กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

มหัศจรรย์ 1,000 วันพลัส สู่ 2,500 วัน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ

1 นางลัดดาวัลย์ อบทอง
2 นางสาววีนา ปังแลมาปูเลา
3 นางสุดารัตน์ สองเมือง

ตำบลแป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การดำเนินงาน มหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต ไปสู่ “ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus (พลัส) สู่ 2,500 วัน” เป็นตำบลที่มีการดำเนินงานดูแล ส่งเสริมสุขภาพ และคุ้มครองสตรีและเด็กปฐมวัย ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และเด็กแรกเกิด – 5 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยไทยเติบโตเต็มศักยภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี ผ่านกลไกความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนและท้องถิ่น ระดับตำบล สอดคล้องนโยบายรัฐบาลขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2564 – 2570 คือ เด็กปฐมวัยทุกคน ต้องได้รับการพัฒนาอย่างรอบด้าน เต็มตามศักยภาพ ภายใต้การมีส่วนร่วมระดมทรัพยากรที่เพียงพอ

ทั้งนี้ในช่วง 1,000 วันมหัศจรรย์เป็นช่วงสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นของชีวิต ในการปูพื้นฐานของชีวิตคนไทยสู่อนาคตที่ดี ให้เด็กไทยฉลาด พัฒนาการสมวัย สูงสมส่วน แบ่งเป็น 3 ช่วงที่ 1. 270 วันแรกระหว่างการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการสร้างเซลล์สมองควบคู่กับการสร้างเส้นใยประสาทเร็วที่สุด เด็กควรได้รับสารอาหารที่เพียงพอและหลากหลาย ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก ช่วงที่ 2. 180 วัน แรกเกิด-6 เดือน เป็นช่วงที่ร่างกายและสมองของเด็กเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว การได้รับนมแม่ตั้งแต่ชั่วโมงแรกของชีวิต การโอบกอดและเล่นกับลูกส่งผลให้ลูกเจริญเติบโตดี มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและอารมณ์ดี ช่วงที่ 3. 550 วัน อายุ 6 เดือน - 2 ปี เน้นการเป็นเด็กฉลาด มีพัฒนาการสมวัย สูงดีสมส่วน ด้วยการให้อาหารที่เหมาะสมตามวัย ควบคู่การดื่มนมแม่ให้นานที่สุด ส่งเสริมครอบครัวอบอุ่นเข้มแข็ง ด้วยกิจกรรม กิน กอด เล่น เล่า นอน เฝ้าดูฟัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเจริญเติบโต จะทำให้ทารกพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพสูงในที่สุด มีการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพงานบริการสาธารณสุขมีการพัฒนาคลินิกฝากครรภ์ (ANC) คุณภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ดูแลการคลอด ปลอดภัยทั้งแม่และทารก พัฒนาคลินิกเด็กสุขภาพเด็กดี (WCC) คุณภาพ ได้รับการเลี้ยงดูตามวัย เป้าหมาย หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดไม่น้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 เด็กอายุ 0-5 ปีภาวะโภชนาการ สูงดี สมส่วน ตามวัย ร้อยละ 66 เด็กมีภาวะเตี้ย ไม่เกินร้อยละ 10 เด็กมีภาวะผอมไม่เกินร้อยละ 5 เด็กมีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วนไม่เกินร้อยละ 9 และมีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85 เด็กอายุ 3 ปี ปราศจากฟันผุ (ไม่น้อยกว่kร้อยละ 75) เด็กมีพัฒนาการสมวัย ไอคิว อีคิวดี ทำให้เด็กเติบโดเป็นคนที่มีคุณภาพเก่งดีมีสุข

จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก รพ.สต.แป-ระ ปีงบประมาณ 2566 พบหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางครั้งแรก ร้อยละ 12.24 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม 2 ร้อยละ 10.45 เด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วน ร้อยละ 75.75 เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 98.85 และเด็กอายุ3 ปี ปราศจากฟันผุ ร้อยละ72.88โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ จึงได้จัดทำโครงการมหัศจรรย์ 1,000 วัน พลัส สู่ 2,500 วัน ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลตามมาตรฐาน

1 หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80
2 หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางไม่เกินร้อยละ 14
3 ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม  ไม่เกินร้อยละ 7
4 มารดาและทารกหลังคลอดได้รับการดูแลหลังคลอด 3 ครั้ง ตามเกณฑ์  ร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้เด็กแรกเกิด-5 ปี มีภาวะโภชนาการและพัฒนาการสมวัย

1 เด็กแรกเกิด-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 85
2 เด็กแรกเกิด – 5 ปี สูงดีสมส่วน ตามวัย ร้อยละ 66

0.00
3 เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

แกนนำฯได้รับการพัฒนาศักยภาพร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแลเด็กอายุ 0-5 ปี 40
แกนนำสุขภาพแม่และเด็ก 40

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพแม่และเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพแม่และเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่แกนนำสุขภาพแม่และเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพได้รับความรู้และได้รับการพัฒนาศักยภาพร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10650.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็ก

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็ก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ดูแลเด็กได้รับความรู้ความเข้าใจในดูแลเด็กในความรับผิดชอบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. สตรีและเด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมายได้รับการส่งเสริมสุขภาพตามมาตรฐาน
2. ครอบครัว ชุมชน ภาคีเครือข่าย มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ส่งเสริมการดูแลสตรีและเด็ก 0-5 ปี


>