กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

หน่วยคัดกรองสุขภาพจิตเคลื่อนที่

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลแป-ระ

1 นายบาสิทธิ์ รอเกตุ
2 นายประวิทย์ เก็มเต็ง
3 นายสมพงษ์ ลิ่มศรีพุทธิ์

ตำบลแป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสุขภาพจิต

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันประเทศไทยได้ประสบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้นมา และภาครัฐได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆเพื่อการควบคุมโรคและดูแลรักษาที่มีประสิทธิภาพทำให้สถานการณ์การระบาดดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ในระดับการควบคุมได้ด้วยการเฝ้าระวังแต่อย่างไรก็ตามการระบาดของโรคที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานส่งผลให้ประชาชนเกิดความเครียด ความวิตกกังวล เนื่องจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจและค่านิยมต่างๆทำให้คนในชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาในการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสังคมในปัจจุบันทั้งในด้านความคิด ความเข้าใจและค่านิยมต่างๆประกอบกับที่ต้องเผชิญกับรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบใหม่ต้องออกจากงาน มีรายได้ลดลง ภาวะสุขภาพเสื่อมลง มีโรคทางกายเพิ่มมากขึ้นสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจคนในชุมชนทั้งสิ้นโดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงาน หรือวัยแรงงานที่มีอายุครอบคลุมอยู่ในช่วง 18-59 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญในเชิงเศรษฐกิจและมีภาวะในการเกื้อกูลเด็กและผู้สูงอายุ ซึ่งประชากรในกลุ่มวัยทำงานมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในสถานที่ทำงาน อาจทำให้เกิดความเครียดและความกดดันในการดำเนินชีวิตที่สูงมากขึ้น จำเป็นที่ทุกคนควรรู้จักวิธีการรับมือกับความเครียดเพราะถ้าไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสมแล้วอาจมีโอกาสทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ ซึ่งมักมีผลกะทบต่อตนเองและคนรอบข้างได้ จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่า จำนวนผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในปี 2563 มีอยู่ 355,537 คน แต่ในปี 2564 เพิ่มเป็น 358,267 คน และอัตราการฆ่าตัวตายในปี 2564 อยู่ที่ 7.38 รายต่อประชากรแสนคน เพิ่มขึ้นจากในช่วงปี 2547 - 2563 ที่ทรงตัวอยู่ในระดับ 5 - 6 รายต่อประชากรแสนคน
จากข้อมูลประชากรในพื้นที่ตำบลแป-ระ มีประชากรทั้งหมด6827คน และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ด้วยการประกอบอาชีพดังกล่าวอาจมีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเครียดความกดดันที่เกิดจากการประกอบอาชีพ ที่สืบเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจในปัจจุบันได้ ดังนั้นชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตำบลแป-ระ จึงได้จัดโครงการหน่วยคัดกรองสุขภาพจิตเคลื่อนที่ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อคัดกรองและส่งเสริมสุขภาพจิตกลุ่มวัยทำงานในพื้นที่ตำบลแป-ระ

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น

กำหนดเสร็จ

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 หน่วยคัดกรองสุขภาพจิตเครื่อนที่

ชื่อกิจกรรม
หน่วยคัดกรองสุขภาพจิตเครื่อนที่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1  เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
2  ประสานกับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานโครงการ
3  ประชุมชี้แจงคณะทำงาน แกนนำ เพื่อทำแบบคัดกรองเรื่องการดูแลสุขภาพจิต
4  จัดทำแบบคัดกรองสุขภาพจิต  เพื่อคัดกรองประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
5   ลงพื้นที่ประเมินสุขภาพจิตแก่กลุ่มเป้าหมาย (วัยทำงาน  อายุ  18-59  ปี)
6   สรุปแบบคัดกรองการประเมิลสุขภาพจิตกลุ่มเป้าหมาย
7   สรุปผลการดำเนินงาน และ รายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ
8   ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือ  โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือหน่วยงานสุขภาพจิตจังหวัดสตู

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตำบลแป-ระ มีจุดคัดกรองสุขภาพจิตทุกหมู่บ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 7,500.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ประชาชนในชุมชนตำบลแป-ระ ได้รับการคัดกรองสุขภาพจิตอย่างถูกต้องและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเองและครอบครัว
2ประชาชนสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของตนเอง และครอบครัวให้มีสุขภาพจิตที่ดี


>