกิจกรรมให้การอบรม 1 เดือนครึ่ง)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2 และกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 2 และกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโดยการติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่และยาสูบครั้งที่ 2 (ติดตามผลในเดือนที่ 3) ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 80 คน และคณะทำงานทีม อสม. ติดตามพฤติกรรมการสูบบุหรี่ จำนวน 40 คน - ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 120 คน * มื้อละ 30 บาท * 1 มื้อ เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ติดบุหรี่ สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ หรือหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 3 เดือน ร้อยละ 10

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 34,800.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่
2. กลุ่มเป้าหมายสามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ หรือเลิกสูบสูบบุหรี่ได้
3. เกิดบุคคลต้นแบบในการเลิกบุหรี่แก่ประชาชนได้


>