กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

คัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ

1 นางลัดดาวัลย์ อบทอง
2 นางสาววีนา ปังแลมาปูเลา
3 นางสุดารัตน์ สองเมือง

ตำบลแป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านม ปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปี จะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ 10,000 ราย และเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก 5,000 ราย อัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก 7 คน/วัน เป็น 14 คน/วัน สถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมาย แต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรก ร้อยละ 30-40 สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที สำหรับการตรวจมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มสตรีที่มีอายุ ๓๐–๖๐ ปี กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้ทุกสถานบริการดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสต์ (HPV DNA Test) ซึ่งเป็นวิธีที่ทันสมัย และแม่นยำ โดยกำหนดดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแบบสะสม 5 ปี ตั้งแต่ปี 2566–2570 โดยต้องดำเนินการคัดกรองให้ได้ ร้อยละ 80 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระได้ดำเนินการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีเอชพีวี ดีเอ็นเอ เทสต์ (HPV DNA Test) ครั้งแรก ในปี พ.ศ 2566 ผลการดำเนินงานการตรวจคัดกรอง คิดเป็นร้อยละ 23 ในจำนวนนี้พบความผิดปกติ คิดเป็นร้อยละ 8.63 ซึ่งได้รับการส่งต่อและดำเนินการรักษาติดตามตามลำดับขั้นตอนต่อไป
เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแป-ระ จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ เพื่อสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย (สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี) ได้รับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและตระหนักในการตรวจมะเร็งปากมดลูกทุก ๕ ปี

สตรีกลุ่มเป้าหมาย (สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี) ได้รับบริการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในปี ๒๕๖๖ ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐

0.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมาย (สตรีอายุ ๓๐-๖๐ ปี) ที่ได้รับการคัดกรองมีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ

สตรีกลุ่มเป้าหมาย (สตรีอายุ 30-60 ปี) ที่ได้รับการคัดกรองมีผลผิดปกติได้รับการส่งต่อ    ร้อยละ 100

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
กลุ่มสตรีอายุ 30 - 60 ปี 200

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดทำแผ่นพับให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1,110 แผ่นๆ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แผ่นพับให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก จำนวน 1,110 แผ่นๆ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5550.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เสนอโครงการเพื่อของบประมาณต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล แป-ระ
  2. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขรวมถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่ององค์ความรู้ วัตถุประสงค์โครงการและแนวทางการคัดกรอง
  3. ประชาสัมพันธ์โครงการและแจกแผ่นพับความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย
  4. จัดทำโครงการโดยดำเนินการตรวจมะเร็งปากมดลูกแก่กลุ่มเป้าหมาย
  5. ส่งแผ่นสไลด์มะเร็งปากมดลูก ไปตรวจและอ่านผล ณ ศูนย์ตรวจLab N –Health รพ.กรุงเทพหาดใหญ่
  6. รับผลตรวจมะเร็งปากมดลูกจากศูนย์ตรวจLab N –Health รพ.กรุงเทพหาดใหญ่
  7. บันทึกผลการคัดกรองผ่านโปรแกรม JHCIS เว็บไซต์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโปรแกรม E-claim
  8. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติและติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ
  9. สรุปและประเมินผลโครงการรายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองมะเร็งปาดมดลูก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 10,550.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.กรณีพบผู้ป่วยรายใหม่ของมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้นที่สามารถรักษาให้หายขาด ได้
๒.ครอบครัว ชุมชน และสังคม มีความตระหนักในเรื่องมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น


>