กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สายใยรักครอบครัวแก้ปัญหายาเสพติด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

1. นายสมนึก อาดตันตรา
2. นางอัจฉรา ยาประจันทร์
3. นางสาวเสาวบักษณ์ ลิ่มศรีพุทธิ์

พื้นที่จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ด้วยปัจจุบันสังคมไทยกำลังประสบปัญหาวิกฤติ จากสถานการณ์ปัญหายาเสพติดแพร่ระบาดและกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างน่าวิตก การหวนกลับมาระบาดอย่างหนักของยาเสพติด ปัจจุบันการป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งการแพร่ระบาดของยาเสพติด เป็นผลให้ เด็ก เยาวชน ประชาชน เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ยาเสพติด ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจ และ เกิดจากการหลงผิด โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทำให้ เด็ก เยาวชน มีโอกาสหลงผิดเข้าสู่วงจรของการซื้อขายและเสพยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นสังคมรอบข้างล้วนแปรเปลี่ยนไป สภาพเศรษฐกิจและสังคมที่ต้องแข่งขันกันทำให้ พ่อ แม่ ไม่มีเวลาอบรมและใกล้ชิดบุตรหลาน จนบางครั้งเกิดความรู้สึกสับสน ด้วยวัยที่ต้องการเรียนรู้ และอ่อนประสบการณ์ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ เกิดจากการชักจูง ทำให้หาทางออกด้วยวิธีการที่ผิดในบางครั้ง อีกทั้งยังเป็นปัญหาที่สร้างความรู้สึกสะเทือนใจและเจ็บปวดให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และปัญหายาเสพติดได้นำมาซึ่งความรุนแรงในครอบครัวและอาชญากรรมต่างๆในสังคม โดยเฉพาะการลักขโมยทรัพย์สินคนในชุมชน การฉกชิงวิ่งราวและการก่อปัญหาอาชญากรรมอื่นๆตามมาอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพจิต จากการใช้หรือขาดยา
ดังนั้น เยาวชน ประชาชน จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้ กับ เยาวชน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดและ ในขณะเดียวกันตำบลแป-ระ อำเภอท่าแพ จังหวัด สตูล เยาวชน ประชาชน มีการใช้สารเสพติด ประเภท ยาบ้า หรือประเภทอื่นๆซึ่งปัจจุบัน เยาวชน กลุ่มนี้เกิดปัญหาสังคม ครอบครัว และส่งผลต่อการเรียน ทั้งยังทำให้เยาวชนเสื่อมเสียประวัติครอบครัว และยังเป็นปัญหาสังคมในอนาคตหากไม่ได้รับการแก้ไข การมีส่วนร่วมจากครอบครัวและชุมชนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการร่วมมือสร้างความรัก ความผูกพันความสามัคคีและสร้างสายใยครอบครัวให้เข้มแข็ง ปกป้องเด็ก เยาวชนให้ห่างไกลจากปัญหายาเสพติด
จากปัญหาดังกล่าว กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นถึง ความสำคัญของปัญหายาเสพติด จึงได้จัดทำโครงการสายใยรักครอบครัวแก้ปัญหายาเสพติด ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความตระหนักในกลุ่มเสี่ยงให้รู้ถึงโทษของยาเสพติด และการป้องกันตนเองให้พ้นจากภัยยาเสพติด

ร้อยละ 100 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความตระหนัก รู้ถึงโทษของยาเสพติดและวิธีการป้องกันตนเองให้พ้นจากภัยยาเสพติด

0.00
2 เพื่อเพิ่มสัมพันธภาพ และความผูกพัน ของ เด็ก เยาวชน กับครอบครัว

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรักความผูกพันจากครอบครัว

0.00
3 เพื่อให้ผู้เสี่ยงหรือผู้เสพได้ใช้พลังรักของบุพการีในการลด ละเลิก ยาเสพติด หรือลด พฤติกรรมเสี่ยง

ร้อยละ 100 ผู้เสี่ยงหรือผู้เสพได้รับพลังรักจากบุคคลในครอบครัว และมีจิตสำนึกในการปฏิเสธการใช้ยา

0.00
4 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

ร้อยละ 80 ชุมชนมีความร่วมมือ และเข้มแข็งมากขึ้น ในการร่วมกันต่อต้ายยาเสพติด

0.00
5 เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาส ของยาเสพติด

ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมอบรม มีทักษะ ทางความคิดไม่ตกเป็นทาสยาเสพติด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 35
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครองเด็ก 35

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมสายใยรักครอบครัว

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสายใยรักครอบครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประสานงานการดำเนินโครงการร่วมกันกับส่วนราชการอื่นๆ เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ ผู้นำชุมชนในพื้นที่ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  3. สำรวจค้นหาคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย (กลุ่มเยาวชน และผู้ปกครอง ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง) เข้าร่วมโครงการ
  4. ประสานจัดหาสถานที่จัดอบรม และจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน
  5. ประชุมปรึกษาหารือ และวางแผนการดำเนินงาน
  6. กำหนดวัน เวลาการจัดกิจกรรม และแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
  7. จัดกิจกรรมสายใยรักครอบครัว โดยเน้นสร้างความรักความอบอุ่นจากบุคคลในครอบครัวอบรมนอกสถานที่ 2 วัน 1 คืน
  8. สรุป ประเมินผลโครงการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความตระหนัก รู้ถึงโทษของยาเสพติดและวิธีการป้องกันตนเองให้พ้นจากภัยยาเสพติดได้รับความรักความผูกพันจากครอบครัว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
114832.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 114,832.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชน กลุ่มเสียงที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้ เกี่ยวกับโทษของยาเสพติดและสามารถ ป้องกันตนเอง ครอบครัวให้ห่างไกลจากยาเสพติด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ผู้เสี่ยงหรือผู้เสพได้รับพลังรักจากบุคคลในครอบครัว และมีจิตสำนึกในการปฏิเสธการใช้ยา ร้อยละ 100
3. สร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับชุมชน ในการร่วมกันต่อต้านยาเสพติด
4.เยาวชน สามารถมีทักษะทางความคิดสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านร่างกายจิตใจ ไม่ตกเป็นทาสของยาเสพติด ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
5. เยาวชน กลุ่มเสี่ยง มีความตระหนักถึงพิษภัยของยาเสพติด ที่มีต่อตนเอง และผู้อื่น
6. มีความรู้และทักษะในการปฏิเสธการใช้ยาเสพติด
7. ปัญหายาเสพติดของประชาชนในพื้นที่มีแนวโน้มลดลง
8. เกิดภาคีเครือข่ายความร่วมมือในการต่อต้านยาเสพติด ระหว่างภาครัฐ และชุมชน


>