กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

อบรมการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

1. นายสมนึก อาดตันตรา
2. นางอัจฉรา ยาประจันทร์
3. นางสาวเสาวบักษณ์ ลิ่มศรีพุทธิ์

ตำบลแป-ระ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทยโดยส่วนใหญ่เกิดจาก โรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจและหลอดเลือด โรคหัวใจ ความดันโลหิต อุบัติเหตุ และการจมน้ำ ผู้ป่วยหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บเหล่านี้อาจมีอาการที่ผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย บางรายมีอาการหมดสติหรือบางรายอาจมีการหยุดหายใจกะทันหันถ้าปล่อยไว้นานเกิน 4 นาที แม้จะช่วยให้ฟื้นคืนชีพกลับมาได้ ก็จะเกิดสภาวะการตายของสมองอย่างถาวร การได้รับการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีและถูกต้อง และมีการส่งผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บไปยังแพทย์หรือสถานพยาบาลอย่างเหมาะสมรวดเร็วและถูกวิธีจะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้บาดเจ็บมีโอกาสรอดชีวิตและกลับคืนมาใช้ชีวิตเป็นปกติได้ ดังนั้นการเรียนรู้ทักษะปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติรวมถึงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) อย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ในภาวะฉุกเฉิน อย่างไรก็ตาม กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้จัดกิจกรรมในรูปแบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เท่าที่ควร เนื่องจากปัญหาอุปสรรคหลายอย่าง ไม่สะดวกในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรม เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องในวันที่จัดกิจกรรม และประชาชนบางส่วนไม่ให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรม
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญของการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติขั้นพื้นฐานอย่างถูกต้องและทันท่วงที ก่อนนำส่งโรงพยาบาลหรือก่อนที่ทีมการแพทย์ฉุกเฉินไปถึงที่เกิดเหตุ จึงจัดทำโครงการอบรมการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติ ขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติได้อย่างถูกต้องเหละเหมาะสม

ประชาชนในตำบลแป-ระ มีความรู้การช่วยผู้ป่วยหมดสติได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของประชากร

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการปฐมพยาบาลผู้ป่วยรวมถึงการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR.) ในภาวะฉุกเฉินก่อนนำส่งสถานพยาบาลได้ อย่างถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน 320
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1 ประชุมวางแผนงาน
2 เขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ
3 ดำเนินงานตามโครงการ
3.1 อบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ การช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติรวมถึงการปฐมพยาบาลเบื้อต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) แก่ประชาชนในตำบลแป-ระ เชิงรุก แบบ Door-to-Door เคาะประตูบ้านทุกหมู่บ้าน โดยประสาน อสม.หรือแกนนำในหมู่บ้าน จัดกลุ่มเป้าหมาย 3 – 5 หลังคาเรือน ต่อ 1 กลุ่ม วิทยากรให้ความรู้ 2-3 คนต่อ 1 กลุ่ม เวลาในการลงพื้นที่ หมู่บ้านละ 3 วัน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ ผู้เข้าร่วมโครงการโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 450 หลังคาเรือน อย่างน้อยหลังคาเรือนละ 1 คน
4 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการพร้อมแบบรายงาน ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในตำบลแป-ระ ได้รับการฝึกทักษะการช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21360.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,360.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1) กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้การช่วยเหลือผู้ป่วยหมดสติได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95
2) กลุ่มเป้าหมาย สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80
3) ประชาชนในตำบลแป-ระ มีความรู้การช่วยชีวิตขึ้นพื้นฐาน (CPR) อย่างน้อยครัวเรือนละ 1 คน


>